เพลงพื้นบ้านโดยทั่วไปนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด พอจะแยกประเภทได้ดังนี้ คือแบ่งตามผู้เล่นได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
  1.เพลงเด็ก การเล่น เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งในกลุ่มชน จะแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม และเมื่อ มีการเล่นเกิดขึ้นก็มักมีบทเพลงประกอบการเล่นด้วย เพลงที่ร้องก็ง่าย ๆ สั้น ๆ สนุกสนาน เช่น รี รี ข้าว สาร, มอญซ่อนผ้า, จ้ำจี้มะเขือเปราะ , แมงมุมขยุ้มหลังคา เพลงเด็ก จำแนกย่อย ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
  1. เพลงร้องเล่น เช่น โยกเยกเอย, ฝนตกแดดออก นกกระจอกเข้ารัง
  2. เพลงหยอกล้อ เช่น ผมจุก, ผมม้า, ผมเปีย, ผมแกละ
  3. เพลงขู่ ปลอบ เช่น แม่ใครมา น้ำตาใครไหล, จันทร์เจ้าขา, แต่ช้าแต่ เขาแห่ยายมา
  4. เพลงประกอบการเล่น เช่น จ้ำจี้มะเขือเปราะ, รี รี ข้าวสาร, มอญซ่อนผ้า

 2. เพลงผู้ใหญ่ เพลงผู้ใหญ่มีหลายประเภทดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น นอกจากจะให้ความสนุกสนาน บันเทิงใจแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสามัคคีร่วมใจกันทำสิ่งต่าง ๆ ของสังคมไทย สภาพวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ ไว้อย่างน่าศึกษาอีกด้วย ด้านเพลงกล่อมเด็กจะเห็นความรักความผูกพันธ์ใน ครอบครัว ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ตำนาน นิทาน ประวัติศาสตร์ ตลอดจนจินตนาการความรู้สึกนึกคิดของ มนุษย์ เนื่องจากความหลากหลายในเพลงกล่อมเด็ก จึงเป็นเพลงที่มีคุณค่าแก่การรักษาไว้เป็นอย่างยิ่ง เพลงผู้ใหญ่ แบ่งเป็น 6 ประเภท คือ

  1. เพลงกล่อมเด็ก เช่น กาเหว่าเอย, พ่อเนื้อเย็น
  2. เพลงปฏิพากย์ เช่น เพลงฉ่อย, เพลงรำวงซึ่งเพลงปฏิพากย์นี้ต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น
    เพลงลูกทุ่งนั่นเอง
  3. เพลงประกอบการเล่น เช่น รำโทน (ต่อมาคือรำวง), ลูกช่วง, เข้าผี, มอญซ่อนผ้า
  4. เพลงประกอบพิธี เช่น ทำขวัญนาค, แห่นาค, ทำขวัญจุก, แห่นางแมว
  5. เพลงเกี่ยวกับอาชีพ เต้นกำรำเคียว
  6. เพลงแข่งขัน ส่วนใหญ่คือปฏิพากย์

  เรามีหนทางที่จะแบ่งประเภทเพลงพื้นเมืองออกได้เป็นพวกๆ เพื่อความสะดวกในการพิจารณาได้หลาย วิธี เช่น
  การแบ่งตามความสั้น–ยาวของเพลง
เช่น เพลงสั้นได้แก่ เพลงระบำ เพลงพิษฐาน เพลงสงฟาน เพลงสำหรับเด็ก เพลงชักกระดาน เพลงเข้าทรง เพลงแห่นางแมว เพลงฮินเลเล เป็นต้น  ส่วนอย่างเนื้อ ยาวได้แก่ เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงอีแซว  เป็นต้น
  การแบ่งตามรูปแบบของกลอน คือจัดเพลงที่มีฉันทลักษณ์เหมือนกันอยู่ในพวกเดียวกัน  เราจะจัดให้ ้เป็นสามพวก  คือ พวกกลอนสัมผัสท้าย  คือ เพลงที่ลงสระข้างท้ายสัมผัสกันไปเรื่อยๆ ได้แก่ เพลงฉ่อย เพลงลำตัด เพลงระบำชาวไร่ เพลงระบำบ้านนา เพลงหน้าใย เพลงอีแซว เพลงสงคอลำพวน เพลงเทพ ทอง ลงกลอนสัมผัสท้ายเหมือนกัน  แต่เวลาลงเพลงเมื่อใด  ต้องมีการสัมผัสระหว่างสามวรรคท้ายเกี่ยว โยงกัน  เช่น  เพลงเรือ  เพลงเต้นกำ เพลงขอทาน เพลงแอ่วเคล้าซอ
  พวกที่ไม่ค่อยเหมือนใครแต่อาจคล้ายกันบ้าง เช่น  เพลงสำหรับเด็ก เพลงระบำ เพลงพิษฐาน เพลงสงฟาง  เพลงชักกระดาน เพลงเต้นกำรำเคียว เพลงพาดควาย เพลงปรบไก่ เพลงเหย่ย 
  ารแบ่งเป็นเพลงโต้ตอบและเพลงธรรมดา เพลงร้องโต้ตอบ  ได้แก่  เพลงฉ่อย  เพลงอีแซว…ฯลฯ
ส่วนเพลงอีกพวก คือ เพลงที่เหลือ ซึ่งเป็นเพลงที่ร้องคนเดียว หรือร้องพร้อมกัน หรือไม่จำเป็นต้อง โต้ ตอบกันเช่น เพลงสำหรับเด็ก เพลงขอทาน เพลงชักกระดาน เพลงสงฟาง (มักจะเป็นเพลงสั้นๆ)เป็นต้น  การแบ่งโดยใช้เวลามาเดินความในการอธิบาย เราได้เลือกการแบ่งวิธีนี้  เพราะเห็นว่าสามารถสร้าง ความเข้าใจสอดคล้องกันได้ดี  เพลงแต่ละเพลงมีความเกี่ยวเนื่องกันตามลำดับ  เพลงที่เล่นตามเทศกาล และฤดูกาล  หน้าน้ำหรือหน้ากฐิน  ผ้าป่า เล่นเพลงเรือ เพลงหน้าใย ถัดจากหน้ากฐินเป็นหน้าเกี่ยว เล่น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงคอลำพวน เพลงสงฟาง เพลงชักกระดาน เพลงเต้นกำรำเคียว ถัดจากหน้าเกี่ยว เป็นช่วงตรุษสงกรานต์ เล่นเพลงพิษฐาน เพลงระบำ เพลง ระบำบ้านไร่ เพลงพวงมาลัย  เพลงเหย่ย เพลง
ที่เล่นได้ทั่วไปโดยไม่จำกัดช่วงเวลา ได้แก่เพลงสำหรับเด็ก เพลงอีแซว เพลงระบำบ้านนา เพลงพาด ควาย เพลงปรบไก่ เพลงเทพทอง ลำตัด เพลงแอ่วเคล้าซอ เพลงขอทาน เพลงฉ่อย


                     

 
Copyright © 2009 by Team FTD, Darunanukul Huathanon School