สัญล้กษณ์
เป็นการนำสิ่งที่เป็นรูปธรรมมาแทนสิ่งที่เป็นนามธรรมหรืออาจกล่าวให้เข้าใจโดยง่ายคือ
เป็นการอธิบายความหมาย ของ
“ สิ่งหนึ่ง “ โดยต้องตีความ หรือต้องนำสิ่งอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงหรือเหมือนกันมาเปรียบ
เพื่อให้เข้าใจคุณสมบัติ ของสิ่งนั้นอย่างถูกต้อง
สัญลักษณ์จึงต้องมีการ “ ตีความ “ และมักจะใช้ในบทอัศจรรย์
เพื่อหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงสิ่งที่มิพึงเปิดเผย
เกี่ยวกับเรื่องของเพศสัมพันธ์
ตัวอย่าง
สัญลักษณ์ใน
ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วได้เป็นขุนแผนและขุนช้างได้นางวันทอง
ขุนแผนได้กล่าววาจา ดูถูกวันทอง โดยใช้สัญลักษณ์ว่า
“ ทับทิม พลอยหุง กา และ หงส์
“ มาเปรียบกับวันทองเพื่อแสดงให้เห็นว่า
ขุนแผนเคยเข้าใจผิด ว่าวันทองเป็นผู้หญิงมีคุณค่าเปรียบได้กับ
ทับทิมและ หงส์ แต่ที่จริงแล้วนางควรเปรียบกับ
พลอยหุงหรือกาเสียมากกว่า
เมื่อแรกเชื่อว่าทับทิมแท้ มาแปรเป็นเป็นพลอยหุงไปเสียได้
กาลวงว่าหงส์ให้ปลงใจ ด้วยมิได้ดูหงอนแต่ก่อนมา
สัญลักษณ์ใน
โคลงนิราศนรินทร์ เป็นบทอัศจรรย์ที่ใช้คำว่า
“ ภุชเคนทร สระสวรรค์ “ มาเป็น สัญลักษณ์ระหว่างชายและหญิง
คิดถึงสาโรชสร้อย เสาวมาลย์
แม่นา
ภุชเคนทรสำราญ แหล่งล้น
สระสวรรค์นิราศสนาน ไฉนนาฏ
เรียมเอย
สรงเกษมสระสมรเฟ้น ฝั่งฟ้าฝันถึง
(
นายนรินทร์ธิเบศร์ ( อิน ) )
สัญลักษณ์ใน ลำนำภูกระดึง
ที่ใช้คำว่า “ ดอกหญ้า ตะกั่ว เหล็ก
“ แทนคนต้อยต่ำ หรือคนยากจน และใช้คำว่า
“ สวรรค์ ทองคำ “ แทนคนสูงศักดิ์หรือคนรวย
ดังความว่า
เหยียบย่ำทำไมดอกหญ้านั้น สวรรค์ประดับหล้าค่าเลิศล้ำ
สรรเสริญเยินยอแต่ทองคำ ตะกั่วดำและเหล็กน้อยใจ
|