-
เพลงพื้นบ้านในเทศกาลตรุษสงกรานต์
หลังจากผ่านการทำงานในทุ่งนาอย่างหนัก มา
เป็นเวลาค่อนปี เมื่อถึงช่วงฤดูร้อน ซึ่งเป็นเวลา
หลังเก็บเกี่ยว ก็จะถึงเทศกาลรื่นเริงประจำปีคือ
เทศกาลตรุษสงกรานต์ซึ่งเป็นเทศกาลเล่นสนุกที่
เกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมเพื่อความอุดมสมบูรณ์
สงกรานต์เป็นเทศกาลสำคัญ ของเพลงพื้นบ้าน
เพราะเพลงพื้นบ้านไทยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเพลง
พื้นบ้านภาคกลางร้องเล่นอยู่ในเทศกาลนี้ เพลงร้อง
เล่นในวันสงกรานต์แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทคือ
เพลงปฏิพากย์และเพลง
ประกอบการละเล่นของ
ผู้ใหญ่
-
เพลงปฏิพากย์ มีทั้งเพลงโต้ตอบอย่างสั้นร้องเล่นตอนบ่าย เช่น เพลงพิษฐาน และเพลงระบำ
บ้านไร่ และเพลงโต้ตอบอย่างยาว เช่น เพลงพวงมาลัย และเพลงฉ่อย เป็นต้น เนื้อหาของเพลง
จะปรากฏเรื่องเพศมากมาย ซึ่งแสดงร่องรอยว่าในระยะต้นเพลงเหล่านี้น่าจะเกี่ยวเนื่องกับพิธี
กรรมความเชื่อ โดยเฉพาะความเชื่อเรื่องเพศกับความอุดมสมบูรณ์ ว่ามีความสัมพันธ์กัน
-
เพลงประกอบการละเล่นของผู้ใหญ่ แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็นเพลงประกอบการ
ละเล่นของหนุ่มสาวที่เล่นกันในตอนบ่าย เช่น เพลงระบำ อีกกลุ่มหนึ่งเป็นเพลงประกอบการละ
เล่นเข้าทรงผีต่าง ๆ นิยมเล่นกันในตอนกลางคืนได้แก่ เข้าทรงแม่ศรี ลิงลม นางควาย ผีกระด้ง
นางสาก เป็นต้น การละเล่นกลุ่มหลังนี้ เป็นการละเล่นกึ่งพิธีกรรมซึ่งสะท้อนความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยว
กับการนับถือผีสาง เทวดา เชื่อว่ามีผีสถิตอยู่และรู้ความเป็นไปของธรรมชาติจึงเชิญผีมาสอบ
ถามปัญหาเกี่ยวกับการทำมาหากิน เชิญผีพยากรณ์ดินฟ้าอากาศ
เมื่อพิจารณาเพลงพื้นบ้านของไทยที่ร้องเล่นเพื่อความสนุกนานในเทศกาลแล้วอาจสรุปได้ว่า
ในระยะแรกเพลงพื้นบ้านนั้น ๆ คงเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมเพื่อความเจริญงอกงาม ต่อมาเมื่อ
ความเชื่อของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป ความเข้าใจต่อความหมายดั้งเดิมก็แปรเปลี่ยนเป็น
เพลงที่ร้องเล่นสนุกตามประเพณีแต่เพียงอย่างเดียว
เพลงพื้นบ้านที่เป็นการละเล่น
จากบทบาทดั้งเดิมซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม เพลงพื้นบ้านที่ร้องในเทศกาลได้คลี่คลาย เหลือ
เพียงบทบาทในด้านการบันเทิง เป็นการละเล่นที่สังคมจัดขึ้นเพื่อรวมกลุ่มสมาชิกในสังคม และเพื่อย้ำ
ความสัมพันธ์์ของกลุ่ม จึงมีลักษณะการร้องเล่นเป็นกลุ่มหรือเป็นวง เพลงในลานนวดข้าว เพลงที่ร้องเล่น
ในเทศกาลสงกรานต์ เทศกาลออกพรรษา เพลงเจรียงที่ร้องในงานบุญของชาวสุรินทร์ ล้วนเป็นเพลงที่
เกิดจากการรวมกลุ่มชายหญิง เพื่อประโยชน์ในการทำงาน และแสวงหาความสนุกเพลิดเพลินร่วมกัน
เพลงพื้นบ้านที่เป็นการละเล่น เช่น เพลงปฏิพากย์เป็นเพลงของกลุ่มชาวบ้านทุกคนมีส่วนร่วมในการร้อง
