การประเมินน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง

การประเมินน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง (นิยมใช้กับผู้ใหญ่ อายุเกิน 20 ปี) เป็นการเปรียบเทียบน้ำหนักกับส่วนสูง ว่าคนที่มีส่วนสูงในระดับต่างๆ ควรจะมีน้ำหนักเท่าใดจึงจะเหมาะสม ไม่เป็นคนผอมหรืออ้วนเกินไป ซึ่งวิธีนี้ทำได้โดยการนำส่วนสูง (หน่วยเป็นเซนติเมตร) ลบด้วยเลขมาตรฐานสากล 105 (สำหรับคนไทยนิยมใช้ 110) แล้วนำผลลัพธ์มาเปรียบเทียบกับน้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) โดยใช้เกณฑ์อนุโลมคือ +10 หรือ -10 ในการตัดสินว่าปรกติ อ้วนหรือผอม

ตัวอย่างเช่น นางสาว วิว สูง 155 เซนติเมตร หนัก 58 กิโลกรัม จะพบว่าน้ำหนักของ นางสาว วิว ที่ควรเป็นคือ 155-110 = 45 กิโลกรัม (หาค่าอนุโลมโดยการบวก 10 และลบ 10) ดังนั้น นางสาว วิว ควรมีน้ำหนักระหว่าง 35 - 55 กิโลกรัม แต่ปรากฏว่านางสาว วิว มีน้ำหนัก 58 กิโลกรัม แสดงว่าเป็นคนอ้วน

ในวงการแพทย์นิยมใช้ค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index : BMI) ในการประเมินมากกว่า โดยมีสูตรจำนวน ดังนี้

ตัวอย่าง

น้ำหนักตัว(กิโลกรัม)

BMI = --------------------

ส่วนสูง (เมตร)

และมีเกณฑ์การเปรียบเทียบดังนี้

ค่าที่ได้ น้อยกว่า 18.5     แสดงว่า ผอม

ระหว่าง 18.5-24.9         แสดงว่า ปรกติ

ระหว่าง 25.0-29.9         แสดงว่า น้ำหนักเกิน

ระหว่าง 30.0-39.9         แสดงว่า อ้วน

มากว่า 40                   แสดงว่า อันตราย

ตัวอย่างเช่น นายชุด สูง 160 เซนติเมตร น้ำหนัก 67 กิโลกรัม ค่า BMI ของนายชุด จะเท่ากับ

BMI = = 26.17

แสดงว่า นายชุดมีน้ำหนักอยู่ในระดับที่เกินกว่าปกติ แต่ยังไม่ถึงระดับอ้วน