ตาและการมองเห็น

     โครงสร้างของตาประกอบด้วยลูกตา ( eyeball) ซึ่งตั้งอยู่ในกระบอกตา ( bony orbit) มีหนังตาทำหน้าที่ป้องกันลูกตา
มีต่อมสร้างน้ำหล่อเลี้ยงกระจกตา ( cornea) และป้องกันแบคทีเรียขนตา ( eyelashes) ทำหน้าที่ป้องกันฝุ่นละออง ขนคิ้ว
( eyebrows) ทำหน้าที่ป้องกันเหงื่อและแสงจ้าเกินไป

     โครงสร้างของผนังลูกตาประกอบ ด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ ชั้นนอก ( supporting layer) ชั้นกลาง ( vascular layer)
และชั้นในสุด ( retinal layer)

                                                    

     1. ชั้นนอกประกอบด้วยสเกลอรา ( sclera) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีลักษณะทึบแสงและมีสีขาว
มีหน้าที่ทำให้ลูกตาคงรูปร่างอยู่ได้ และป้องกันชั้นที่อยู่ด้านใน มีช่องให้เส้นประสาทออปติก ( optic nerve)
ผ่านเข้าไปได้ส่วนด้านหน้าเป็นกระจกตา ลักษณะใสโปร่งแสง

     2. ชั้นกลางประกอบด้วยคอรอยด์ ( choroid) มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมากมายและมีชั้นรงควัตถุ ( pigmented layer)
ทำหน้าที่ดูดแสงที่ผ่านมาจากเรตินา เพื่อป้องกันการสะท้อนกลับ ของแสงเข้าสู่เรตินาซึ่งจะทำให้ภาพไม่ชัด
ส่วนที่อยู่ด้านหน้าจะหนาตัวขึ้นเรียกซิลิอะรีบอดี้ ( ciliary body) ซึ่งจะผลิตของเหลวเรียก เอเควียสฮิวเมอร์( aqueous humer)
เข้าไปอยู่ในช่องว่างของลูกตาด้านหน้าเลนส์ ( lens) คือแอนทีเรียแชมเบอร์ ( anterior chamber)
บริเวณด้านหน้าเลนส์จะมีไอริสไดอะแฟลม ( iris diaphragm) ควบคุมปริมาณแสงที่จะ เข้าสู่ตา ตรงกลางของ
ไอริสไดอะแฟลม จะเป็นรูม่านตา ( pupil)

TOP

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 































UP

ผู้จัดทำ
นางณุชรี   อ่อนน้ำคำ   ครูที่ปรึกษา
1.นายทีปกร   กล้าเดช  2.นายวชิรวิทย์   ชมภูเทพ   3.นางสาววัชรี   เคสะนอก
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์