ส่วนมากเป็นการเกี้ยวพาราสี หรือการซักถามโต้ตอบกัน ความเด่นของเพลงพื้นบ้านอยู่ที่ความไพเราะ
คารมหรือถ้อยคำง่าย ๆ แต่มีความหมาย กินใจ ใช้ไหวพริบปฏิภาณในการร้องโต้ตอบกัน เพลงพื้นบ้าน
ส่วนใหญ่จะมีเนื้อร้อง และทำนองง่าย ๆ ร้องเล่นได้ไม่ยาก ฟังไม่นานก็สามารถร้องเล่นตามได้การเล่น
เพลงชาวบ้าน จะเล่นกัน ตามลานบ้าน ลานวัด ท้องนา ตามลำน้ำ แล้วแต่โอกาสในการเล่นเพลงเครื่อง
ดนตรี ที่ใช้เป็นเพียงเครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่งกรับ กลอง หรือ เครื่องดนตรี ที่ประดิษฐ์ขึ้นเองบาง
ทีก็ไม่มีเลยใช้การปรบมือประกอบจังหวะสิ่งสำคัญในการร้องเพลงชาวบ้านอีกอย่างก็คือ ลูกคู่ที่ร้องรับ ร้องกระทุ้ง หรือร้องสอดเพลง ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดความสนุกสนานครึกครื้นยิ่งขึ้นโดยทั่วไปแล้วเพลง
พื้นบ้าน
จะมีลักษณะเด่น ๆ เป็นที่สังเกตได้ คือ
-
สำนวนภาษาใช้คำธรรมดาพื้น ๆไม่มีบาลีสันสกฤต
ปน ฟังเข้าใจง่าย แต่ถ้อยคำคมคายอยู่ในตัวทำให้
เกิดความสนุกสนาน บางครั้งแฝงไว้ด้วย
การใช้
สัญลักษณ์แทนคำหยาบต่างๆ เป็นต้น ว่า
ยาเส้น
ใบพลู ที่นา หัวหมู (อุปกรณ์ไถนา) เป็นต้น และ
เรียบง่ายทางด้านโอกาส และสถาน
ที่เล่น ไม่ต้อง
ยกพื้นเวที
-
มีความสนุกสนานเพลิดเพลินมีความคมคายในการ
ใช้ภาษากระทบกระเทียบเปรียบเปรยชวนให้คิด
จากประสบการณ์ที่พบเห็นอยู่ในวิถีชีวิตท้องถิ่น
-
มีภาษาถิ่นปะปนอยู่ ทำให้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีการดำเนินชีวิต ประเพณีความเชื่อตลอดจนค่า
นิยมต่าง ๆ ที่แฝงอยู่
-
ลักษณะภาษาคล้องจองกัน ที่เป็นกลอนหัวเดียว คือ กลอนที่ลงท้ายด้วยสระชนิดเดียวกัน เช่น
กลอน
ไล (ลงเสียงข้างท้ายด้วยสระไอตลอด) กลอนลี (ลงเสียงข้างท้ายด้วยสระอีตลอด) เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
ในเพลงไซเอ๋ยไซ ลามะลิลา ซึ่งง่ายต่อการเล่นมุ่งให้ทุกคนมีส่วนร้องได้สนุกสนานร่วมกัน
-
มักจะมีการร้องซ้ำ บางทีซ้ำที่ต้นเพลง หรือบางทีซ้ำที่ท่อนท้ายของเพลง เช่น เพลงพิษฐาน เพลง
พวงมาลัย เพลงฉ่อย เป็นต้น
ผลดีของการร้องซ้ำ ๆ กัน ก็คือเพิ่มความสนุกสนานให้ผู้อยู่รอบข้างได้มีส่วนร่วมในเพลง ทำให้
บรรยา
กาศครึกครื้นและเนื่องจากเป็นการประคารมกันสด ๆ ซึ่งช่วงการร้องซ้ำนี้จะช่วยให้ได้มี
โอกาสคิดคำและ
พ่อเพลง แม่เพลงจะได้พักเหนื่อย และสามารถใช้ปฏิภาณพลิกแพลง ยั่วล้อกันอีกด้วย
นอกจากนี้เพลงพื้นบ้านยังมีลักษณะพิเศษอีก คือ เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะที่เล่าสืบต่อกันมา
ปากต่อปากไม่สามารถจะสืบค้นหาตัวผู้แต่งที่แน่นอนได้และมีลักษณะของความเป็นพื้นบ้าน
พื้นเมือง