ลิ้นและการชิมรส

      ที่ผิวลิ้นจะพบปุ่มรับรส (papillae) 3 ชนิด คือ ฟังจิฟอร์มแพพิลลี (fungiform papillae) พบบริเวณใกล้ๆปลายลิ้น ฟิลิฟอร์มแพพิลลี (filiform papillae) พบบริเวณค่อนมาทางด้านหน้าของลิ้น และ แวลเลตแพพิลลี (vallate papillae) จะเรียงตัวเป็นรูปตัววีตรงใกล้ๆโคนลิ้น
และที่บริเวณปุ่มรับรสจะพบตุ่มรับรส (taste bud) ยกเว้นที่ ฟิลิฟอร์มแพพิลลี โครงสร้างของตุ่มรับรสแต่ละอันประกอบด้วยเซลล์รับรส
(taste cells หรือ gustatory cells)ประมาณ 25 เซลล์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากเยื่อบุผิว อยู่กันเป็นกลุ่มและมีเซลล์ค้ำจุน(sustentacular cells)
ทำหน้าที่สร้างเซลล์รับรสใหม่แทนเซลล์เดิมที่ถูกทำลายไป และมีขนรับ รส (taste hair)ยื่นออกไปตรงช่องของตุ่มรับรส (taste pore)
เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการรับสารเคมี บริเวณฐานของตุ่มรับรสจะมีใยประสาท (nerve fibers) แทรกตัวอยู่ระหว่างเซลล์ ตุ่มรับรส บนลิ้น
จะทำหน้าที่รับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากสารเคมี ซึ่งทำให้เกิดรส 4 ประเภท คือ รส เปรี้ยว (sour) รสหวาน (sweet) รสเค็ม (salty)
และรสขม (bitter) เมื่อมีสารเคมีมากระตุ้นขนรับรสจะเกิดกระแสประสาทจากลิ้น ไปตามเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (facial nerve) คู่ที่ 9
(glossopharyngeal nerve) และคู่ที่ 10 (vagus nerve) และไปสิ้นสุดที่เมดัลลา และมีปลายของแอกซอนไปที่สมองส่วนทาลามัส
และศูนย์รับรู้เกี่ยวกับรสที่พาไรเอทัลโลป (parietal lobe) ของเซรีบรัลคอร์เทกซ์


    
            


TOP

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
















UP

ผู้จัดทำ
นางณุชรี   อ่อนน้ำคำ   ครูที่ปรึกษา
1.นายทีปกร   กล้าเดช  2.นายวชิรวิทย์   ชมภูเทพ   3.นางสาววัชรี   เคสะนอก
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์