3. ชั้นในสุดประกอบด้วยเรตินา จะพบส่วนที่หนาและบาง สำหรับส่วนที่หนาเป็นเนื้อเยื่อประสาทเรียกว่า นิวโรเรตินา ( neuroretina)
ซึ่งจะติดต่อกับเส้นประสาทออปติก ส่วนที่บางจะเป็นชั้นรงควัตถุทำหน้าที่ป้องกันการสะท้อนของแสงจากด้านหลังของเรตินา
บริเวณนิวโรเรตินา นี้จะมีเซลล์รับรู้เกี่ยวกับแสงได้แก่ รอด ( rod) และ โคน ( cone) และมีเซลล์ประสาทอื่นๆเรียงตัวกันเป็นชั้นๆ
คือ เซลล์ประสาทสองขั้ว เซลล์ปมประสาท( ganglion cell) เซลล์ที่อยู่แนวนอน ( horizontal cell) และอะมาครีนเซลล์ ( amacrine cell)
โดยที่ รอด และ โคนซึ่งอยู่ชั้นในสุดหลายๆเซลล์จะมาซิแนปส์กับเซลล์ประสาทสองขั้ว และเซลล์ประสาทสองขั้ว จะซิแนปส์
กับเซลล์ปมประสาท ซึ่งจะส่งแอกซอนออกมารวมกันเป็นเส้นประสาทออปติก ไปยังสมอง สำหรับ เซลล์ที่อยู่แนวนอน
จะเชื่อมระหว่างเซลล์ที่รับรู้เกี่ยวกับแสงด้วยกันเอง ด้านในสุดของเรตินา จะอยู่ติดกับของเหลวใสคล้ายวุ้นเรียกวิเทรียสฮิวเมอร์
( vitreous humer) ซึ่งอยู่ในช่องของลูกตาด้านหลังเลนซ์ ( posterior chamber) และช่วยให้ลูกตาคงรูปร่าง เมื่อ มีแสงผ่านเข้าสู่ตา
แสงจะผ่านชั้นต่างๆของเรตินาก่อนที่จะมาถึงชั้นที่มีรอดและโคน จะมีบริเวณหนึ่งของเรตินาเรียกว่าโฟเวียเซนตาลิส ( fovea centralis)
เป็นบริเวณที่ให้ภาพฉับไว และภาพคมชัดที่สุดเพราะที่บริเวณนี้จะพบโคน (ไวต่อแสงเข้ม)จำนวนมาก และเซลล์อื่นๆ
รวมทั้งเส้นเลือดจะอยู่ กันอย่างเบาบางทำให้แสงผ่านเข้ามาถึงโคนได้ง่ายและเร็วขึ้น ส่วนบริเวณ ออปติกดิส( optic disc)
ซึ่งเป็นทางออกของเส้นประสาทออปติก จะไม่มีรอดและโคนอยู่เลยจึงไม่สามารถมองเห็นภาพที่มาตกบริเวณนี้ได้และเรียกว่า
จุดบอด ( blind spot). กล้ามเนื้อตา จะควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกตา ประกอบด้วยกล้ามเนื้อลาย ซึ่งมีทั้งหมด 6 มัดคือ
กล้ามเนื้อตรงด้านบน ( superior rectus) กล้ามเนื้อตรงด้านข้าง ( lateral rectus) กล้ามเนื้อตรงตรงกลาง ( medial rectus)
กล้ามเนื้อตรงด้านล่าง ( inferior rectus) กล้ามเนื้อเฉียงด้านบน ( superior oblique) กล้ามเนื้อเฉียงด้านล่าง ( inferior oblique)

สาระสำคัญ :

     นัยน์ตาคน มีเซลล์ทำหน้าที่รับแสงสว่างโดยเฉพาะ มีส่วนประกอบต่างๆ ช่วยป้องกันอันตราย เช่น คิ้วและขนตา ป้องกันฝุ่นละออง หนังตาบนปิดชนหนังตาล่าง ป้องกันอันตรายให้กับลูกนัยน์ตา ต่อมน้ำตา ที่ขอบบนของหางตาซึ่งมีท่อน้ำตาเพื่อหล่อเลี้ยงลูกตาให้ชุ่มชื้น น้ำตา ยังมีเอนไซม์ช่วยฆ่าจุลินทรีย์และมีน้ำมันสำหรับเคลือบลูกนัยน์ตา บริเวณหัวนัยน์ตา ยังมีน้ำตาออกไปยังโพรงจมูกเพื่อขับทิ้งไปได้ด้วย

                                  

TOP

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 





























UP

ผู้จัดทำ
นางณุชรี   อ่อนน้ำคำ   ครูที่ปรึกษา
1.นายทีปกร   กล้าเดช  2.นายวชิรวิทย์   ชมภูเทพ   3.นางสาววัชรี   เคสะนอก
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์