นิยามอารยธรรม

 

.gif 
Gallery 
สายพันธุ์มนุษย์ 
วัฒนธรรมมนุษย์ 
เผ่าพันธุ์มนุษย์ 
ยุคของมนุษย์ 
แบ่งยุคประวัติศาสตร์ 
ปรา-หวัด 
Links 
Contact me 

 

 

 

anipink02_rotate_down.gif นิยามอารยธรรม    [นิยามประวัติศาสตร์]

        การแบ่งยุคประวัติศาสตร์อารายธรรมของเอดเวิร์ด ไทเล่อร์ ซึ่งแบ่งไว้เป็น 3 ยุค คือยุคป่าเถื่อน ยุคอานารยะ และยุคอารายธรรม ดังกล่าวมาแล้วหมายความว่าไทเล่อร์คลุมช่วงเวลาการวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมาของมนุษย์ไว้สั้นมาก เพราะคลุมช่วงวลาประมาณ 10,000 ปีก่อน ค.ศ. ถึงปัจจุบัน

        เลยช่วงเวลา 10,000 ปีก่อนค.ศ. เป็นช่วงวลาที่ยังไม่มีสังคมเกษตรกรรม เป็นยุคที่มนุษย์ยังร่อนเร่พเนจรหาอาหารเพื่อการดำรงชีวิตเรื่อยไป เมื่อมนุษย์เริ่มตั้งถิ่นฐาน รู้จักการทำเกษตรกรรมจึงเริ่มต้น"ยุคป่าเถื่อน ยุคอานารยะ และยุคอารายธรรมตามทฤษฎีของไทเล่อร์" การเปลี่ยนแปลงสังคมร่อนเร่เสาะแสวงหาอาหารและล่าสัตว์ มาเป็นมนุษย์รู้จักทำเกษตรกรรม และการเลี้ยงสัตว์ นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงจากการเป็นมนุษย์รู้จักใช้สภาพแวดล้อมมาเป็นมนุษย์รู้จักควบคุมสภาพแวดล้อม ดังนั้นปฎิวัติการผลิตอาหารปฎิวัติการผลิตอาหารElliot Smith จึงเขียนทักษะของเขาในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ของมนุษย์ไว้ในหนังlnอชื่อ Human History ว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นขั้นตอนของการเปลี่ยนครั้งยิ่งใหญ่เป็นการ "ปฎิวัติการผลิตอาหาร"(Food Producing Revolution) ของมนุษย์ เพราะนับตั้งแต่นี้ไป(เมื่อ 10,000 ปี ก่อนค.ศ.) มนุษย์รู้จักวิธีผลิตอาหารสำหรับมนุษย์เองเป็นการควบคุนสภาพแวดล้อมให้เกิดประโยชน์กับมนุษย์โดยไม่ต้องใช้สภาพแวดล้อมเป็นแหล่งให้อาหารเหมือนอย่างก่อน

        Gordon Childe มีความเห็นว่าช่วงเวลา ของยุคการปฎิวัติการผลิตอาหาร ของElliot Smithตรงกับยุคหินใหม่ของ John Lubbock (ยุคหินใหม่ของ Lubbockเกิดเมื่อ 10,000 ปีก่อนค.ศ. ตรงกับการเกิดยุคเกษตรกรรม)จึงเป็นผู้นำเอาคำว่า"การปฎิวัติยุคหินใหม่"(Neolithic Rvolution) มาใช้ในวิชาโบราณคดี และในการเขียนประวัติศาสตร์ของมนุษย์

        นักโบารณดดีบางท่านไม่ชอบใช้คำว่า"การปฎิวัติยุคหินใหม่"เพราะมีความเห็นว่าเป็นคำมีความหมายรุนแรงมากเกินไป การเปลี่ยนแปลงจากมนุษย์ ผู้เสาะแสวงหาอาหารตามสภาพแวดล้อม

        นิยามสังคมอารยธรรมของ Clyde Kluckhohn เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ดังนั้นแนวโน้มในปัจจุบันจึงสรุปว่า ประวัติศาสตร์อารยธรรมหน้าแรกเริ่มต้นเมื่อมนุษย์รู้จักเขียนหนังสือ คือ เริ่มต้นที่สุเมเรียเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนค.ศ.นิยามยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistory)

        ก่อนสมัยของ John Lubbock เมื่อร้อยกว่าปีมาแล้วประวัติศาสตร์ของมนุษย์ถูกแบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ ยุคใหม่ ยุคกลาง และยุคโบราณ John Lubbock เป็นผู้แบ่งประวัติศาสตร์ออกไปเป็นอีกยุคหนึ่ง เป็นยุคที่ 4 เรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่ง John Lubbock หมายถึง ยุคที่มนุษย์รู้จักการเขียนหนังสือ คือ เริ่มต้นที่สุเมเรียเมื่อประมาณเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนค.ศ.ตามนิยามของ John Lubbock ดังกล่าวนี้ จึงหมายความว่า ก่อนถึงยุคเริ่มต้นอารยธรรม (ตามทฤษฎีของไทเล่อร์) คือยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังนั้นยุคก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์จึงมิได้เริ่มต้นมีเมื่อมนุษย์ใช้อักษรเขียนหนังสือ เพราะประวัติศาสสตร์ของมนุษย์มีอยู่ก่อนที่มนุษย์จะเริ่มรู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรนานแล้ว จากการที่ John Lubbock แบ่งประวัติศาสตร์ของมนุษย์ไว้ให้มียุคที่ 4 คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ดังกล่าว จึงทำให้มีนักวิชาการส่วนมากทั้งในและนอกปรัเทศเกิดความเข้าใจผิดว่าประวัติศาสตร์เริ่มต้นนับตั้งแต่มนุษย์รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษร ความจริงการใช้ตัวอักษรเขียนหนังสือคือยุคประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่มีความก้าวหน้าทางอารยธรรม และยุคก่อนประวัติศาสตร์หมายถึงยุคประวัติศาสตร์หมายถึงยุคประวัติศาสตร์ก่อนมีหนังสือเขียน

 

  

คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่

ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2545
www.thaigoodview.com
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail :
thaigoodview@hotmail.com
ICQ : 82032264

Copyright(c) 2001 MissSarinthip wasoontaratorn All rights reserved.