- ลูกนัยน์ตา ค่อนข้างกลม อยู่ในเบ้าตา มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 ซม. มีผนังเหนียวหลายชั้นหุ้มอยู่
          โดยเรียงจากด้านนอกไปด้านใน ดังนี้ สเคลอรา ( sclera), โครอยด์ ( choroids), เรตินา ( retina)

     - ชั้นสเคลอรา เป็นเยื่อเหนียวที่ไม่ยืดหยุ่น หน้าสุดจะโปร่งใสและนูนออกมา เรียกว่า กระจกตา ( cornea) และ นัยน์ตาขาว

     - ชั้นโครอยด์ เป็นชั้นที่มีเส้นเลือดมาเลี้ยง มี รงควัตถุ แผ่กระจายจำนวนมากเพื่อป้องกันมิให้แสงสว่างทะลุผ่าน
          ชั้นเรตินาได้โดยตรง คนมีสีตาต่างกันเพราะมีรงควัตถุต่างกัน

     - ชั้นเรตินา อยู่ในสุด มีเซลล์รับแสงติดกับใยประสาทสู่สมอง มีรูปร่างต่างกัน คือ เซลล์รูปแท่ง ( rod cell)
           ทำหน้าที่รับแสงสว่างที่ไวมากแม้ในที่สว่างน้อยแต่ไม่สามารถแยกสีได้ มีประมาณ 125 ล้านเซลล์ และ เซลล์รูปกรวย
           ( cone cell) สามารถบอกความแตกต่างของสีได้แต่ต้องการแสงสว่างมาก มีประมาณ 7ล้านเซลล์

สาระสำคัญอื่นๆ

    - ด้านหน้าของเลนส์ตามีแผ่นกล้ามเนื้อ เรียกว่า ม่านตา ( iris) ยื่นจากชั้นโครอยด์โดยรอบ เกิดเป็นช่องกลม
        ให้แสงผ่านสู่เลนส์ตา เรียกว่า ปิวปิล ( pupil)

    - เลนส์ตา หรือ แก้วตา อยู่ค่อนมาด้านหลังถัดจากส่วนกระจกตาเล็กน้อย มีลักษณะใสและกั้นนัยน์ตาเป็น 2 ช่อง
         (ช่องหน้าและหลังเลนส์) ภายในช่องทั้ง 2 มีของเหลวใส เรียกว่า น้ำเลี้ยงลูกตา ซึ่งจะทำให้ความดันภายในนัยน์ตาเป็นปกติ

    - การที่จะเห็นภาพได้ชัดเจน ภาพของวัตถุจะต้องตกที่เรตินาพอดี ขึ้นอยู่กับการปรับความนูนของเลนส์ตาปกติ
        จะปรับให้อัตโนมัติอยู่แล้ว โดยการทำงานของเอ็นและกล้ามเนื้อยึดเลนส์ (ถ้าภาพอยู่ไกลจะคลายตัวให้ความนูนลดลง
        แต่ถ้าอยู่ใกล้จะหดตัวให้นูนมากขึ้น)

    - บางคนเห็นภาพไกลหรือใกล้ไม่ชัด เพราะกล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาไม่ปกติ ทำให้ สายตาสั้น หรือ สายตายาว
         แก้ไขโดยการใส่แว่นตา (สั้นเว้า ยาวนูน)

    - ในผู้สูงอายุ จะพบความผิดปกติอยู่เสมอ โดยเฉพาะ ต้อกระจก (เลนส์ตาขุ่นมัวและฝ้าฟาง) ทำให้แสงผ่านไปเรตินาไม่ได้
         แก้ไขโดย ผ่าตัดเลนส์ตา ออกและใส่ เลนส์ตาเทียม

    - สายตาเอียง เป็นความผิดปกติซึ่งเกิดจากความโค้งของกระจกตาในแนวต่างๆ ไม่เท่ากัน ทำให้เห็นเส้นในแนวหนึ่งไม่ชัดเจน
         แก้ไขโดยใช้ เลนส์กาบกล้วย ( cylindrical lens) ซึ่งมีด้านหน้าเว้าและด้านหลังนูน

    - บริเวณกลางเรตินา เรียกว่า โฟเวีย ( fovea) ภาพที่ตกบนโฟเวียจะชัดเจนมากที่สุด เนื่องจากมีเซลล์รูปกรวย
         อยู่หนาแน่นกว่าที่อื่นๆ บริเวณด้านข้างของเรตินามีเซลล์รูปแท่งอยู่มากดังนั้นจึงเห็นเพียงรูปร่างแต่ระบุสีไม่ได้

    - เซลล์รูปแท่งและกรวยเปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์ประสาท จึงสามารถถูกกระตุ้นด้วยแสงแต่หาก ใช้มือแทนสมอง ก็สามารถ
         รายงานเป็นแสงได้เช่นกัน

    - ภายในเซลล์รูปแท่ง มีสารสีม่วงแดงชื่อ โรดอปซิน ( rhodopsin) เมื่อถูกแสงจะเปลี่ยนเป็น เรตินิน ( retinene)
         และ ออปซิน ( opsin) เมื่อไม่มีแสงเรตินินและออปซินจะเปลี่ยนกลับเป็นโรดอปซิน ตามเดิม

    - เรตินิน เป็นสารที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นจาก วิตามินเอ

 

TOP

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 































UP

ผู้จัดทำ
นางณุชรี   อ่อนน้ำคำ   ครูที่ปรึกษา
1.นายทีปกร   กล้าเดช  2.นายวชิรวิทย์   ชมภูเทพ   3.นางสาววัชรี   เคสะนอก
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์