๑.๒ ให้การศึกษา เพลงพื้นบ้านเป็นงานสร้างสรรค์ที่ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของกลุ่มชน จึงเป็น เสมือนสิ่งที่บันทึกประสบการณ์ของบรรพบุรุษที่ส่งทอดต่อมาให้แก่ลูกหลาน เพลงพื้นบ้านจึงทำหน้าที่
ีี่บันทึกความรู้และภูมิปัญญาของกลุ่มชนในท้องถิ่นมิให้สูญหาย ขณะเดียวกันก็มีคุณค่าในการเสริมสร้าง ปัญญาให้แก่ชุมชนด้วยการให้การศึกษาแก่คนในสังคมทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม
การให้การศึกษาโดยทางตรง หมายถึงการให้ความรู้และการสั่งสอนอย่างตรงไปตรงมาทั้ง
ความรู้ ทาง โลกและความรู้ทางธรรมเช่น ธรรมชาติ ความ เป็นมาของโลกและมนุษย์ การดำเนินชีวิตบทบาท หน้าที ในสังคม วัฒนธรรมประเพณี วรรณกรรมกีฬาพื้นบ้าน
คติธรรม เป็นต้น ขอยกตัวอย่างดังนี้ เพลงฉ่อยให้ความรู้ เกี่ยวกับเกณฑ์การเลือกคู่ครองตามค่านิยมของสังคมไทย เช่น

     เราจะมีเมียดูเสียให้ทั่ว
ดูกิริยาพาทีสตรีนั้นหนา
-------------------------- 
ดูระเบียบเรียบร้อยดูหน่อยกันให้ทั่ว
เขาว่าผ้าดีมันก็มีหน้า
ถ้าว่าดอกไม่ดีสีไม่งาม
ดูทั้งหูทั้งหัวดูทั่วทั้งร่างกาย
เราต้องดูวาจาให้สมหัวใจ
-------------------------------
ดูทั้งครอบครัวมาจากใคร
ถ้าหากว่าเราซื้อผ้าต้องดูลาย
เราจะซื้อไปทำแล้วอะไร
( สังเวียน ทับมี , สัมภาษณ์ )

  การให้การศึกษาโดยทางอ้อม   หมายถึงการอบรมสั่งสอนในลักษณะของการแนะให้คิด หรือให้แง่คิด ในเรื่องต่าง ๆ โดยสอดแทรกคำสอนทางศาสนา ค่านิยมและกฎเกณฑ์ของสังคมที่ควรปฏิบัติไว้ในบท เพลง ขอยกตัวอย่างดังนี้ แง่คิดในเรื่องรักชาติ เช่น

     ชื่อไทยที่แท้แปลว่าอิสระ 
ความสามัคคีเราก็มีอยู่มาก
เราเป็นไทยน้อยเราไม่ด้อยปัญญา
----------------------------------
สละชีพเพื่อชาติประวัติศาสตร์บันทึก
พูดถึงบรรพชนของคนยุคนั้น
รักษาสัจจะชอบความจริงใจ
งั้นจะมาตั้งรกรากอยู่ได้อย่างไร
จนขึ้นชื่อลือชายิ่งกว่าไทยใหญ่
--------------------------------
เป็นศิลาจารึกครั้งสุโขทัย
ท่านต้องคิดสร้างสรรค์ไม่ต้องสงสัย
( สุเชษฐ์ ทับมี , สัมภาษณ์ )

แง่คิดในเรื่องการยกย่องความดีหรือผู้มีคุณธรรม เช่น

     อันว่าทรัพย์สินหนอว่าเงินทอง
ถ้าขยันหมั่นหาขายค้าพอควร
แต่เกียรติประวัติที่ดีสิ่งเหล่านี้หายาก
อันนี้เป็นของนอกกาย
จะทำนาทำสวนนั้นก็ล้วนทำได
ซื้อด้วยเงินคงลำบากไม่ได้จากหัวใจ
( ขวัญจิต ศรีประจันต์ , การแสดง )

