๑.๕ เป็นสื่อมวลชนชาวบ้าน ในอดีตชาวบ้านส่วนใหญ่มีปัญหาความยากจน ด้อยการศึกษาและอยู่ ห่างไกลความเจริญ สื่อมวลชนบางประเภท เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ ไม่สามารถเข้าถึงได้ ้ง่าย เพลงพื้นบ้านจึงมีบทบาทในการกระจายข่าวสาร และเสนอความคิดเห็นต่าง ๆ ดังที่ สุธิวงศ์ พงศ์ ไพบูลย์ กล่าวว่าสมัยก่อนยังไม่มีเครื่องมือสื่อสารมวลชน (mass media) ชาวบ้าน ใช้วัฒนธรรมพื้นบ้าน ประเภทที่ใช้ภาษา (verbal) และประเภทประสมประสาน (mixes) เป็นเครื่องสื่อ สารแทน ดังเช่นเพลง กล่อมเด็กภาคใต้ ให้ความรู้และความคิดในลักษณะการชี้แนะแนวทางหรือการ แสดงทรรศนะแก่มวลชน (mass) หรือชาวบ้าน(folk)
สุกัญญาภัทราชัยกล่าวถึงบทบาทประการหนึ่งของเพลงพื้น
บ้านว่าเป็นสื่อ มวลชนกระจายข่าวสารในสังคมจากชาวบ้าน
ไปสู่ชาวบ้าน และจากรัฐบาลไปยังประชาชน นอกจากนี้ เพลงพื้นบ้านยังแสดงถึงทรรศนะของชาวบ้านที่มีต่อเหตุ การณ์ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองด้วย
  ปัจจุบันสื่อมวลชนได้พัฒนาก้าวหน้าไปมาก สื่อมวลชน บางประเภท เช่น วิทยุโทรทัศน์ ทำหน้าที่กระ จายข่าวสาร
ได้มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าเพลงพื้นบ้านเพลงพื้นบ้านบางชนิด จึงลดบทบาทไปจากสังคมไทย แต่เพลงพื้นบ้านบางชนิด เช่น หมอลำ ลำตัด เพลงอีแซวและเพลงฉ่อย เป็นต้น ยังคง
มีบทบาทในฐานะ เป็นสื่อมวลชนชาวบ้านอยู่มากทั้งนี้เนื่อง
มาจากได้มีการพัฒนารูปแบบและเนื้อหาของเพลงให้มีลักษณะ เป็นการแสดงที่ทันยุคทันสมัยรวมทั้งการ พัฒนาความสามารถในการแสดงออกของศิลปินที่สามารถโน้มน้าวจิตใจผู้ฟังได้อย่างดี
  การทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชนของเพลงพื้นบ้านนั้นจะมี ๒ ลักษณะ ได้แก่ การกระจายข่าวสาร และการ วิพากษ์วิจารณ์สังคมในส่วนของ การกระจายข่าวสาร นั้นเพลงพื้นบ้านจะทำหน้าที่ในการกระจายข่าว สาร
ต่าง ๆ เช่น เพลงร่อยพรรษา ของกาญจนบุรี ทำหน้าที่บอกให้รู้ว่าถึงเทศกาลออกพรรษา เพลงบอก ของ
ภาคใต้และเพลงตรษของสุรินทร์ ทำหน้าที่บอกให้รู้ว่าถึงเทศกาลปีใหม่แล้วนอกจากนี้เพลงพื้นบ้าน ยัง เป็นเครื่องมือในการกระจายข่าวสารของผู้ปกครอง หรือผู้บริหารประเทศ เช่น หมอลำ กลอนลำ ปลูกผัก สวนครัว ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม หมอลำกลอนลำต่อต้านคอมมิวนิสต์ สรรเสริญสหรัฐ อเมริกา ในสมัยจอมพลสฤษฏิ์ ธนะรัชต์  
  นอกจากเพลงพื้นบ้านจะทำหน้าที่กระจายข่าวสารแล้ว ยังเป็น สื่อในการวิพากษ์วิจารณ์สังคมใน ด้าน ต่าง ๆ ได้แก่ เหตุการณ์และเรื่องราวของชาติ เช่น สถาบัน การเมือง   การปกครอง เศรษฐกิจ ปัญหา สังคม เป็นต้น
  ตามปกติเพลงพื้นบ้านส่วนใหญ่จะไม่ปรากฏการวิพากษ์วิจารณ์ผู้ปกครอง หรือแทรกสาระทางการเมือง ไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอิทธิพลของวัฒนธรรมและค่านิยมที่สั่งสมมาแต่อดีตให้ยอมรับการกระ ทำของผู้ปกครอง แต่เพลงพื้นบ้านบางชนิด เช่น เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เป็นต้น ในปัจจุบันมีการวิพากษ์ วิจารณ์สังคมอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอาจเกิดจากความเจริญก้าวหน้าของสังคม และระบบการเมืองการปก ครองที่ให้เสรีภาพแก่ประชาชน และสื่อมวลชนในการแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเปิดเผย ทั้งใน กลุ่มของตน ในที่สาธารณะ หรือโดยผ่านสื่อมวลชน ศิลปินพื้นบ้านจึงสามารถแสดงออกทางความคิดได้ โดยอิสระในฐานะที่เป็นประชาชน ของประเทศ นอกจากนี้เพลงพื้นบ้านยังเป็นสมบัติของส่วนรวม ที่สังคม รับผิดชอบร่วมกันผู้แต่งหรือผู้ร้อง จึงทำหน้าที่แสดงความคิดเห็นในฐานะที่เป็นตัวแทนของกลุ่มชนด้วย
ขอยกตัวอย่างเพลงพื้นบ้านที่มีเนื้อ หาวิพากษ์วิจารณ์สังคม ดังนี้
ลำตัดเรื่องประชาธิปไตย ของขวัญจิต ศรีประจันต์

