จมูกและการดมกลิ่น

ส่วนประกอบของจมูก

                                 

        จมูก มีโครงร่างเป็นกระดูกแข็งและกระดูกอ่อน ภายนอกหุ้มด้วยผิวหนัง ภายโนบุด้วยแผ่นเยื่อเมือกโดยตลอด
ส่วนประกอบของจมูกมีดังนี้

        1. สันจมูก เป็นกระดูกอ่อนที่เริ่มตั้งแต่ใต้หัวคิ้ว ส่วนบนเป็นกระดูกที่เรียกว่าดั้งจมูก ส่วนล่างเป็นกระดูกอ่อน มีเนื้อเยื่อและผิวหนังปกคลุมอยู่ภายนอก

        2. รูจมูก มีอยู่ 2 ข้าง ตรงส่วนล่างของจมูก ภายในมีขนจมูก ทำหน้าที่ป้องกันฝุ่นละอองในขณะหายใจเข้า

        3. โพรงจมูก อยู่ถัดจากรูจมูกเข้าไปข้างใน ชึ่งเป็นที่พักของอากาศก่อนจะถูกสูดเข้าปอดโพรงจมูกทำหน้าที่
ควบคุมอุณหภูมิและความชึ้นของอากาศ โดยลอดเลือดฝอยชึ่งมีอยู่มากมายตามแผ่นเยื่อเมือกจะถ่ายเทความร้อนออกมา
ทำให้อากาศชุ่มชื้น แผ่นเยื่อเมือกเองก็จะทำหน้าที่ปรับความชื้นให้กับอากาศพร้อม ทั้งดักจับฝุ่นละอองที่เล็ดลอดผ่านขนจมูก
เข้าไปแล้วขับทิ้งออกมาเป็นน้ำมูกนั่นเอง บริเวณด้านบนของโพรงจมูกมีปลายประสาท ทำหน้าที่รับกลิ่นอยู่มากมาย
ภายโนจมูกยังมีรูเปิดของ ท่อน้ำตาชึ่งเป็นที่ระบายน้ำตาลงมาในโพรงจมูก เพื่อ มิให้เอ่อล้นออกมานอกลูกตา
เมื่อเราร้องไห้จะมีน้ำตาออกมามาก น้ำตาส่วนหนึ่งไหลลงมาตามท่อนี้เข้าสู่ซ่องจมูก ทำให้เห็นเป็นน้ำมูกใสๆ
ไหลออกมา ทางจมูก เวลาร้องไห้จึงมักจะคัดจมูกและมีน้ำมูกไหลออกมาด้วย

       4. โพรงอากาศรอบจมูก (ไชนัส) เป็นโพรงกระดูกที่อยู่โนบริเวณรอบๆ จมูก มีอยู่ 4 คู่ คือ
บริเวณกึ่งกลางหน้าผากเหนือคิ้วทั้งสองข้าง 1 คู่ บริเวณใต้สมองทั้งสองข้าง 1 คู่ บริเวณค่อนไปข้าง หลังของกระดูกจมูก 1 คู่
และอยู่บริเวณสองข้างของ จมูกอีก 1 คู่ โพรงอากาศเหล่านี้มีเยื่อบางๆ อยู่เช่นเดียวกับ ช่องจมูก
และโพรงอากาศเหล่านี้ก็จะเปิดเข้าสูู่ช่อง จมูกโดยตรงด้วย ดังนั้น ถ้ามีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นที่ช่องจมูกก็มีผลต่อโพรงอากาศนี้ด้วย

 




TOP

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



















UP

ผู้จัดทำ
นางณุชรี   อ่อนน้ำคำ   ครูที่ปรึกษา
1.นายทีปกร   กล้าเดช  2.นายวชิรวิทย์   ชมภูเทพ   3.นางสาววัชรี   เคสะนอก
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์