1. เพลงปฏิพากย์ เป็นการร้องโต้ตอบกันระหว่างหญิงชาย ทั้งการเกี้ยวพาราสี เรียกตัวเอกของทั้งฝ่าย หญิงชายว่า “พ่อเพลง  แม่เพลง” ซึ่งเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์สูง จึงทำให้การแสดงมีรสชาติไม่กร่อย ไปเพลงในลักษณะนี้มีหลายแบบ ซึ่งล้วนต่างกันทั้งลีลา ลำนำ และโอกาส อาจมีดนตรีประกอบ พร้อมกัน นั้นก็มีการร่ายรำเพื่อเน้นคำขับร้อง
2. เพลงการทำงาน ยิ่งเป็นลักษณะของชาวบ้านแท้ๆ มากขึ้น การใช้เพลงช่วยคลี่คลายความเหน็ด เหนื่อยเป็นความฉลาดที่จะสามารถดำเนินงานไปได้อย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะงานเกษตรกรรมมีการร้อง โต้ตอบกันบ้าง บางครั้งก็แทรกคำพูดธรรมดา เพื่อล้อเลียนยั่วเย้าไปด้วยฟาง  โดยใช้การตบมือเข้า จังหวะอย่างสนุกสนาน
  เพลงพื้นบ้านภาคกลาง มีอิทธิพลมาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ  การประกอบอาชีพวิถีการดำเนิน ชีวิต พิธีกรรม และเทศกาลต่าง ๆ โดยสามารถแยกประเภทได้ดังนี้คือ

  1. เพลงที่ร้องเล่นในฤดูน้ำมาก ได้แก่เพลงเรือ เพลงร่อยพรรษา เพลงรำภาข้าวสาร เพลงหน้าใย เพลงครึ่งท่อน เป็นต้น
  2. เพลงที่ร้องเล่นในฤดูเกี่ยวข้าวและนวดข้าว ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเต้นรำกำเคียว เพลงจาก ซึ่งใช้ร้องเล่นระหว่างเกี่ยวข้าว สำหรับเพลงสงฟาง เพลงพานฟาง เพลงโอก เพลงสงคอลำพวน เพลงเตะข้าว และเพลงชักกระดาน ใช้ร้องเล่นระหว่างนวดข้าว
  3. เพลงที่ร้องเล่นในช่วงตรุษสงกรานต์ ได้แก่เพลงสงกรานต์ ได้แก่ เพลงสงกรานต์ เพลงหย่อย เพลงระบำบ้านไร่ เพลงช้าเจ้าหงส์ เพลงพวงมาลัย เพลงสันนิษฐาน เพลงคล้องช้าง และเพลงใจหวัง เพลงฮินเลเล เพลงกรุ่น เพลงยั่ว เพลงชักเย่อ เพลงเข้าทรงต่าง ๆ เป็นต้น
  4. เพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส เพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน และเกิดความสามัคคีในหมู่คณะ มักจะร้องเล่นกันในโอกาสทำงานร่วมกัน หรือมีงานบุญและงานรื่นเริงต่าง ๆ โดยเป็นเพลงใน ลักษณะพ่อเพลงแม่เพลงอาชีพที่ใช้โต้ตอบกันได้แก่ เพลงเทพทอง เพลงปรบไก่ เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เพลงลำตัด เพลงทรงเครื่อง เป็นต้น

 มีการขับร้องและขับลำอีกแบบหนึ่ง โดยการใช้ถ้อยคำ สำเนียง และทำนอง ซึ่งคลอเคล้าด้วยปี่ซอ เรียกว่า “ซออู้สาว” ได้แก่ การร้องโต้ตอบกันระหว่างหญิงชาย  ซึ่งมักจะใช้คำกลอนที่แต่งไว้แล้วจดจำ มาร้อง บางโอกาสเท่านั้นที่ร้องด้นอย่างฉับไว ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีประสบการณ์สูง การร้องเป็นเรื่องเชิงขับ ลำนำ มักใช้เรื่องพระลอ เรื่องน้อยไจยา เป็นต้น วิธีร้องใช้เอื้อนตามทำนองแล้วหยุดในบางตอนแต่เรื่อง ยังติดต่อกันตลอดไป การแต่งคำกลอนของภาคเหนือมีหลายแบบ เช่น แบบ “คำร่ำ” มีลักษณะเป็นร่าย ที่สัมผัสอักษรกันไปตลอด  มีการถ่ายทอดกันแบบ “มุขปาฐะ” แล้วจดจำกันต่อมาหลายสำนวน จนบาง สำนวนเข้าขั้นเป็นวรรณกรรมพื้นบ้าน
   เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ สามารถใช้ร้องเล่นได้ทุกโอกาส โดยไม่จำกัดฤดูหรือเทศกาลใดๆซึ่งใช้ร้อง เพลงเพื่อผ่อนคลายอารมณ์และการพักผ่อนหย่อนใจ โดยลักษณะการขับร้องและท่วงทำนองจะอ่อนโยน ฟังดูเนิบนาบนุ่มนวล สอดคล้องกับเครื่องดนตรีหลัก ได้แก่ ปี่ ซึง สะล้อ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถจัด ประเภทของเพลงพื้นบ้านของภาคเหนือได้ 3 ประเภท คือ

  1. เพลงซอ ใช้ร้องโต้ตอบกัน โดยมีการบรรเลงปี่ สะล้อและซึงคลอไปด้วย
  2. เพลงจ๊อย เป็นการนำบทประพันธ์ของภาคเหนือมาขับร้องเป็นทำนองสั้น ๆ โดยเนื้อหาของคำ ร้องจะเป็นการระบายความในใจ แสดงอารมณ์ความรัก ความเงียบเหงา มีนักร้องเพียงคนเดียว และจะใช้ดนตรีบรรเลงหรือไม่ก็ได้ เช่น จ๊อยให้กับคนรักรู้คนในใจ จ๊อยประชันกันระหว่างเพื่อน ฝูงและจ๊อยเพื่ออวยพรในโอกาสต่าง ๆ หรือจ๊อยอำลา
  3. เพลงเด็ก มีลักษณะคล้ายกับเพลงเด็กของภาคอื่นๆ คือเพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็ก และเพลงที่เด็กใช้ร้องเล่นกันได้แก่ เพลงฮื่อลูก และเพลงสิกจุงจา


         

 
Copyright © 2009 by Team FTD, Darunanukul Huathanon School