เล่น ผลัดกันทำหน้าที่เป็นผู้ร้อง และลูกคู่ ส่วนใหญ่เป็นเพลงสั้น ๆ ที่ร้องง่ายไม่จำเป็นจะต้องใช้ศิลปินผู้
มีความสามารถโดยเฉพาะ เพลงพื้นบ้านที่เป็นการละเล่นจึงเป็นเพลงของชาวบ้านอย่างแท้จริง
เพลงพื้นบ้านที่เป็นการแสดง
หมายถึง เพลงพื้นบ้านที่มี ลักษณะการร้อง การ
เล่นเป็นการแสดงมี การสมมุติบทบาท ผูกเรื่อง
เป็นชุดทำให้การร้องยืดยาวขึ้น ดังนั้นผู้ร้องจำ
เป็นจะต้อง เป็นบุคคลที่มีความสามารถ เป็นพิ
เศษ เช่น มีความจำดี มีปฏิภาณฝีปากดีมี
ความ
สามารถในการสร้างสรรค์เนื้อร้อง เป็นต้น
คุณสม
บัติ เช่นนี้ ชาวบ้านไม่สามารถมีได้ทุกคนจึงทำ
ให้เกิดการแบ่งแยก ระหว่างกลุ่มคนร้อง
และคน
ฟังขึ้น คนที่ร้้องเก่งในหมู่บ้านหนึ่งๆมัก
จะเป็นที่
รู้จักของคนทั้งในหมู่บ้านเดียวกัน และ
หมู่บ้าน
ใกล้เคียงคนประเภทนี้ถ้าไม่มีพรสวรรค์
มาแต่กำ
เนิดก็มักจะเป็นผู้ที่มีใจรัก และฝึกฝนมาอย่างดี ส่วนใหญ่จะเสาะแสวงหาครูเพลง และฝากตัวเป็นลูกศิษย์์
เมื่อมีงานบุญงานกุศลที่เจ้าภาพต้องการความบันเทิงก็จะมีการว่าจ้างไปเล่นโต้คารมประชันกัน ทำให้
้เกิดมีการประสมวง
คือนำพ่อเพลงแม่เพลงฝีปากดีมารวมกลุ่มกันเข้าเป็นกลุ่มรับจ้างแสดงในงานต่าง ๆ
จากเพลงที่ร้องเล่นตามลานบ้าน ลานวัด ได้กลายมาเป็นเพลงที่ร้องเล่นในโรง หรือบนเวทีในระยะหลังมี
ีการตกแต่งฉากเหมือนโรงลิเกและตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมาการแสดงเพลงพื้นบ้านภาคกลางได้รับ
อิทธิพลของละครนอก และละครร้องมากจึงได้ปรับการแสดงคล้ายละครนอกมากขึ้น เช่น มีการร้องประ
สมวงพิณพาทย์ และแต่งกายแบบละครนอก กลายเป็นการแสดงที่ เรียกว่า เพลงส่งเครื่อง หรือเพลง
ทรงเครื่อง ส่วนทางภาคอีสานในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ก็นิยมนำนิทานมาร้องเล่นเป็นเรื่อง เรียกว่า ลำ
พื้น และกลายเป็น ลำหมู่และลำเพลินไปในที่สุดทางภาคเหนือเพลงพื้นบ้านที่เป็นการแสดง
ได้แก่การขับ
ซอเมือง ซอเก็บนก จะเห็นได้ว่าเพลงพื้นบ้านได้พัฒนาจากเพลงของกลุ่มชนเป็นเพลงการแสดง และเพลง
อาชีพในที่สุด
เพลงพื้นบ้านที่เป็นการแสดงของไทย เป็นมหรสพที่ได้รับความนิยม
อย่างมากในช่วง รัชกาลที่ ๕-๗ จนกระทั่งหลัง สมัยสงครามโลกครั้ง
ที่ ๒ เป็นต้นมา ก็เริ่มซบเซาและถึงคราวเสื่อมและนับวันจะยิ่งหายไป
จากสังคมไทย อย่างไรก็ตามการฟื้นฟู ด้วยการศึกษา และเผยแพร่ใน
ช่วงปี ๒๕๑๕ เป็นต้นมาของนักวิชาการและผู้สนใจ ทำให้เพลงพื้น
บ้านที่เป็นการแสดงกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งหนึ่ง เพลงพื้นบ้านบาง
พลงได้รับการปรับรูปแบบเป็นเพลงลูกทุ่ง เช่น เพลงแหล่ เพลงลิเก
เพลงฉ่อย เพลงอีแซว หมอลำ เป็นต้น ซึ่งบันทึกลงแถบเสียงจำหน่าย
ทั่วประเทศ เช่น เพลงแหล่บวชนาคของ ไวพจน์ เพชร
สุพรรณ เพลง
ฉ่อยกับข้าวเพชฌฆาต ของขวัญจิต ศรีประจันต์
เพลงอีแซวชุดหมากัด ของเอกชัย ศรีวิชัย เพลงอีแซว ๔๐ เพลงอีแซว ๔๑ ของเสรี รุ่งสว่าง เป็นต้น ทำให้เพลงพื้นบ้าน
เหล่านี้ยังเป็นที่รู้จักของคนรุ่นปัจจุบันไม่
ถูกลืมเหมือนเพลงพื้นบ้าน
อื่น ๆ อีกจำนวนมาก