พัฒนาการของเพลงพื้นบ้าน

  อย่างไรก็ตามในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ อิทธิพลของ วัฒนธรรมและระบบทุนนิยมแบบตะวันตกทำให้เกิดสิ่งบัน เทิง แบบตะวันตกอย่างหลากหลาย เช่น เพลงไทยสากล เพลงรำวง เพลงลูกทุ่ง เป็นต้น เพลงพื้นบ้านจึงเริ่มหมด ความนิยมลงทีละน้อย ประกอบกับต้องเผชิญอุปสรรคใน สมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ออกพระราชกฤษฎี กากำหนดวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๔๘๕ ควบคุมการละ เล่นพื้นบ้านทำให้ขาดผู้เล่นและผู้สืบทอด  เพลงปฏิพากย์ ์จึงเสื่อมสูญลงในที่สุด
   เพลงพื้นบ้านต่าง ๆ เริ่มกลับฟื้นตัวอีกครั้งหนึ่งและกลาย เป็นของแปลกใหม่ที่ต้องอนุรักษ์และฟื้นฟูในช่วง ประมาณ
พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นต้นมา หน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชน รวมทั้งบุคคลที่สนใจได้พยายามส่งเสริมให้มีการ
ศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ รวมทั้งสนับสนุนให้เผยแพร่เพลงพื้นบ้านให้กว้างขวางขึ้น เพลงพื้นบ้านโดย เฉพาะเพลงปฏิพากย์จึงได้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งหนึ่ง แต่เป็นในลักษณะของงานแสดงเผยแพร่ มิใช่ใน ลักษณะของการฟื้นคืนชีวิตใหม่

พัฒนาการรูปแบบและหน้าที่ของเพลงพื้นบ้าน

 สุกัญญา ภัทราชัย กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและหน้าที่ของเพลงพื้น บ้านของไทยไว้ดังนี้

  • เพลงพื้นบ้านที่เป็นพิธีกรรม เพลงพื้นบ้านของไทยกลุ่มหนึ่งเป็นเพลงประกอบพิธีกรรมซึ่งมีบท บาทชัดเจนว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของพิธีกรรมนั้น ๆ ดังเช่น เพลงในงานศพและเพลงประกอบพิธีรักษาโรค นอก จากเพลงกลุ่มดัง กล่าว แล้วยังมีเพลงพื้นบ้านอีกกลุ่มหนึ่งที่แม้การแสดงออกในปัจจุบันจะเน้นเรื่องความ สนุก สนานรื่นเริง แต่เมื่อพินิจให้ลึกซึ้งจะพบว่ามีความสัมพันธ์กับความเชื่อและพิธีกรรมในอดีต และยัง เป็น ส่วนหนึ่งของพิธีกรรมนั้น ๆ ด้วย เพลงพื้นบ้านดังกล่าวได้แก่ เพลงปฏิพากย์ และเพลงประ กอบการละเล่น ของผู้ใหญ่ ที่ปรากฏในฤดูกาลเก็บเกี่ยวและเทศกาลตรุษสงกรานต์
    สังคมไทยแต่ดั้งเดิมชาวบ้านส่วนใหญ่ เป็นชาวนา ชาวไร่ มีวิถีชีวิตผูกพัน กับการทำมาหากินเกี่ยว เนื่องกับธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ ธัญญาหาร เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ในการยังชีพคน ไทยจึงได้สร้างพิธีกรรมเกี่ยวเนื่องกับความเจริญ งอกงามขึ้นเพื่อขอให้ ผีสาง เทวดา อำนวยสิ่งที่ ตนต้องการ หรือมิฉะนั้นก็สร้างแบบจำลองขึ้น เพื่อ บังคับ ให้ธรรมชาติเป็นไปตามที่ต้องการ เช่น สร้างนาจำลองเรียกว่า ตาแรกหรือตาแฮก
    ( ภาคอีสาน ) แล้วดำกล้า ลงในนา ๕-๖ กอเชื่อ ว่าถ้าบำรุงข้าวในนาแรกงอกงามข้าว ในนาทั้งหมด
    ก็งอกงามตามไปด้วยพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความเจริญงอกงามที่เห็นได้ชัดที่สุดได้แก่พิธีกรรมในฤดู
    กาลเก็บเกี่ยว และในเทศกาลตรุษสงกรานต์
  • เพลงพื้นบ้านในฤดูกาลเก็บเกี่ยว
    พิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเพาะปลูกที่สำคัญ อยู่ในช่วง
    ฤดูกาล เก็บเกี่ยวและก่อนเริ่มฤดูกาลเพาะปลูก ใน โอกาสดังกล่าวนี้้นอกจากจะปรากฏพิธีกรรมอยู่ทุก ขั้นตอนแล้วยังมีการเล่น เพลงพื้นบ้านด้วย
      ก่อนเริ่มฤดูกาลเพาะปลูกในแต่ละปี ชาวนาจะทำ พิธีสู่ ขวัญเครื่องมือเครื่องใช้ในการเพาะปลูก เช่น ควาย ไถ คราด เป็นต้น ซึ่งในพิธีกรรมนั้น ๆ จะมี การร้องบทสู่ขวัญ ซึ่งเป็นเพลงประกอบพิธี นอก จากนี้ถ้าฝนไม่ตกต้องตาม ฤดูีกาล ชาวนาจะจัด พิธีกรรมขอฝนขึ้นซึ่งจะทำกันทุกภาค ( ยกเว้นภาค ใต้ที่ไม่มีปัญหาเรื่องฝน) และทำกันด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นต้นว่า ชาวนาภาคกลางจะจัดพิธีแห่ นางแมวและพิธีปั้นเมฆ (ปั้นดินเหนียวเป็นรูปอวัยวะเพศชาย หรือปั้นหุ่นรูปคนชายหญิงสมสู่กัน) โดยมีเพลงแห่นางแมวและเพลงปั้นเมฆร้อง ประกอบ ชาวนาภาคเหนือและภาคอีสานจะจัดพิธี แห่นางแมวและแห่บั้งไฟโดยมีเซิ้งแห่นางแมว และเซิ้งแห่บั้งไฟเป็นเพลงประกอบพิธี เมื่อได้จัด พิธีกรรมเหล่านี้ขึ้นชาวบ้านจะอบอุ่นใจ เชื่อว่าฝนจะตกลงมาข้าว ในนาก็จะงอกงาม เมื่อถึงฤดู กาลเก็บเกี่ยวพืชผล ชาวนาจะจัดพิธีกรรมสู่ขวัญข้าวสู่ขวัญลาน และสู่ขวัญยุ้งเพื่อขอบคุผีสาง เทวดาที่ให้ผลผลิต ในขณะเดียวกันก็ปัดรังควานผีร้าย ที่จะทำให้ผลผลิตที่ได้ เสียหาย นอกจาก
    นี้ภาค กลางยังมีการร้องเล่นเพลงเต้นกำรำเคียว เพลงร้อยชั่ง และเพลงเกี่ยวข้าว เป็นการร้องรำ เพื่อเฉลิม ฉลอง ผลผลิตที่ได้ ดังนั้นเพลงปฏิพากย์ที่ร้องในฤดูกาลเก็บเกี่ยวในแง่หนึ่งเป็นการ ร้อง เพื่อความสนุก เพลิด เพลิน แต่อีกแง่หนึ่งก็เป็นการร้อง เพื่อเฉลิมฉลองความอุดมสมบูรณ์ ของพืชพันธุ์ธัญญาหารเกี่ยว และใน เทศกาลตรุษสงกรานต์

                 

 
Copyright © 2009 by Team FTD, Darunanukul Huathanon School