เพลงพื้นบ้าน

  เป็นร้อยกรองที่นำมาจัดจังหวะของคำ และใส่ทำนองเพื่อ ขับร้องในท้องถิ่นสืบทอดต่อกันมาด้วยวิธีจดจำ ที่มาของ เพลงพื้นบ้าน เกิดจากนิสัยชอบบทกลอน หรือทีเรียกว่า “ความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน” ของคนไทยในท้องถิ่นต่างๆ ที่เรียงร้อยถ้อยคำมีสัมผัสคล้องจอง และประดิษฐ์ทำนองที่ ร้องง่ายแล้วนำมาร้องเล่นในยามว่าง หรือระหว่างทำงาน ร่วมกัน เช่น ลงแขกเกี่ยวข้าว นวดข้าว เพื่อผ่อนคลายความ เหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน เพื่อความสนุกสนาน และเพื่อความสามัคคีในกลุ่มชน การใช้ถ้อยคำในเพลง พื้นบ้านนั้น มีลักษณะตรงไปตรงมา นิยมใช้ภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน บางครั้งก็แฝงนัยให้คิดในเชิง สองแง่สองง่าม บางเพลงก็ร้องซ้ำไปมาชวนให้ขับขัน ดังตัวอย่าง เพลงซอพม่า ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านภาค เหนือ ดังต่อไปนี้

         หมาหางก้อม
หมาหางกิ๊ด
หมาหางก้อม 

หามหางกิ๊ด
  มาไต่คันนาดิ๊ดดิ๊ด
มาไต่คันนาด้อมด้อม
มาไต่คันนาดิ๊ดดิ๊ด

มาไต่คันนาด้อมด้อม
(อธิบายศัพท์ : ก้อม กิ๊ด = สั้น, ด้อมด้อม = คำขยายอาการเดิน)
         มอบมอบคลานคลาน
ยกปืนขึ้นเล็ง
มอบมอบคลานคลาน
ยกปืนขึ้นเล็ง
  หันต่าฟานกับเก้ง
หันต่าเก้งกับฟาน
หันต่าฟานกับเก้ง
หันต่าเก้งกับฟาน
(อธิบายศัพท์ : มอบ = หมอบ, หันต่า = เห็นแต่, ฟาน= กวาง)


  เพลงพื้นบ้าน หมายถึง เพลงที่กลุ่มชนใน ท้องถิ่นต่างๆ ประดิษฐ์เนื้อหา ท่วงทำนองและ ลีลาการร้อง การเล่น เป็นแบบแผนตามความ นิยมและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ เพื่อใช้ ร้องเล่นในโอกาสต่างๆ ได้แก่ งานเทศกาล หรือ ประเพณี เช่น ตรุษสงกรานต์ อุปสมบท ทอด กฐินและลอยกระทง การทำงาน หรือประกอบ อาชีพ เช่น การลงแขกเอาแรงกันปลูกบ้านเกี่ยว ข้าว นวดข้าว เป็นต้น

   เพลงพื้นบ้าน จึงเป็นเพลงที่ชาวบ้านร้องเล่น เพื่อความสนุกสนานบันเทิงใจ และเพื่อผ่อน คลายความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน รวมทั้งเพื่อรวมกลุ่มกันประกอบการงานและพิธีกรรม


 
Copyright © 2009 by Team FTD, Darunanukul Huathanon School