โรคไวรัสตับอักเสบ เอ

  

HomeAbout  Myselfโรคสตรีโรคไม่ติดต่อโรคติดต่อสุขอนามัยการลดน้ำหนัก

momo_ducky@hotmail.com,pla_bubble@hotmail.com

โรคไวรัสตับอักเสบ เอ

        เป็นโรคที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ซึ่งในสมัยก่อนมักพบค่อนข้างสูงในเด็กอายุระหว่าง 5-14 ปี โดยเด็กที่ป่วยมักไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง แต่ทำให้เกิดการสร้างภูมิคุมกันต่อโรคเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ แต่ปัจจุบัน การสาธารณะสุขดีขึ้นจำนวนเด็กที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบเอมีน้อยลง ส่งผลให้เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้ ซึ่งผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบเอ จะมีอาการรุนแรงกว่าผู้ป่วยเด็กอย่างเห็นได้ชัด

อาหารไม่สะอาด อาจเป็นสาเหตุของโรคไวรัสตับอับเสบเอ

ติดต่อกันได้ทางอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ   โดยผู้ป่วยจะขับถ่ายเชื้อออกมากับอุจจาระ  ซึ่งถ้าไม่ถ่ายในส้วม ไม่ล้างมือให้สะอาดก่อนที่จะไปสัมผัส หรือปรุงอาหารก็จะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อได้อย่างรวดเร็ว

        โรคไวรัสตับอักเสบ เอ เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายมาก โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีตนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เช่น สถานรับเลี้ยงเด็กที่มีสุขอนามัยไม่ดี โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนเด็กเล็กโรงเรียนประถม โรงอาหาร เป็นต้น นอกจากนั้นกลุ่มคนที่มีโอกาสรับเชื้อ หรือมีโอกาสเสี่ยงสูง ที่จะเป็นพาหะของโรคก็คือ เด็กๆที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายยังไม่ดีพอ พ่อครัว แม่ครัว กลุ่มผู้ประกอบอาหาร พนักงานรักษาความสะอาด พนักงานเก็บขยะ หรือผู้ใหญ่ทั่วไปที่ไม่เคยไปรับเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ มาก่อน ดังนั้นจึงยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้

โรคไวรัสตับอักเสบ เอ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย

ผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีอาการประมาณ 15-50 วัน หลังได้รับเชื้อ อาการของโรคตับอักเสบจะคล้ายคลึงกันไม่ว่าจะเกิดจากไวรัสตับอักเสบ เอ หรือ บี โดยในระยะ 3-7 วันแรกจะมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บที่ใต้ชายโครงขวา ต่อจากนั้นจะมีปัสสาวะสีเข้มเหมือนสีชา บางคนอาจมีอุจจาระสีเหลืองซีดลง ไข้เริ่มลดลง ผู้ป่วยหยุดอาเจียนและเริ่มอยากอาหาร ในขณะเดียวกับที่สังเกตเห็นว่ามีตัวเหลืองตาเหลือง(ดีซ่าน)เกิดขึ้น อาการนี้จะเป็นอยู่ราว 1-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติในเวลาไม่เกิน 1-2 เดือนมีบางรายที่อาจมีดีซ่านรวมกับอุจจาระสีเหลืองซีด แต่ในที่สุดจะหายเป็นปกติไม่มีผู้ใดเป็นเรื้อรัง

        การพักผ่อนคือการรักษาที่ดีที่สุด

การป้องกัน

1. การรักษาอนามัยที่ดี

2. ขับถ่ายในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ

3. ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับอาหาร

4. ควรเลือกรับประทานอาหารที่สุก สะอาด ไม่มีแมลงวันตอม

5. หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของเครื่องใช้กับผู้ป่วย

        การป้องกันที่ดีที่สุด และได้ผลดี คือการฉีดวัคซีน

 

คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่

ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2545
www.thaigoodview.com
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail :
webmaster@thaigoodview.com
ICQ : 82032264

Copyright(c) 2002 Miss Warunee,Miss Watcharaporn. All rights reserved.