ชาวบางแพ ราชบุรี ร้องเพลงฉ่อยให้ฟังตอนหนึ่ง เขาลงท้ายบทเพลงว่า
“เรามาเล่นกันเสียแต่ลมปาก พอเลิกแล้วเราก็จากกันไป...”
ในขณะเดียวกัน ชาวบ้านบางลูกเสือ ซึ่งอยู่ไกลออกไปถึงนครนายกร้องเพลงระบำบ้านนาของเขาใน
บทเกริ่นว่า
“เอ๋ยพี่มาวันนี้ ก็ชวนแม่เล่นระบำ ว่ากันคน (แม่เอ๊ย) ละคำไม่เป็นไร
เราเล่นกัน กันก็แต่ลมปาก พอเลิกแล้วเราก็จาก จากแม่จากกันไป...”
ทำไมชาวเพลงต่างถิ่น จึงร้องเพลงด้วยถ้อยคำที่คล้ายคลึง หรือเกือบจะเหมือนกัน ทั้งๆ ที่อยู่ห่างกัน
คนละทิศ ตัวอย่างที่ยกมา ไม่ใช่่ความบังเอิญ มีบทเพลงของต่างถิ่นต่างเพลงที่ร้องคล้ายคลึงกันมากมาย สิ่งนี้เมื่อนำมาเปรียบเทียบและศึกษาดูแล้ว จะชี้ให้เราเห็นว่าเพลงพื้นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และลุ่ม
น้ำใกล้เคียง ได้สร้างรูปแบบที่มีีหลายสิ่งหลายอย่างร่วมกันขึ้น ด้วยการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดระหว่างคน
ต่อคน หรือระหว่างคณะต่อคณะ จนกระทั่งทุกอย่างประสมกันอย่างสนิท
|