การเปรีบยเทียบแบบอุปลักษณ์
(Metaphone)
การเปรียบเทียบแบบอุปลักษณ์
เป็นการเปรียบเทียบที่ลึกซึ้งกว่าอุปมา เพราะเป็นการนำลักษณะ
อาการ ของสิ่งหนึ่งโอนไปใช้กับอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่เหมือนกันเลย
การเปรียบเทียบแบบอุปลักษณ์นั้นเป็นการนำ
“คุณสมบัติ” ของสิ่งของมาเปรียบเทียบกัน มิใช่การดู
“คุณลักษณ์” อุปลักษณ์อาจเปรียบเทียบโดยไม่มีตัวเชื่อม
หากมีก็จะใช้คำว่า “เป็น เท่า คือ”
มาเชื่อมโยง
ตัวอย่าง
ณ
ราตรี เพ็ญ ๑๕ ค่ำแห่งเดือนวิสาขปุณณมี
กว่ายี่สิบห้าศตวรรษมาแล้ว ดวงประทีปแห่งโลกได้ดับลง
รัศมีแห่งดวงประทีปนั้นยังคงฉายแสงอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้และยังจะเป็นเช่นนี้อยู่ต่อไปอีกนานเท่านาน
วลี
ดวงประทีปแห่งโลกเป็นการเปรียบเทียบโดรปริยาย
หมายถึง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
กล่าวคือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระปัญญาคุณ
ประดุจแสงสว่างส่องทางแก่ชาวโลก
อุปลักษณ์
จากเรื่อง มัทนะพาธา ที่กล่าวเปรียบเทียบความรู้สึกของท้าวชัยเสนขณะรู้ความจริงว่านางมัทนากับศุภางค์มิได้ลักลอบเป็นชู้กัน
แต่เป็นอุบายของนางจัณฑี แต่ก็สายไปเสียแล้วเพราะพระองค์สั่งประหารชีวิตบุคคลทั้งสองแล้ว
ท้าวชัยเสนจึงรู้สึกว่าพระองค์มือมนเปรียบได้กับบ้านเรือนที่มืด
เพราะพระองค์ได้ทำลายตะเกียงนั้นแล้ว อย่างไม่สมควรทำเลย
ตะเกียงวินาศแล้ว คะหะมืดสิจึ่งหวล
คะนึงว่าไม่ควร จะทะลายประทีปนั้น
(พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)
อุปลักษณ์จากเรื่อง
อิลราชคำฉันท์ ที่กล่าวเปรียบเทียบบ้านเมืองที่ขาดกษัตริย์ปกครองกับป่าที่ไร้พยัคฆ์
คือป่าผิไร้คณะพยัคฆ์ จะพำนักอะไรตรอง
นาวาจะคลาชล
ณ คลอง ขณะแล้งจะลอยไฉน
ปราสาทพิลาสรตนปลอด พิศยอดสิหายไป
ไพชยนต์
บ ยลธุชพิชัย ฤจะเงื้อมสงางาม
(พระยาศรีสุนทรโวหาร
(ผัน สาลักษณ์))
|