โวหาร
สำหรับวรรณคดีทั้งร้อยกรองและร้อยแก้วได้แบ่งโวหารออกเป็น
5 ประเภท คือ
๑.
อุปมาโวหาร คือ การใช้ข้อความเปรียบเทียบให้เห็นภาพพจน์โดยใช้คำ
เช่น ดัง เหมือน
เช่น ดุจ คล้าย เป็นต้น
ตัวอย่าง
“
ปางพี่มาดสมานสุมาลย์สมร
ดังหมายดวงหมายเดือนดารากร
อันลอยพื้นอำพรพโยมพราย
“
(
เพลงยาว โดยเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ )
๒.
บรรยายโวหาร คือ การอธิบายเหตุการณ์ตามลำดับอย่างชัดเจน
( ความหมาย เหมือนธรรมเนียมตะวันตก
)
ตัวอย่าง …การบรรยายเกาะแก้วพิศดารในเรื่องพระอภัยมณี
“
อันเกาะแก้วพิศดารสถานนี้ โภชนาสาลีก็มีถม
แต่คราวหลัวครั้งสมุทรโคดม มาสร้างสมสิกขาสมาทาน
เธอทำไร่ไว้ที่ริมภูเขาหลวง ครั้นแตกรวงออกมาเล่าเป็นข้าวสาร
ได้สืบพืชยืดอยู่แต่บูราณ คิดอ่านเอาเดียวมาเหลียวไป
(
สุนทรภู่ )
๓.
พรรณนาโวหาร คือ การให้รายละเอียดอย่างลึกซึ้งให้เห็นภาพ
( ความหมายเหมือน ของธรรมเนียมตะวันตก )
ตัวอย่าง
“
ชั่วเหยี่ยวกระหยับปีกกลางเปลวแดด
ร้อนที่แผดก็ผ่อนเพลาพระเวหา
พอใบไหวพลิกริกริกมา
ก็รู้ว่าวันนี้มีลมวก
เพียงกระเพื่อมเลื่อมรับวับวับไหว
ก็รู้ว่าน้ำใสใช่กระจก
เพียงแววตาคู่นั้นหวั่นสะทก
ก็รู้ว่าในอกมีหัวใจ
“
(
เพียงความเคลื่อนไหว ของเนาวรัตน์ พงศ์ไพบูลย์
)
๔.
เทศนาโวหาร คือ การชี้แจงสั่งสอนประกอบด้วยเหตุผลสัจธรรมเพื่อโน้มน้าวใจผู้อ่าน
ผู้ฟัง
ตัวอย่าง …โยคีสอนสุดสาครในเรื่องพระอภัยมณี
“
บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา
เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ประคองพาขึ้นไปจนบนบรรพต
แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
อันเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
“
(
สุนทรภู่ )
๕.
สาธกโวหาร คือ การยกตัวอย่างประกอบ
หรือกล่าวอ้างอิงในข้อความที่ผู้เขียนรจนา อาจเป็นการกล่าวพาดพิงก็ได้
ด้วยคำที่ยกมาเป็นหลักธรรม ภาษิต คำพังเพยหรือตำนาน
นิทานเป็นต้น
ตัวอย่าง
…โยคีเทศนาทหารทัพลังกาและเมืองผลึกในเรื่องพระอภัยมณี
“
คือรูปรสกลิ่นเสียงไม่เที่ยงแท้ ย่อมเฒ่าแก่เกิดโรคโศกสงสาร
ความตายหนึ่งพึงเห็นเป็นประธาน หวังนิพพานพ้นทุกข์สุขสบาย
ซึ่งบ้านเมืองเคืองเข็ญถึงเช่นนี้ เพราะโลกีย์ตัณหาพาฉิบหาย
อันศีลห้าว่าอย่าทำให้จำตาย จะตกอบายภูมิขุมนรก
(
สุนทรภู่ )
|