5. เวลาจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษนุ่มๆ ปิดปากไว้ อย่าใช้มือบีบหรืออุดจมูกไว้จนแน่น

     6. เวลาสั่งน้ำมูกให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษนุ่มๆ รอไว้ที่จมูก แล้วค่อยๆสั่งน้ำมูก โดยสั่งพร้อมกันทั้งสองข้าง ไม่ควรใช้มือบีบจมูกแล้วจึงสั่งน้ำมูก

    7. เมือต้องการดมกลิ่นของบางอย่าง เพื่อที่จะทราบว่าเป็นอะไร อย่าใช้จมูกจ่อจนใกล้แล้วสูดหายใจ เพราะอาจเป็นอันตรายได้ เช่น การสูดดมสารเคมีบางชนิด ฉะนั้นจึงควรให้ จมูกอยู่ห่างของนั้นพอประมาณ แล้วใช้มือโบกให้กลิ่นโชยเข้าจมูก โดยสูดกลิ่นเพียงเล็กน้อย

    8. เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นที่จมูก เช่น คัดจมูก เลือดกำเดาไหล ปวดจมูกหรืออื่นๆ ควรไปให้แพทย์ตรวจรักษา

          รีเซปเตอร์ที่จมูกจะรับรู้เกี่ยวกับสารเคมี โดยตรงบริเวณเยื่อบุผิวภายในช่องจมูก (olfactory epithelium) จะประกอบด้วยเซลล์ 3 ชนิด คือ เซลล์รับกลิ่น (olfactory receptor cells) ซึ่ง เป็นเซลล์ประสาทสองขั้วเซลล์ซัสเทนตะคูลาร์ (sustentacular cells หรือ supporting cell) ทำหน้าที่สร้างเมือกร่วมกับต่อมภายในโพรงจมูก (olfactory glands) เพื่อทำให้เกิดความชุ่มชื้นและเป็นตัวทำละลายสารเคมีที่ผ่านเข้ามาซึ่งทำให้เกิดกลิ่นและมีเซลล์ ขนาดเล็กเรียกว่าเซลล์เบซอล (basal cells) ทำหน้าที่แบ่งเซลล์ ให้กำเนิด เซลล์รับกลิ่นและเซลล์ซัสเทนตะคูลารทดแทนเซลล์เดิมที่ตายไป บริเวณส่วนปลาย ของเซลล์รับกลิ่น จะมีขนยื่นเข้าไปในชั้นเมือกที่เคลือบอยู่ในช่องจมูกและมี แอกซอน ของเซลล์รับกลิ่น (เป็นเซลล์ประสาทที่ไม่มีเยื่อหุ้มไมอีลิน) จะผ่านไปที่ เบซัล ลามินา (basal lamina)และรวมกลุ่มกันเป็นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 (olfactory nerve) ผ่านทะลุไปในชั้นคริบริฟอมเพลตของกระดูกเอทมอยด์ (cribriform plate of ethmoid bone) ไปที่โอลแฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) และโอลแฟกทอรีแทกซ์ (olfactory tract) ไปสู่ โอลแฟกทอรีคอร์เทกซ์(olfactory cortex) ซึ่งอยู่ในส่วนเทมพอรัลโลป (temperal lobe) ของสมองใหญ่

                                                                


TOP

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 






















UP

ผู้จัดทำ
นางณุชรี   อ่อนน้ำคำ   ครูที่ปรึกษา
1.นายทีปกร   กล้าเดช  2.นายวชิรวิทย์   ชมภูเทพ   3.นางสาววัชรี   เคสะนอก
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์