ตัวอย่าง เช่น เพลงกล่อมเด็กภาคอีสานจะมีเนื้อหาที่กล่าวถึงอารมณ์ว้าเหว่ใน การแบกรับภาระครอบ ครัวของผู้เป็นแม่ และการถูกเหยียดหยามจากสังคมของแม่ม่ายแม่ร้างที่ปราศจากสามีคุ้มครอง เช่น

น้อนสาเด้อหล่า น้อนสาแม่สิกอม
แมสิไป๋เข็นฝ่าย เดี๋ยนหงายเอ๋าพอ
เอ๋าพอม้าเกียวหญ่า มุ้งหลังค้าให่เจ้ายู
ฝนสิฮ้ำอูแก้ว สิไป๋ซ่นยูไส
คั้นเพินได้กิ๋นชิ้น เจ้ากะเหลียวเบิงต๋า
คั้นเพินได้กิ๋นป๋า เจ้ากะสิเหลียวเบิงหน้า
มูพีน่องเฮี้ยนใก้เพิ่นกะซัง
(นอนเสียลูกน้อย นอนเสียแม่จะกล่อม)
(แม่จะไปปั่นฝ้าย เดือนหงายหาพ่อ)
(หาพ่อมาเกี่ยวหญ้า มุงหลังคาให้ลูกอยู่)
(ฝนจะรั่วรดอู่แก้ว จะไปซ่อนอยู่ไหน)
(เมื่อเขาได้กินเนื้อ ลูกก็เหลียวดูตา)
(เมื่อเขาได้กินปลา ลูกก็เหลียวดูหน้า)
(พวกพี่น้องเรือนใกล้เขาก็ชัง)
  ( ธิดา โมสิกรัตน์ ๒๕๒๘ : ๔๔๐ )

  จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า เพลงพื้นบ้านมีคุณค่าต่อสังคมส่วนรวมและประเทศชาติที่ปรากฏให้
้เห็นอย่างชัดเจน นอกจากมีคุณค่าให้ความบันเทิงที่มีอยู่เป็นหลักแล้ว ยังมีคุณค่าให้การศึกษาแก่คนใน สังคมทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม รวมทั้งมีคุณค่าในการเป็น ทางระบายความเก็บกดและการจรรโลงวัฒนธรรมของชาติ ตลอด จนมีคุณค่าในฐานะเป็นสื่อมวลชนที่ทำหน้าที่กระจายข่าวสาร และ วิพากษ์ วิจารณ์สังคม เพลงพื้นบ้านจึงมิใช่จะมีคุณค่าเฉพาะการสร้าง ความสนุกสนานเพลิดเพลินใจเท่านั้น แต่ยัง สร้างภูมิปัญญาให้แก่คน ไทยด้วย ในปัจจุบันเพลงพื้นบ้านมีบทบาทต่อสังคมน้อยลงทุกที เพราะมีสิ่งอื่นขึ้นมาทดแทนและทำหน้าที่ได้ดี กว่าเช่น มีสิ่งบันเทิง แบบใหม่มากมายให้ความบันเทิงมากกว่าเพลงกล่อมเด็ก หรือเพลง ประกอบการเล่น มีการศึกษาในระบบโรงเรียนเข้ามาทำหน้าที่ให้การ ศึกษา และควบคุมสังคมแทน และมีระบบเทคโนโลยี ทางการสื่อ สารและคมนาคมทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชนได้มีประสิทธิภาพยิ่งกว่า เพลงพื้นบ้านจึงนับวันจะยุติบทบาทลงทุกที เว้นเสียแต่เพลงพื้นบ้าน บางชนิดที่พัฒนารูปแบบและเนื้อหาให้เหมาะสมกับสังคม ปัจจุบัน เช่น เพลงอีแซว ในรูปแบบของเพลงลูกทุ่งซึ่งนักร้องหลายคนนำมา ร้อง เช่น เอกชัย ศรีวิชัย และ เสรี รุ่งสว่าง เป็นต้น ทำให้เพลงพื้นบ้านกลับมาเป็นที่นิยม และมีคุณค่าต่อ สังคมได้อีกต่อไป

         

 
Copyright © 2009 by Team FTD, Darunanukul Huathanon School