ประวัติความเป็นมา  จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดที่นิยมปลูก กล้วยไข่กันมาก จนกลายเป็นพืชผลเศรษฐกิจทำรายได้เข้าจังหวัดปี หนึ่งๆ ประมาณ 100 ล้านบาท ทำให้ “กล้วยไข่” ที่ชาวสวนทั่วไป มองเป็นผลไม้พื้นๆ กลายเป็นของมีราคาขึ้น มาทันที และทำให้กำ แพงเพชรเป็นเมืองที่มีฉายาว่า “เมืองกล้วยไข่” โด่งดังไปทั่วประ เทศ แรกเริ่มทีเดียวนั้นเล่ากันว่าเมื่อ 60 ปีมาแล้ว ได้มีการปลูกสวน กล้วยไข่กันก่อนที่บ้านเกาะตาล ตำบลแสนตอง อำเภอขาณุลักษบุรี โดยชาวจีนชื่อนายหะคึ้ง แซ่เล้า นำพันธุ์กล้วยไข่จากนครสวรรค์มา ปลูก ต่อมาได้มีการขยายพันธุ์ออกไปตามท้องที่อำเภอต่างๆ ในที่สุด ไปปลูกมากในเขตอำเภอเมือง เนื่องจากมีสภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำ นวยในการเพาะปลูกถึงขั้นนี้จึงได้มีการรวมกลุ่มเพื่อขยายตลาดให้กว้างเพียงพอต่อผลผลิตทั้งตลาดในประ
เทศและต่างประเทศได้ให้ความสนใจในกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร
                                                                                                                                                                            วิธีการส่งเสริมทางด้านการตลาดกล้วยไข่ที่หน่วยราชการ และผู้ประกอบการ ทำสวนกล้วยไข่ช่วยกันจนประสบความสำเร็จมากทางหนึ่ง นั่นคือการจัดกิจกรรม ของงานให้เกี่ยวข้องกับกล้วยไข่ โดยยึดแนวคตินิยมทางพื้นฐานพระพุทธศาสนา ที่ชาวพุทธนิยมทำบุญเดือน 10 หรือ “สารทไทย”
     สำหรับชาวกำแพงเพชรที่ฟื้นฟูประเพณีโบราณ ให้สอดคล้องกับการส่งเสริม การขายกล้วยไข่ของตนในฤดูกาลนี้ ก็เพราะกล้วยไข่มีผลผลิตออกชุกในช่วง เดือนกันยายนนี้พอดี ประกอบกับผลไม้อื่นๆ ในช่วงนี้ไม่มีออกด้วยเมื่อมีงานบุญ ใดๆ ก็ตามจึงต้องมีผลไม้เป็นส่วนหนึ่งของหวาน และของหวาน และของหวานที่ นิยมทำกันในงานสารทไทยนี้ก็คือ “กระยาสารท” รสชาติค่อนข้างหวานจัดจึง ต้องรับประทานกับกล้วยไข่เป็น “เครื่องเคียง” ที่สำคัญมาก“งานสารทไทยกล้วย ไข่เมืองกำแพง” จึงเกิดขึ้นอย่างง่ายๆ เป็นครั้งแรก เมื่อปี 2524 จากพื้นฐานของ งานประเพณีเก่าแก่ของชาวไทยในอดีต สอดคล้องกับการมีผลผลิตมากมายในท้องถิ่น จึงเป็นจุดเด่นของ งานประเพณีนี้

     งานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง เริ่มจัดขึ้นครั้งแรก ในวันที่ 26 - 27 กันยายน พ.ศ.2524 ในสมัย นายจำนง ยังเทียน เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด มีชื่อว่างาน "วันกล้วยไข่เมืองกำแพง" โดยมี นายศรี ศรีนนท์ ผู้จัดการทั่วไป โรงแรมเพชร, นายถนอม ภู่ทองคำ เกษตรอำเภอคลองลาน, สื่อมวลชนจังหวัดกำแพงเพชร และ นายคะเณย์ เพิ่มทรัพย์ เกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ในสมัยนั้น เป็นผู้เสนอโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการขายกล้วยไข่ เพราะช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคมเป็นช่วงที่มีผลผลิตออกมากที่สุดกิจกรรม ในงานประกอบด้วยการทำบุญการทำบุญตักบาตร การประกวดขบวนรถที่ตกแต่งด้วยกล้วยไข่เป็นหลัก ประกวดธิดากล้วยไข่, การประกวดกล้วยไข่, การจำหน่ายกล้วยไข่, การแข่งกวนกระยาสารท


    เพื่อให้การ จัดงานเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น จังหวัดกำแพงเพชรจึงได้ประสานงานกับการท่องเที่ยวแห่งประ เทศไทยร่วมกันจัดงาน การแสดงแสงเสียงในโบราณสถานบริเวณวัดมหาธาตุ และ วัดพระแก้ว ต่อมาในปี 2526 มีการ เปลี่ยนชื่องานจากงาน "วันกล้วยไข่เมืองกำแพง" เป็นงาน " วันสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำ แพง"เพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมศาสนา เนื่องจากในช่วงเดือน กันยายนถึงตุลาคม ชาวพุทธจะนิยมทำ บุญเดือน 10 หรือที่ เรียกว่า "สารทไทย" ซึ่งเป็นงานที่ ทำกันในช่วง วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10ตามจันทรคติ ในช่วงดังกล่าวผลไม้ชนิดอื่นๆ ไม่ค่อยมีเมื่อมีงานบุญต่างที่มีการทำบุญตักบาตรไม่ว่าจะเป็นงานสารทไทย ทอดผ้าป่า สลากภัต หรืองานบุญอื่น ก็จะใช้กล้วยไข่เป็นผลไม้และนิยมทำกระยาสารท เป็นของหวานต่อมา คณะกรรมการระดับจังหวัดได้กำหนดให้กล้วยไข่เป็นผลไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร เพราะในแต่ละปีกล้วย ไข่ทำรายได้ให้จังหวัดกำแพงเพชร ประมาณ 200 - 300 ล้านบาท และงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง ก็ได้จัดติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน