เพลงพื้นบ้านของภาคอีสาน ใช้ร้องเพื่อความสนุกสนานในงานรุ่งเรืองต่าง ๆ สามรถแต่งได้ตามกลุ่ม วัฒนธรรม 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ กลุ่มวัฒนธรรมเพลงโคราช และกลุ่มวัฒนธรรม เจรียงกันตรึม ดังนี้

  1. เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ ประกอบด้วยหมอลำและเซิ้งโดยหมอลำ แบ่งการรำ และ การร้องออกเป็น 5 ประเภทคือ ลำเรื่อง ลำกลอน ลำหมู่ ลำเพลิน และลำผีฟ้า ส่วนเซิ้ง หรือคำ ร้องจะ ใช้คำร้องรื่นเริง เช่น การแห่บั้งไฟ การแห่นางแมว การแห่นางด้ง โดยเนื้อเรื่องในการ เซิ้งอาจ เป็นการขอบริจาคเงินในงานบุญ การเซิ้งอวยชัยให้พรหรือการเซิ้งเล่านิทานชาดกตาม แต่โอกาส
  2. เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมเพลงโคราช เป็นเพลงพื้นบ้านที่เล่นกันมานาน ในจังหวัดนครราชสีมา
    หรือโคราชซึ่งเนื้อเพลงมีลักษณะเด่นมนการเล่นสัมผัสอักษรและสัมผัสสระทำให้เพลงน่าฟังยิ่งขึ้น
    และยังมีเสียงร้อง ไช ชะ ชะ ชิ ชาย พร้อมทั้งการรำประกอบแบบเยาะตัวตามจังหวะขึ้นลง ซึ่ง เพลงโคราชนี้ นิยมเล่นทุกโอกาสตามความเหมาะสม
  3. เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมเจรียงกันตรึม ที่นิยมร้องเล่นกันในแถบจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับเขมร ได้แก่ บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีษะเกษ โดยคำว่ากันตรึม นั้นหมายถึงกลองกันตรึม ซึ่งเป็นเครื่อง ดนตรีหลักเวลาตีจะใช้จังหวะเสียงดัง โจ๊ะกันตรึม โจ๊ะตรึม ๆ และเจรียงหมายถึง การขับ หรือ การร้องเพลงมี 2 แบบคือ เจรียงใช้ประกอบการบรรเลงดนตรีกันตรึม ซึ่งเมื่อขับร้องไปท่อนหนึ่ง ดนตรีกันตรึมก็จะรับและบรรเลงยาว ต่อไปเป็นเจรียงดนตรีใช้ร้องในงาน โดยจะขับร้องไปเรื่อยๆ และมีดนตรีบรรเลงคลอไปเบา ๆซึ่งในการร้องเจรียงนั้นสามารถร้องเล่นได้ทุกโอกาสโดยไม่จำ กัดฤดูหรือเทศกาล

   มีเพลงกลอนใช้ร้อง ใช้ขับลำที่สำคัญแสดงปฏิภาณของกวีคือ “เพลงบอก” แม้ว่าจุดประสงค์แห่งเนื้อ ความของเพลงบอกจะบอกเรื่องราว หรือข่าวคราวให้ผู้คนทราบในเรื่องต่างๆ แต่ก็มuวิธีร้องประกอบ การแสดง ไม่ให้เบื่อฟัง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบคือ ร้องแบบสั้นๆ แล้วมีลูกคู่รับ กับ ร้องแบบยาว (อย่างร่ายยาว) แล้วมีลูกคู่รับ คณะเพลงบอกจะมีตัวพ่อเพลง หรือแม่เพลง ลูกคู่ และมีฉิ่ง กรับ ปี่ ขลุ่ย  และทับ (กลอง) ไม่มีการรำ  เพราะคนฟังมุ่งฟังกลอนบอกเท่านั้น
  เพลงพื้นบ้านภาคใต้ มีอยู่ประมาณ 8 ชนิด ทั้งการ้องเดี่ยวและการร้องเป็นหมู่คณะ โดยสามารถแบ่งเป็น
2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

  1. เพลงที่ร้องเฉพาะโอกาสหรือในฤดูกาล ได้แก่เพลงเรือ เพลงบอก เพลงนาคำตัก เพลงกล่อมนาค หรือเพลงแห่นาคเป็นต้น
  2. เพลงที่ร้องไม่จำกัดโอกาส ได้แก่เพลงตันหยงซึ่งนิยมร้องในงานบวช งานแต่งงาน งานขึ้นปีใหม่
    และงานมงคลต่าง ๆ เพลงเด็กที่ร้องกล่อมเด็กให้หลับ และเพลงฮูลู หรือลิเกฮูลููที่ เป็นการร้อง คล้าย ๆลำตัดโดยมีรำมะนาเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะกับบทขับร้องภาษา ท้องถิ่นคือ ภาษามลายูเป็นกลอนโต้ตอบ

 

         

 
Copyright © 2009 by Team FTD, Darunanukul Huathanon School