วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยในทุกภาค มีพื้นจากการเป็นสังคมเกษตรกรรม เป็น สังคมที่ผสมผสานคติความเชื่อพื้นเมือง เช่น การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นับถือธรรมชาติ เข้ากับคติความเชื่อ ทางศาสนา การเป็นสังคมเกษตรของไทยในอดีต คือการเกษตรแบบยังชีพ การทำนาเป็นอาชีพหลัก ใน อดีตเป็นการทำนาที่ใช้แรงงานคนในครอบครัวและแรงงานสัตว์เป็นหลัก พึ่งพาน้ำฝนและน้ำในแม่น้ำลำ คลองในการเพาะปลูก และใช้ในชีวิตประจำวัน ลักษณะการดำรงชีวิตที่ต้องพึงพาธรรมชาติ และพึ่งพาตน เอง ทำให้ชาวบ้านเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันและพึ่งพากัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงเป็นสุข

     วัฒนธรรมแบบสังคมเกษตรของคนไทยมีลักษณะเด่น คือ เป็น สังคมที่มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือกัน มีการนับญาติกันอย่าง สนิทสนม เช่น ใช้คำว่า ปู่ ย่าลุง ป้า น้า พี่ เรียกผู้สูงอายุที่ไม่รู้จักกัน หรือไม่ใช่ญาติ มีการยกย่องธรรมชาติและสิ่งที่มีบุญคุณ เช่น การทำ ขวัญพระแม่โพสพ การลอยกระทง เพื่อขอบคุณและขอขมาพระแม่ คงคา การนับถือพระแม่ธรณี การทำขวัญโค-กระบือ มีการร่วมมือกัน ในสังคม เช่น การขอแรงเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำงาน เมื่อแรงงาน ภายในครอบครัวไม่เพียงพอ เช่น การลงแขก การขอแรง การเอาแรง เอามือ เอาปากกินหวาน เพื่อช่วยกันทำงานในนา ปลูกสร้างบ้าน โดยเป็นการแลกเปลี่ยนหมุนเวียน แรงงานในชุมชน โดยที่ไม่ต้องใช้
การว่าจ้าง เจ้าของงานมีหน้าที่เพียงดูแลเรื่องอาหารการกินให้เพียง พอแก่ผู้มาช่วยงาน

     การทำงานในไร่นาที่เหน็ดเหนื่อย ทำให้มีการสร้างสรรค์การละ เล่น การร้องรำทำเพลงเพื่อผ่อนคลาย และสร้างความสัมพันธ์ต่อกัน ภายชุมชน จนเป็นการละเล่นและเพลงพื้นบ้าน ที่ถือเป็นมรดกทาง วัฒนธรรมในท้องถิ่นและประเทศ เช่น “ซอ” และ “จ๊อย” ของภาค เหนือ “เพลงเรือ”  “เพลงฉ่อย”  “เพลงเหย่ย”  ของภาคกลาง “ลำ” ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ “เพลงบอก” ของภาคใต้

 


การขับร้องเพลงฉ่อย