ด้านเนื้อหา และการเรียงลำดับเรื่อง เนื่องจากเพลงพื้นเมืองยังแยกได้ออกเป็นเพลงโต้ตอบอย่างสั้นและ
เพลงโต้ตอบอย่างยาวอีก และเนื้อหารูปแบบของเพลง 2 พวกอาจแยกได้ด้วย เพื่อความสะดวก เราจึง
แยกพิจารณาเช่นกัน
เพลงโต้ตอบอย่างยาว ได้แก่เพลงเรือ เพลงระบำบ้านไร่ เพลงพวงมาลัย เพลงเหย่ย เพลงหน้าใย เพลง
เต้นกำ เพลงอีแซว เพลงระบำบ้านนา เพลงพาดควาย เพลงเทพทอง เพลงปรบไก่ ลำตัด เพลงแอ่วเคล้า
ซอ เพลงฉ่อย เพลงเหล่านี้ส่วนมากเป็นเรื่องของผู้เล่นที่มีความชำนาญ คือ พ่อเพลง แม่เพลงอาชีพถึงไม่
่เป็นเพลงอาชีพก็ต้องเป็นผู้ที่เล่นจนสามารถโต้ตอบกับใครได้นานๆ ไม่มีการจบกลางคัน เพราะหมดไส้
หมดเพลง การที่จะร้องให้ได้นานๆ จึงต้องสร้างเรื่อง หรือสร้างชุดการเล่นขึ้น ดังนั้นเราจึงมีชุดใหญ่ของ
เพลงเหล่านี้เป็นต้นแบบคือ ชุดลักหาพาหนีชุดสู่ขอ ชุดชิงชู้ ชุดตีหมากผัว เป็นต้น แบบแผนของเพลง
โต้ตอบอย่างยาวที่เกือบทุกเพลงต้องมี คือ การเริ่มเพลงด้วยบทไหว้ครู เมื่อไหว้ครูแล้ว จึงมักเป็นบท
เกริ่น เรียกหาหญิงให้มาเล่นเพลง แล้วจึงเป็นการโต้ตอบ หรือที่เรียกกันว่า “การประ” จะว่ากันคืนยังรุ่ง
หรือสักครึ่งคืนก็ตามใจ เนื้อหาร่วมของเพลงโต้ตอบอย่างยาวมีเช่นนี้

เพลงโต้ตอบอย่างสั้น หรือเพลงเนื้อสั้น ได้แก่เพลงพิษฐาน เพลงระบำ เพลงสงฟาน เพลงเต้นกำรำเคียว เพลงสงคอลำพวน เพลงชักกระดาน เพลงแบบนี้มักเป็นเพลงสั้น เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ใช่เพลงอาชีพ ร้อง
กันคนละสี่ห้าวรรค คนละท่อนสั้นๆ ก็ลงเพลงเสีย เป็นเพลงที่เปิดโอกาสให้ทุกคน ได้ร่วมสนุกกันอย่าง
ง่ายๆ ถ้าเรารวมเพลงกล่อมเด็กด้วย ก็เป็นเพลงสั้นเช่นกัน ใครๆก็พอจะร้องได้ เพลงเนื้อสั้นจึงไม่จำเป็น
ต้องมีพิธีรีตองในการร้อง หรือต้องใช้การสร้างบทชุดใหญ่เข้ามากำหนดเรียงลำดับการเล่นแต่อย่างใด เมื่อจะเล่นก็ตั้งวงเข้าหรือร้องไปเลย การมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกัน ทำให้พ่อเพลงคนหนึ่งหยิบถ้อยคำจาก
เพลงนี้ไปใส่ในอีกเพลงหนึ่งโดยไม่่รู้ตัว ข้อที่เราต้องไม่ลืมคือ พ่อเพลงคนหนึ่งๆมักจะร้องเพลงได้หลาย
ทำนอง นอกเหนือไปจากเพลงที่เขาถนัดการแลกเปลี่ยนถ้อยคำจึงทำได้ง่ายมาก ดังนั้น เราอาจพบการ
วางลำดับคำ หรือการใช้คำบรรยายระหว่างเพลงต่อเพลงในจังหวะพอๆกัน สิ่งนี้มาจากการตกทอดในใจ
ของชาวเพลงนั่นเอง ในอีกด้านหนึ่ง เพลงพื้นเมืองหลายชนิด ใช้กลอนอย่างหนึ่งซึ่งสัมผัสด้วยสระเดียว
กันหมดในวรรคท้ายของบท เช่น ลงไอก็ไอไปเรื่อย ลงอาก็อาไปเรื่อย ศัพท์ทางเพลงเรียกว่า กลอนไล กลอนลา กลอนลี กลอนลู ฯลฯ ตัวอย่างเช่น เพลงเรือ เพลง-ฉ่อย เพลงเต้นกำ เพลงพวงมาลัย เป็นต้น (บางท่านเรียกการสัมผัสแบบนี้ว่า “กลอนหัวเดียว” แต่เมื่อสอบถามทางพ่อเพลงแม่เพลงดูแล้ว ไม่มีใครรู้
้จักศัพท์คำนี้กันเลย ที่มาของคำนี้จะมาได้อย่างไร ไม่ทราบ) รูปแบบอย่างนี้ คงเกิดขึ้นเพราะหาสัมผัส
ง่ายสะดวกในการด้นเพลง เพราะการด้นเพลงนั้น หากฉันทลักษณ์ยากไป ก็คงร้องคงฟังกันยากน่าดู สระที่
นิยมนำมาใช้กันมากที่สุดได้แก่ สระไอ

|