เพลงพื้นเมืองของเราจึงมักเน้นอยู่สองอย่าง ซึ่งจะออกมาในรูปของการใช้คำสองแง่สองง่าม การเว้น
เสียซึ่งเรื่องที่ทุกข์มากๆ
การใช้คำสองแง่สองง่าม อย่างเช่น เพลงฉ่อยของโรงพิมพ์วัดเกาะ เมื่อฝ่ายชายเกริ่น ฝ่ายหญิงได้ยิน เสียงก็ร้องตอบออกมาว่า
“พี่เอ๋ยพี่มาถึงจะมาพึ่งของรัก
ไอ้ตรงแอ่งที่ในห่อผ้า
พี่พึ่งเงินจะกอง
พี่จะพึ่งอีแปะ
|
แม่หนูยังหนัก น้ำใจ
พี่เอ๋ยแกอย่าได้หมาย
พี่พึ่งทองจะให้
จนใจน้องแกะไม่ไหว (เอ่ชา)” |
ชายว่า |
|
“ทำไมกับเงินกับทอง
พี่จะพึ่งหนังมาหุ้มเนื้อ |
สมบัติเป็นของนอกกาย
จะได้ติดเป็นเยื่อเป็นใย (เอ่ชา)” |
การเว้นเสียซึ่งเรื่องที่ทุกข์มากๆ ระหว่างความสนุก กับความทุกข์ คนเราต้องเลือกเอาอย่างแรกก่อน
เสมอบทเพลงของชาวบ้านก็เช่นกัน เมื่อเทียบเนื้อหาในตัวเพลงแล้ว ส่วนที่กล่าวถึงเรื่องราวแห่งความ
ทุกข์มีเปอร์เซ็นต์น้อยว่าด้านความสนุกมาก และบางครั้ง ความทุกข์ที่นำมาร้องก็เป็นการสมมติขึ้นเพียง
เพื่อเปลี่ยน และคั่นอารมณ์คนฟังเท่านั้น เหมือนอย่างเพลงเรือตอนที่ผัวเก่ากลับบ้าน เมื่อมาถึงบ้านก็
็ต้องหดหู่ใจที่บ้านรกร้างเพราะไม่มีใครดูแล ในขณะที่พรรณนาความเปลี่ยนแปลงความเหงาหงอยซึ่งพ่อ
เพลงสามารถจะเรียกความสงสารจากคนฟังได้ พ่อเพลงก็ยังอดสอดใส่ลักษณะขี้เล่นเข้าไปไม่ได้ เช่น
พิศดูครอบครัวมันให้ชั่วลามก
หม้อข้าวก็กลิ้งหม้อแกงก็กลิ้ง
ไอ้ครกกะบากก็เล่นละคร
|
มันช่างสกปรกไม่รู้จักหาย
ฝาละมีตีฉิ่งอยู่ที่ข้างครัวไฟ
สากกะเบือก็นอนเป็นไข้ |
|