ลักษณะเด่นที่สุดของเพลงพื้นบ้าน คือ มีความเรียบง่าย ฟังแล้วเข้าใจทันที ถ้าจะมีการเปรียบเทียบ
แฝงสัญลักษณ์อย่างไร ก็สามารถแปลความหมายได้โดยไม่ยากนัก เช่น “พอพี่คว่ำมือไป น้องก็หงาย
มือมา…” “พี่นึกรักแม่ตากลมเอย…”
ฟังกันแค่นี้หนุ่มสาวก็เข้าใจแล้วว่าผู้ร้อง หมายถึงอย่างไร ความเรียบง่ายในที่นี้ไม่ใช่เรียบง่ายอย่างมัก
ง่าย แต่เป็นความเรียบง่ายที่สมบูรณ์อีกด้วย คือทั้งง่ายและคมคาย สวยงามไปในตัวโดยอัตโนมัติ ถ้าเป็น
นิยามก็
เป็นนิยามที่รู้จักเลือกหยิบคำสละสลวยมาเรียงกันเข้า ถึงจะน้อยคำ แต่คนอ่านก็สามารถมองเห็น
ภาพและได้รับรู้รส รู้บรรยากาศหมด ในชีวิตประจำวัน บางทีเราอาจพบคนบางคนพูดอะไรเสีย
ยืดยาว
วกวน และฟังเข้าใจยาก ในขณะที่ถ้าให้อีกคนสับเรียงคำพูดเสียใหม่ และตัดทอนถ้อยคำที่ไม่จำเป็นออก
ไปเราจะ
ฟังเข้าใจเร็วกว่า เพลงพื้นเมืองเปรียบเสมือนคนประเภทหลังนี้
ความเรียบง่ายในการร้องและเล่น
เพลงพื้นบ้านยังคงยึดถือลักษณะดั้งเดิมของมนุษย์เอาไว้
ข้อนี้อาจจะทำให้เราเห็นว่าเพลงพื้นบ้านขาดการปรับปรุง
และขาดวิวัฒนาการ ที่จริง การร้องเพลงที่มีเครื่องดนตรี
ประกอบมากๆ ก็ไพเราะอย่างหนึ่ง และขณะเดียวกันผู้ร้อง
เพลงโดยไม่มีเครื่องดนตรีช่วย หรือมีช่วยเพียงน้อยชิ้นอย่าง
เช่นผู้เล่นกีต้าร์เล่นแอ่วเคล้าซอ ก็สามารถสร้างความไพเราะ
ได้เช่นกัน จึงเป็นทางสองทางที่เราตัดสินว่าเรา
จะเลือก
อย่างไหน
เพลงพื้นบ้านได้เลือกทางของตัวในแบบหลัง เพราะสภาพ
การดำเนินชีวิตมาช่วยเป็นตัวกำหนด ดังนั้นจึงไม่เป็นการ
ยากเลยที่จะเห็นชาวบ้านหรือชาวเพลง“ทำเพลง” โดยไม่
ต้องตระเตรียมอะไรเป็นการใหญ่โตนัก สิ่งที่จะช่วยให้เพลง
ไพเราะ นอกจากขึ้นอยู่กับการใช้ถ้อยคำแล้ว เขาได้ใช้มือ หรือเครื่องประกอบจังหวะง่ายๆ เช่น กรับ ฉิ่ง กลอง เหล่า
นี้เพียงเล็กๆน้อยๆมาช่วย บางทีก็ไม่ใช้เลย เพลงกล่อมเด็ก
เพลงพาดควายร้องปากเปล่าใช้การเอื้อน
เสียงให้เกิดบรร
ยากาศและอารมณ์ เพลงเต้นกำ ใช้รวงข้าว เคียว ซึ่งมีอยู่
แล้วในขณะเกี่ยวข้าวมาประกอบการร้องรำ เพลงเรือ ใช้กรับ
ฉิ่ง เสียงร้องรับของลูกคู่ช่วยให้เกิดความ
ครึกครื้นเพลงฉ่อย
เพลงพวงมาลัย ใช้เพียงการปรบมือช่วย ลำตัด ใช้รำมะนา สิ่งที่สำคัญสำหรับเพลงที่ร้องกันหลายๆ คนคือ การอาศัย
เสียงร้องรับ ร้องกระทุ้ง สอดเพลงของลูกคู่ซึ่ง
จะช่วยให้
้เพลงนั้นสนุกสนานครึกครื้นอย่างยิ่ง เพียงเท่านเองที่เพลง
พื้นเมืองต้องการ
|