การศึกษาเรื่องราวสมัยก่อนประวีติศาสตร์ในประเทศไทย
นักวิชาการเพิ่งมาสนใจศึกษาเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยกันอย่างจริงจัง
ก็เมื่อระยะหลังสงครามโลกครั้งที่สองนี้เอง เนื่องมาจากการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญของชาวฮอลันดา
ที่ชื่อว่า ดร.แวน ฮิกเกอเรน ( Van Hockren
) ซึ่งเป็นเชลยฝ่ายสัมพันธมิตรที่ถูกญี่ปุ่นนำมาก่อสร้างทางรถไฟอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี
ในระหว่างสงครามโลก ดร.แวน ฮิกเกอเรน ( Van Hockren
) ได้พบเครื่องมือที่ริมฝั่งแม่น้ำแควน้อย ใกล้สถานีรถไฟบ้านเก่า
ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 35
กิโลเมตร หลังสงครามโลกได้เสร็จสิ้นไปแล้ว ท่านผู้นี้ได้นำเอาเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินชิ้นที่เก็บได้นั้นไปตรวจสอบหาหลักฐาน
ทำให้ทราบว่าส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในยุคหินเก่า
จากการค้นพบหลักฐานหลักฐานในครั้งนั้น
ก่อให้เกิดความสนใจแก่นักวิชาการทั้งชาวต่างประเทศและบรรดาชนชาวทย
ในอันที่จะศึกษาค้นคว้าหาร่องรอยของความเจริญ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในดินแดนประเทศไทย
ได้มีการสำรวจของนักวิชาการหลายคณะ ตั้งแต่ พ.ศ.
2503 เป็นต้นมา เริ่มต้นด้วยการสำรวจของคณะสำรวจไทย
- เดนมาร์กระหว่าง พ.ศ. 2503 - พ.ศ.2504 ที่บ้านเก่า ตำบลจระเช้เผือก
อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พบหลักฐานเป็นโครงกระดูกมนุษย์ในสมัยยุคหินใหม่
ซึ่งตรวจสอบแล้วว่ามีอายุประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว
|