ความหมายของเพลงปฏิพากย์

 คำว่า “ปฏิ” หมายถึง โต้ตอบ ส่วนคำว่า “พากย์” หมายถึง การใช้คำพูด ดังนั้นเพลงปฏิพากย์จึง
หมายถึง เพลงที่ร้องโต้ตอบกันระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง โดยใช้ปฏิภานไหวพริบหรือที่เรียกว่า “ร้องแก้” นั่นเอง ความนิยมการขับร้องเพลงปฏิพากย์ โดยทั่วไปจะเริ่มด้วยบทไหว้ครู แล้วฝ่ายชายจะร้องเกริ่น เชิญฝ่ายหญิงมาร้อง จากนั้นก็จะเป็นการเกี้ยวพาราสี และลาจากกันการร้องไหว้ครูเป็นการระลึกถึงคุณ พระรัตนตรัย คุณบิดามารดา และครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนบทเพลง และขอพรให้ร้องเพลงได้ราบรื่น ไม่ติด ขัด การไหว้ครูจึงสะท้อนค่านิยมเรื่องกตัญญูของคนไทย และเป็นกระบวนการที่พบในศิลปะการแสดง
ของคนไทยทุกประเภท
เพลงปฏิพากย์ในท้องถิ่นต่างๆ

 เพลงปฏิพากย์มีอยู่ทุกท้องถิ่นในประเทศไทย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
เพลงปฏิพากย์ภาคกลาง ได้แก่ เพลงพวงมาลัย เพลงเรือ เพลงอีแซว เพลงเหย่อย เพลงปรบไก่
เพลงพิษฐาน เพลงเทพทอง เพลงเต้นกำ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงระบำบ้านไร่ ลำตัด

ตัวอย่างเพลงปฏิพากย์ภาคกลางที่ยังขับร้องเล่นอยู่ในปัจจุบัน

เพลงเกี่ยวข้าว

ช. เกี่ยวเถิดนะแม่เกี่ยว (ซ้ำ)
ญ. เกี่ยวเถิดนะพ่อเกี่ยว (ซ้ำ)
ช. คว้าเถิดหนาแม่คว้า (ซ้ำ) 
ญ. คว้าเถิดหนาพ่อคว้า (ซ้ำ)
อย่ามัวชะแง้แลเหลียว
อย่ามัวชะแง้แลเหลียว
รีบตะบึงให้ถึงคันนา
รีบตะบึงให้ถึงคันนา
เคียวจะบาดมือเอย
เคียวจะบาดมือเอย
พี่มารอท่าอยู่เอย
จะได้พูดจากันเอย

เพลงเต้นกำ

ช. เกี่ยวข้าวเกี่ยวปลา
    ถ้อยคำร่ำไข
    ขอเชิญน้องแก้มแดง
    แล้วจะได้จรล
ญ. ถ้อยคำร่ำ
    เรียกหาสาวเจ้าก็แล
    น้องฉวยกำขึ้นรำรี่

เชิญเข้ามาในวงนี้
มาว่ากันกลอนลี
เกี่ยวข้าวแข่งกับพี่
ไปนาที่ทางโน้นเอย
มาว่ากันในกลอนสี่
มาเรียนหาแม่ทำไมกันนี่
เดินมาที่พี่ชายเอย
(ลูกคู่รับ)
(ลูกคู่รับ)
(ลูกคู่รับ)
(ลูกคู่รับ)
(ลูกคู่รับ)
(ลูกคู่รับ)
(ลูกคู่รับ)

เพลงเต้นกำรำเคียว
ช. มากันเถิดนางเอย
    เอ๋ยรา แม่นา มารึมาแม่มา มาเถิดนะแม่มา     มาเถิดหนานะแม่มา
    มาเถิดแม่นุชน้อง พี่จะเป็นฆ้องให้น้องเป็นปี่
    ต้อยตะริดติดตอตอด
    น้ำแห้งน้ำหยอดที่ตรงลิ้นปี่
    มาเถิดนะแม่มา มาเถิดนะแม่มา
    มาเต้นกำย่ำหญ้ากันในนานี้เอย
ญ. มาเถิดเอย
     เอ๋ยรา พ่อมา มารึมาพ่อมา
     ฝนกระจายที่ปลายนา
     แล้วน้องจะมาอย่างไรเอย


 



(ลูกคู่รับ)


(ลูกคู่รับ)



 

 

 


เพลงอีแซว
เพลงอีแซวเป็นเพลงพื้นบ้านที่มีถิ่นกำเนิดในแถบจังหวัดสุพรรณบุรี อ่างทอง เนื้อร้องมีจังหวะกระชับ
สนุกสนาน ดนตรีประกอบใช้กลอง ฉิ่ง ฉาบ และกรับ
ช. โอ้มาเถิดหนากระไรแม่มา (ลูกคู่รับ)
    พูดถึงเรื่องเที่ยวพี่เที่ยวเก่งกว่าเสือ
    พี่มาพบสาวชาวเมืองบางกอก
    จึงร้องชวนสาวเจ้าไปเดินเล่น (ลูกคู่รับ)
ญ. โอ้มาเถิดหนากระไรพ่อมา (ลูกคู่รับ)
     มาถึงไม่นานจะมาชวนน้อง
     พ่อคนแปลกหน้าท่าทางเกะกะ
     ผู้ชายเดี๋ยวนี้หลายชนิด (ลูกคู่รับ)
คนไหนเป็นดาราออกมาไวไว (ลูกคู่รับ)
เมืองใต้เมืองเหนือพี่ก็เคยไป
ผิวดังไข่บอกสวยอย่าบอกใคร
วอนแม่เนื้อเย็นจงเห็นใจชาย (ลูกคู่รับ)
ได้ยอนวาจาของพวกปากไว (ลูกคู่รับ)
ไปเที่ยวไปท่อง ณ ที่หนใด
สะเปะสะปะไม่ค่อยเอาไหน
จะคบต้องคิดให้รู้แก่ใจ (ลูกคู่รับ)

 เพลงพื้นบ้านทั้งสามชนิดนี้มีชื่อเรียกคล้ายคลึงกัน จนมีผู้เข้าใจผิดเสมอแต่ละเพลงมีทำนองการร้องต่าง กัน นิยมร้องในฤดูเก็บเกี่ยว นอกจากเพลงเหล่านี้แล้ว ยังมีเพลงอื่นๆ ที่ร้องในฤดูกาลนี้อีก เช่น เพลงชัก กระดาน เพลงพานฟาง เพลงสงฟาง เพลงเพลงสงคอสำพวน แต่ปัจจุบันสูญหายไปหมดและไม่มีผู้นำมา ร้องเล่น เนื่องจากเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการทำนาแทนคนและควาย

 

         

 
Copyright © 2009 by Team FTD, Darunanukul Huathanon School