การประเมินภาวะการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์

การประเมินภาวะการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์นั้น ที่สามารถ เห็นได้อย่างชัดเจนคือ การประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางด้านร่างกาย โดยการประเมินที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ การประเมินน้ำหนักตัวและความยาวหรือส่วนสูง เนื่องจากเป็นวิธีการที่ทำได้อย่างรวดเร็ว ง่าย ไม่ต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญในการวัดมากนัก และยังสามารถทำการประเมินกับบุคคลจำนวนมากด้วย โดยผลที่ได้จากการวัดจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับมาตรฐาน เพื่อระบุว่าบุคคลนั้นมีการเติบโตและพัฒนาการเป็นเช่นไร สอดคล้องกับบุคคลส่วนใหญ่หรือไม่ อย่าสงไร ดังนั้น วิธีการวัดจึงต้องมีความถูกต้องแม่นยำ เพื่อจะได้ประเมินได้ไม่ผิดพลาด

1.1 การชั่งน้ำหนักตัว

 


ในการชั่งน้ำหนักตัวนั้น ผู้ใช้ควรตรวจสอบเครื่องชั่งให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก่อน (ปรับเครื่องชั่งให้เริ่มที่เลข 0 ก่อนเสมอ) และเนื่องจากเครื่องชั่งนั้นมีหลายชนิด จึงต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม โดยเครื่องชั่งที่ดีควรมีความละเอียดถึง 0.1 กิโลกรัม และก่อนชั่งน้ำหนักไม่ควรรับประทานอาหารจนอิ่ม ถอดเสื้อผ้าที่หนาๆ เหลือเท่าที่จำเป็น รวมทั้งถอดรองเท้า และเอาของเล่นต่างๆ ออกก่อนที่จะชั่งด้วย

1.2 การวัดความยาวหรือส่วนสูง



ทารกหรือเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ จะต้องใช้วิธีการวัดความยาวในท่านอน โดยให้เด็กอยู่ในท่าที่ขาและเข่าเหยียดตรง ส่วนศีรษะชิดกับไม้วัด และใช้วิธีเลื่อนไม้วัดส่วนที่ใกล้เท้าเข้ามาชิดกับปรายเท้า ในขณะที่เด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป ผู้ถูกวัดจะต้องถอดรองเท้า ยืนบนพื้นราบ เท้าชิด ยืดตัวตรงส่วนของส้นเท้า หลัง ก้น ไหล่ ศีรษะ สัมผัสไม้วัด ตามองตรงไปข้างหน้า และเลื่อนไม้วัดให้สัมผัสกับศีรษะพอดี โดยควรอ่านให้ละเอียดถึง 0.1