วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีและพิธีกรรม
ประเพณีรับบัว เป็นประเพณีของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ในเทศกาลออกพรรษา ตำนานของประเพณี รับบัวตำนานหนึ่งเล่าว่า ในสมัยก่อนนั้นอำเภอบางพลี เป็นแหล่งที่มีดอกบัวหลวงมาก เมื่อถึงช่วงออกพรรษา ชาวบ้านที่อยู่ใกล้อำเภอบางพลี โดยเฉพาะที่อำเภอ
เมือง และอำเภอพระประแดง จะเดินทางไปเก็บดอกบัว
ที่อำเภอบางพลี เพื่อนำมาประกอบพิธีทำบุญในวันออก
พรรษา ต่อมาชาวบางพลีเป็นผู้เก็บดอกบัวไว้แจกให้
ชาวบ้านต่างถิ่น
เพื่อเป็นการทำบุญร่วมกัน
รุ่งเช้าของวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านต่างถิ่น จะพายเรือไปรับดอกบัวจากชาวบางพลี เพื่อนำดอกบัวไปนมัสการหลวงพ่อโต ที่วัดบางพลีใหญ่ ในการให้ และรับดอกบัวกระทำกันอย่างสุภาพ รับส่งกันมือต่อมือ ผู้ให้จะอธิฐานก่อน ส่วนผู้รับก็จะพนมมือไหว้ขอบคุณ แต่ถ้าเป็นผู้สนิทสนมกัน ก็อาจโดยดอกบัวให้โดยไม่มีพิธีรีตอง เมื่อเวลาผ่านไปการโยนดอกบัวให้กัน ก็ กลายเป็นความนิยมแทนการรับส่งมือต่อมือ จนชื่อประเพณีถูกเรียกว่า "โยนบัว" แทน "รับบัว เมื่อรับดอก บัวแล้วชาวบ้านต่างถิ่นก็พายเรือกลับ โดยมีการพายแข่งกัน จนต่อมาจัดเป็นการแข่งขันด้วย
เมื่อสภาพการดำรงชีวิตเปลี่ยนไป มีโรงงานอุตสาหกรรม มีบ้านจัดสรรเกิดขึ้นที่อำเภอบางพลีมากขึ้น แหล่งน้ำที่มีดอกบัวน้อยลง หน่ายงานราชการจึงคิดจัดงานรับบัวขึ้นมา เพื่ออนุรักษ์ประเพณีไว้ โดยจัดให้มี การประกวดเรือสวยงาม และนำไม้ไผ่มาสานเป็นโครงรูปองค์พระพุทธรูป ปิดด้วยกระดาษสีทอง สมมุติว่า เป็นหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน นำมาตั้งบนเรือแห่ไปตามลำคลองสำโรง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทร ปราการ ชาวบ้านที่อยู่ริมฝั่งคลองและชาวบ้านที่นำเรือมาจอดอยู่ริมคลอง จะนำดอกบัวโยนถวายหลวงพ่อ โต ซึ่งปฏิบัติต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณีโยนบัวที่แตกต่างจากประเพณีรับบัวแต่เดิม
ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง
เป็นประเพณีถวายเภสัช หรือยาแด่พระสงฆ์ โดย ทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 พุทธศาสนิกชนจะ นำอาหารและข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มลูกโยนไปทำ บุญที่วัด และจะมีของทำบุญพิเศษ คือน้ำผึ้งชนิด บริสุทธิ์ พร้อมทั้งน้ำตาลทรายและผ้าแดงผืนเล็กๆ การตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีที่นิยมในหมู่คน ไทยเชื้อสายมอญ ผู้มาทำบุญจะน้ำผึ้งใส่ในบาตร เปล่าที่ตั้งอยู่หน้าพระสงฆ์ สามเณร หรือบริเวณที่ เหมาะสม จำนวนบาตรส่วนมากตั้งไว้ 32 ใบ โดย ถือเคล็ดตามอาการของมนุษย์ปกติ ที่เรียกกันว่า ครบ 32 ชาวบ้านจะนำน้ำผึ้งเทลงบาตร มากน้อย ตามแต่ศรัทธาและกำลังทรัพย์ ใส่น้ำตาลทรายลง ในฝาบาตรที่ตั้งอยู่ข้างบาตรน้ำผึ้ง และวางผ้าแดงไว้หลังบาตร
การตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีที่สืบเนื่องจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยปรากฏอยู่ในชาดก หลายเรื่อง เช่น ชาวบ้านมีความศรัทธานำน้ำผึ้งถวายพระพุทธเจ้า เรื่อง พญาวานรนำรวงผึ้งถวายแด่พระ พุทธเจ้า เมื่อเสด็จจำพรรษาอยู่ ณ ป่ารักขิตวัน เรื่อง พระสงฆ์เกิดอาพาธจากการถูกน้ำฝน จนร่างกายซูบ ผอม พระพุทธเจ้าจึงทรงพุทธานุญาตให้พระสงฆ์ฉันน้ำผึ้ง น้ำอ้อย เนยข้น เนยใส และน้ำมันพืชได้ในยาม วิกาล เพื่อบำรุงร่างกาย เพราะถือว่าทั้งห้าสิ่งนี้เป็นยา จึงมีการถวายน้ำผึ้งเป็นเภสัชทานแด่พระสงฆ์สืบมา