 การแสดงพื้นบ้านหัวข้อขานเงื่อนไข
ความรู้สึกนึกไว้ว่าไม่ได้ของจริง 
ฉันเกิดมาช้านานอายุฉันสี่รอบ
รู้สึกยังหน่อมแน้มมอมแมมหมกเม็ด
-----------------------------------
สามัคคีสังฆัสสะคำพระท่านว่า
ไม่แก่งแย่งแข่งขันไม่ดื้อด้านมักได้
แต่คนเราไม่งั้นความต้องการมากเกิน
มีสติปัญญาเรียนจนตำราท่วมหัว
เจริญทางวัตถุแต่มาผุที่ใจ
----------------------------------
นักการเมืองปัจจุบันก็ผวนผันแปรพรรค
บางคนทำงานดีและไม่มีปัญหา
คนดีมีอุดมการณ์มักทำงานไม่ได้
กับประชาธิปไตยของเมืองไทยวันนี้
ยังร่อแร่รุ่งริ่งยังไม่นิ้งเต็มที่
เรื่องระบบระบอบและผิดชอบชั่วดี
แบบว่าหาประชาธิปไตยจนไหล่เคล็ดยังไม่สำเร็จสักที 
------------------------------------
ตัดโลภโมโทสาแล้วท่านว่าเย็นดี
ประชาธิปไตยก็เกิดได้ทันที
ยิ่งบ้านเรือนเจริญใจตื้นเขินขึ้นทุกที
แต่ความเห็นแก่ตัวความเมามัวมากมี
ประชาธิปไตยคงรอไปอีกร้อยปี
------------------------------------
พอเราจะรู้จักก็ย้ายพรรคเสียนี่
ไม่เลียแข้งเลียขาไม่ก้าวหน้าสักที
แต่พวกกะล่อนหลังลายได้ยิ่งใหญ่ทุกที...


         

 
Copyright © 2009 by Team FTD, Darunanukul Huathanon School