1. เพลงพื้นบ้านของไทยส่วนใหญ่เล่นกันในหมู่หนุ่ม สาวแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือชายกลุ่มหนึ่ง หญิงอีก กลุ่มหนึ่งการว่าเพลงพื้นบ้านนี้หนีไม่พ้นเกี้ยวพาราศี เรื่อง รักๆใคร่ๆ ส่วนมากใช้ร้องโต้ ตอบกันด้วยกลอน สด เมื่อฝ่ายชายร้องเพลงนำก่อน โดยประเพณีย่อม ได้ รับการตอบสนองจาก กลุ่มผ่ายหญิงคำร้องจาก ผ่าย หญิงได้แสดงออกถึงการต้อนรับและร้องเพลง ในคำ กลอนซึ่งแสดงออกถึงการปกป้องตนเองอย่าง สุภาพ ตามลักษณะของกุลสตรีไทยแบบดั้งเดิม
  2. การว่ากลอนสดโต้ตอบกันระหว่างชายหญิงนี้คนไทย ทุกกลุ่มทั้งที่อยู่ในและนอกราชอาณา จักรไทยถือ เป็นขนบประเพณีเหมือนๆกัน ปฏิบัติสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ปรากฏว่ามีประเพณีห้ามหนุ่ม สาวพบปะกันสองต่อสองแต่เมื่อจะใช้ตำกลอนพูดจากันแล้วอนุญาตให้เกี้ยว พาราสีกันได้โดยไม่ ่ต้องอ้อมค้อม
      ในภาคเหนือ ภาคอีสาน มีคำพูดใช้โต้ตอบกันระหว่างหนุ่มสาวเป็นคำปรัชญาของท้องถิ่น เรียก
    ว่าผะหญา (ในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยจารึกว่า ประญา) ในภาคอีสานสมัยก่อนที่จะได้รับ การ พัฒนาเหมือนสมัยนี้มีการรักษาขนบประเพณีนี้เคร่งครัดมาก หนุ่มสาวที่ไม่ปะทะคารมเป็น คำ ปรัชญาที่เป็นคำกลอนก็จะได้รับการตำหนิจากสังคมว่าขี้ขลาดตาขาว ไม่กล้าลงบ่วงหนุ่มสาว ที่ไม่ได้แต่งงาน เพราะโต้ตอบกลอนสดไม่เป็นเรียกว่า ตกบ่วง
  3. การว่าเพลงพื้นบ้านของไทยแสดงออกถึงความสามัคคี รื่นเริงตามแบบแผนวัฒนธรรมโบราณ ของไทยที่สืบทอดติดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน เป็นการแสดงออกของศิลปินเพื่อศิลปะโดยแท้
  4. การว่าเพลงพื้นบ้านของไทยฝ่ายชายมีผู้นำในการว่าเพลงเรียกว่า พ่อเพลง ในทำนองเดียวกัน ผู้นำในการว่าเพลงของฝ่ายหญิงก็เรียกว่า แม่เพลง
      พ่อเพลง และแม่เพลงส่วนมากก็จะเป็นญาติผู้ใหญ่ของหนุ่มสาวทั้งสองฝ่าย นั่นเองเป็นสิ่ง ธรรมดาที่ทั้งพ่อเพลงและแม่เพลงย่อมหา โอกาส เสริมทักษะความรู้เกี่ยวกับชีวิตคู่ และเรื่องเพศ สัม พันธ์เรื่องต่างๆเหล่านี้มีอยู่พร้อมในคำร้องอันฉลาด แหลมคมของบทกลอนของเพลงพื้นบ้าน จึงกล่าวได้
    ว่าคนไทยมีกรรมวิธีการสอนให้หนุ่มสาวรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ในอดีตอันยาวนานแล้ว จากประเพณีการเล่นเพลงพื้นบ้านของไทยนี้จะเห็นว่า
    คนไทยเรารู้จักการสอนเพศศึกษาแก่เยาวชนมาก่อน
    ฝ่ายตะวันตก โดยปราศจากข้อสงสัยก่อนที่จะประทะ
    คารมกันเชิงบทเชิงกลอน ผู้อาวุโสน้อยกว่าจะแสดง
  5. ความคารวะผู้อาวุโสมากกว่า จะว่าเป็นกลอนขอ อภัยล่วงหน้าว่าหากล่วงเกินด้วยกาย วาจา ใจ ประการใด ก็ขอให้อภัยด้วย ฯลฯ เมื่อคารวะคู่แข่ง
    ผู้อาวุโสกว่าแล้ว ผู้ว่าเพลงก็ไม่ลืมหันหน้าไปทางผู้ร่วมฟังออกตัว ถ่อมตัว ด้วยความสุภาพอ่อน โยนว่า  หากการว่ากลอนสดจะขลุกขลักไม่สละสลวย  หรือไม่ถึงใจผู้ฟังก็ขอได้โปรดให้อภัยด้วย
    จะเห็นได้ว่าแก่นแท้ของคนไทยสุภาพอ่อนโยนเป็นชาติเผ่าพันธุ์ที่ถ่อมตัว เสมอ
  6. เมื่อผ่านพิธีการออกตัวถ่อมตัว ตามประเพณีแล้วก็จะประจันหน้ากัน ทักทายกันด้วยคำข่มขวัญกัน
  7. เมื่อมีโอกาสว่าเพลงพื้นบ้านกันระหว่างชายหญิงโดยประเพณีจะอนุญาตให้ฝ่ายหญิงโต้ตอบเป็น คำกลอนสดกับฝ่ายชายอย่างเต็มที่ เธอจะว่ากลอนสดแสดงความรักความเกลียดชังใครได้อย่าง เปิดเผย โดยไม่ถือว่าเป็นการทำตนเสื่อมเสียเลย  โดยขนบประเพณีเดิมสืบเนื่องมาแต่ดึกดำ บรรพ์ อนุญาตให้สตรีเพศแสดงออกซึ่งสิทธิเสรีภาพทัดเทียม หรือล้ำหน้าผู้ชาย
  8. เมื่อการเล่นเพลงพื้นบ้านจบสิ้นลงแล้ว มีประเพณีอันดีงามของไทยโบราณที่ควรนำมา สดุดี ณ ที่นี้อีกคือผู้ว่าเพลงพื้นบ้านที่รู้ตัวว่ามีอาวุโสน้อยกว่าจะไปแสดงคารวะขอขมาลาโทษผู้ที่มีอาวุโส
    สูงกว่า ในกรณีที่อาจมีการว่ากลอนสดล่วงเกินไปบ้างผู้ใดรู้ตัวว่ายังว่าเพลงพื้นบ้านกลอนสดยังไม่ได้มาตรฐาน  ก็จะใฝ่หาความรู้ความชำนาญจาก ผู้ที่ชำนาญกว่า การเตรียมการ การฝึกซ้อม ใช้
    เวลาว่างจากการทำไร่ ไถนา หนุ่มก็จะไปกราบขอ เรียนจากพ่อเพลง  ในทำนองเดียวกันสาว ก็จะไป หาความรู้ความชำนาญจากแม่เพลงเนื่องจากมีการ ฝึกซ้อมกันไว้ล่วงหน้าหลายเดือน เมื่อวันสำคัญได้ มาถึง  แม้ฝ่ายหญิงจะมีความกระดากอายอยู่บ้าง แต่ความพร้อม ทำให้เธอกล้า ประจันหน้ากับชาย หนุ่มที่จะส่งคำถามคำเกี้ยวพาราสีและเธอก็พร้อมที่
    จะตอบโต้เป็นกลอนสด ทุกรูปแบบ
     
