- หากร่างกายขาดโรดอปซินจะทำให้ประสิทธิภาพของการมองเห็นด้อยลง แต่หากพักสายตาบ้าง เช่น หลับตาสักครู่
          หรือใช้สายตาให้น้อยลง หรือได้รับวิตามินเออย่างเพียงพอ ก็จะสามารถสร้างเรตินินขึ้นใหม่ได้

     - เซลล์รูปกรวย แบ่งเป็น 3 พวก คือ เซลล์รูปกรวยรับแสง สีแดง น้ำเงิน และเขียว แต่ที่แยกสีได้หลายสี
          เพราะว่ามีการกระตุ้นเซลล์รูปกรวยแต่ละชนิดพร้อมกันหลายเซลล์

     - หากเซลล์รูปกรวยสีใดสีหนึ่งพิการทำงานไม่ได้จะเกิดอาการ ตาบอดสี ที่พบมากที่สุด คือ ตาบอดสีแดงและสีเขียว
          นอกจากนั้นยังมีตาบอดสีแบบอื่นๆ ได้ เช่น ตาบอดสีแบบบอกไม่ได้เลยว่า สีอะไร แยกสีอื่นไม่ได้
          นอกจากสีขาวและสีดำเท่านั้น

     - ตาบอดสี จะพบพบในชายมากกว่าหญิง 10 เท่า (ในชาย 1:20 ในหญิง 1:200)

     - สาเหตุของตาบอดสี ยังไม่ทราบแน่ชัด ตาบอดสีทางพันธุกรรมนั้นจะเป็นตั้งแต่กำเนิดเพราะขาดเซลล์รูปกรวย
          ชนิดหนึ่งไป บางครั้งอาจมีสาเหตุจากความบกพร่อง หรือความผิดปกต ิที่เกิดกับเรตินา หรือประสาทตา
          แต่พบไม่บ่อยนัก มักเกิดควบคู่ไปกับอาการที่สายตาค่อยๆ เสื่อมลงไป ส่วนตาบอดสีทางพันธุกรรมนั้น
          สายตายังคงเป็นปกติ

     - จุดบอด ( blind spot) คือ จุดที่เรตินาบริเวณหนึ่งที่มีใยประสาทตาออกจากนัยน์ตาเพื่อรวมเป็นเส้นประสาทตา
           บริเวณนี้ไม่มีเซลล์รับแสงอยู่เลย จึงมองไม่เห็นที่จุดนั้น

                                      
                    

 

TOP

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



















UP

ผู้จัดทำ
นางณุชรี   อ่อนน้ำคำ   ครูที่ปรึกษา
1.นายทีปกร   กล้าเดช  2.นายวชิรวิทย์   ชมภูเทพ   3.นางสาววัชรี   เคสะนอก
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์