ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนที่ชนชาติไทยจะก่อตั้งอา ณาจักรขึ้น มีชนหลายเชื้อชาติตั้งหลัก แหล่งอยู่ตามบริเวณต่างๆ ทั่ว ไป มีการติดต่อสื่อสารกัน บางครั้งเป็นไปในลักษณะการต่อสู้แย่งชิง ผลประโยชน์ บางครั้งมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน จึงปรากฏ วัฒนธรรมที่มีความคล้ายคลึงกันอยู่หลายรูปแบบ แม้จะแตกต่างกันใน รายละเอียด

     อาจกล่าวโดยสรุปว่าวัฒนธรรมของดินแดนแถบเอเชียตะวันออก เฉียงใต้นี้มาจากวัฒนธรรมดั้งเดิม ซึ่งมีอิทธิพลจากอินเดียและจีนเป็น รากฐานที่สำคัญ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดถึงความคล้ายคลึงกันของวัฒน ธรรมของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ประเพณี สงกรานต์

   จากการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ เรื่องสงกรานต์ใน 5 ประเทศ : การเปรียบเทียบทางวัฒนธรรม ที่จัดตั้งขึ้นในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2539 จังหวัดเชียงใหม่ นักวิชาการจากประเทศต่างๆ ได้เสนอเรื่อง ราวของวัฒนธรรมของการเล่นสงกรานต์ พอสรุปได้ดังนี้

     ประเพณีสงกรานต์เป็นการฉลองวันขึ้นปีใหม่ ตามปฏิทินสุริยคติแบบโบราณ มีปรากฏทั้งในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน อันได้แก่ กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิไตยประชาชนลาว สหภาพเมียนมาร์ และเขต สิบสองปันนาของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ประชากรในประเทศดังกล่าวจะมีพิธีกรรมที่ปฏิบัติกันมา ตามความเชื่อทางศาสนาเป็นหลัก ส่วนรายละเอียดอาจคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันตามพื้นที่นั้นๆ ความ คล้ายคลึงกันของประเพณีสงกรานต์ ได้แก่

  1. มีการทำบุญ ไปวัด สรงน้ำพระ
  2. ไปเยี่ยมเยือนผู้ใหญ่ และรดน้ำขอพร
  3. เซ่นไหว้วิญญาณของบรรพบุรุษ
  4. ทำความสะอาดบ้านเรือนครั้งใหญ่
  5. เวลาบ่ายเด็กๆ และคนในวัยหนุ่มสาวเล่นน้ำสงกรานต์
  6. ขนทรายเข้าวัด
  7. ทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา
  8. การแสดงออกอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงความสามัคคีในชุมชน

     นอกจากความคล้ายคลึงที่ได้กล่าวมาแล้ว เวลาของเทศกาลสงกรานต์จะคล้ายคลึงกัน ในแง่ของการ สอดคล้องกับสังคมเกษตรกรรม คือมักเป็นเวลาของการเริ่มต้นการทำงานของเกษตรกรอีกด้วย