      แบบอย่างเพลงพื้นบ้านที่ขับขานออกมาจากปากของคนหนึ่งกรอกเข้ารูหูของผู้ที่ตั้งใจรับ ฟัง จะอยู่ในความทรงจำอย่างแน่นแฟ้น แม้มีอิทธิพลอารยธรรมจากแหล่งอื่นเข้ามาปรากฏ แบบ อย่าง ขนบประเพณีอื่นอาจผันผวนคล้อยตามไปได้ไม่ยาก แต่แบบอย่างเพลงพื้นบ้านที่ขับขาน ออกจากปากเข้ารูหูแล้วเข้าไปเจือปนในสายเลือดนั้น  เรื่องที่จะหันเหโน้มเอียงให้ตามปรากฏ การณ์ใหม่ๆ ไม่ใช่ของง่ายนัก ดังนั้นบัญญัติ 8 ประการที่นิยามกว้างๆไว้แล้วนั้นใช่ว่าจะเป็น ปรากฏการณ์ที่ เพิ่งพบเพียงแค่เมื่อ 30 กว่าปีมาแล้วเท่านั้น จากทฤษฎีที่ตั้งขึ้นนี้ เชื่อว่าบัญญัติ 8 ประการนี้ คนไทยเราปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างครบถ้วนตั้งแต่คนไท คนไต กลุ่มต่างๆยังไม่รวม ตัวกันมา สถาปนาราชอาณาจักรสุโขทัย เมื่อเรามีกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงเทพมหานคร เป็น ราชธานี สืบต่อมาแล้วนั้น คนไทยทั้งที่อยู่ในถิ่นดั้งเดิม ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ที่เคลื่อนย้าย ไปอยู่ ที่อื่น  ดังที่ปรากฏกระจายอยู่ในถิ่นทั่วไปของเอเชียอาคเนย์แม้มีการรับแบบอย่าง อารยธรรม ใหม่ๆ จากรอบๆ ตัว แต่แบบอย่างการขับขานวรรณกรรมของท้องถิ่นในรูปแบบที่ เรียกว่า เพลงพื้นบ้าน ดั้งเดิมยังคงมีเหลืออยู่

         

 
Copyright © 2009 by Team FTD, Darunanukul Huathanon School