การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ
(Onomatopoeia)
การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ
มีส่วนช่วยให้บทร้อยกรองไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง
การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติใน
นิราศเมืองเพชร นอกจากจะทำให้ได้ยินเสียงแล้วยังเห็นภาพคนที่ตบยุง
ซึ่งมารุมกัดจนเกิดเสียงดัง ดังความว่า
ทั้งยุงชุมรุมกัดปัดเปรียะประ เสียงผัวะผะพึ่บพั่บปุบปับแปะ
(พระยาสุนทรโวหาร
(ภู่))
การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติใน
พระอภัยมณี ทำให้ได้ยินเสียงปี่ที่ไพเราะดังความว่า
ต้อยตะริดติ๊ดตี่เจ้าพี่เอ๋ย จะละเลยเร่ร่อนไปนอนไหน
แอ้อี๋อ่อยสร้อยฟ้าสุมาลัย แม้นเด็ดได้แล้วไม่ร้างให้ห่างเชย
(พระยาสุนทรโวหาร
ภู่))
การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติใน
นิราศพระบาท ที่ให้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงที่เกิดขึ้นพร้อมๆกัน
บ้างขึ้นบนขนส่งคนข้างล่าง เสียงโฉ่งฉ่างชามแตกกระแทกขัน
จนคนบนสัปคับรับไม่ทัน หม้อข้าวขันตกแตกกระจายราย
ย่ามกระสอบกรอบแกรบกระไกรกริก กลักพริกพลิกแพลงตะแคงหงาย
(พระยาสุนทรโวหาร
(ภู่))
การใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติใน
บทกวีบางขุนพรหม ที่มีข้อความว่า
ระทึกท้นโทนทับฉิ่งฉับฉิ่ง ติงทั่งติง
ติงทั่งติง ทั่งติงทั่ง
เจ้าพลายงามศรีมาลาไม่มาฟัง เพลงก็พรากจากวังบางขุนพรหม
(เนาวรัตน์
พงไพบูลย์)
|