ผิวหนังเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของร่างกาย โดยคิดเป็น น้ำหนักประมาณ 16% ของน้ำหนักตัวและ มีพื้นที่ผิว
เท่ากับ 2 x 2 เมตร (4 ตารางเมตร) มีเซลล์ 19 ล้าน เซลล์ 19,000 เซลล์ประสาทรับสัมผัส มีลักษณะแตกต่างกันตาม
แต่ละส่วนของร่างกาย ทั้งในโครงสร้าง ความหนา และสีผิว ผิวหนังตรงบริเวณที่ต่อเนื่องกับ mucous membrane เรียกว่า
mucocutaneous junctions เช่น บริเวณริมฝีปากต่อเนื่องกับ เยื่อบุช่องปาก (oral mucosa) บริเวณเปลือกตาที่ต่อเนื่องกับ
เยื่อบุตาขาว (conjunctiva) บริเวณรูจมูกที่ต่อเนื่องกับเยื่อ บุโพรงจมูก (nasal mucosa) บริเวณแคมเล็กที่ต่อเนื่อง
กับเยื่อบุช่องคลอด
(vaginal mucosa) บริเวณปลายอวัยวะเพศชาย ที่ต่อเนื่องกับเยื่อบุท่อปัสสาวะ (prepuce) และบริเวณทวารหนัก (anus) ที่ต่อเนื่องกับเยื่อบุลำไส้ใหญ่ (rectal mucosa) เป็นต้น
โครงสร้างผิวหนัง แบ่งออกเป็น 3 ชั้น
ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) มี 6 ชั้น : เซลล์สร้างเม็ดสีอยู่ในชั้นฐาน
ชั้นหนังแท้ (Dermis) : มีเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน คอลลาเจน อิลาสติน ต่อมไขมัน เซลล์รากขนขนาดเล็ก เส้นเลือดฝอย
สารพื้นฐาน เช่น กรดไฮยาลูโรนิก คอนโดรอิติน ซัลเฟต มิวโคโพลีแซคคาไรด์
ชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous) : ชั้นไขมัน เส้นเลือด เซลล์รากขนขนาดใหญ่ ต่อมเหงื่อ
หน้าที่ของชั้นใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Layer) ให้อาหารเซลล์ผิว ขับถ่ายของเสีย ผ่านทางเส้นเลือดฝอย และ
ต่อมเหงื่อ ปรับอุณหภูมิ ผ่านทางต่อมเหงื่อ
หน้าที่ของชั้นหนังแท้ (Dermis) ให้อาหารเซลล์ผิวชั้นบน ดูดซึมอาหารบำรุงผิว ครีมบำรุงผิว ต่อมไขมัน ผลิต Sebum เพื่อหล่อลื่น และ ปกป้องผิว ผลิตสารที่เป็นกรด เพื่อปกป้องผิวจากสิ่งแวดล้อมภายนอก
หน้าที่ของชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) ปลายประสาทจำนวนมากมาย ทำให้ผิวหนังสามารถรับสัมผัส และ ความรู้สึกร้อน หนาว เจ็บปวด พอใจ แสดงอารมณ์ได้ โดยการเปลี่ยนสี เช่น ซีด หรือ แดง ปกป้องผิวหนังชั้นหนังแท้ โดยการผลิตเม็ดสี
หรือ สร้างเซลล์ที่มีความแข็งพวก Hard Keratin ปกป้องเนื้อเยื่อที่อ่อน เช่น เล็บ และ มีคุณสมบัติกันน้ำ ป้องกันร่างกายขาดน้ำ
 |