วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับประเพณีพื้นเมือง

ประเพณีปอยน้อย

     เป็นประเพณีบวช หรือการบรรพชาของชาวเหนือจะมีชื่อเรียกต่างกันในบางท้องถิ่น เช่น ปอยน้อย ปอย บวช ปอยลูกแก้ว ปอยส่างลอง นิยมจัดภายในเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม ซึ่งเก็บเกี่ยวพืชผลเสร็จแล้ว ใน พิธีบวชจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ มีการแห่งลูกแก้วหรือผู้บวชที่จะแต่งตัวอย่างสวยงามแบบ กษัตริย์หรือเจ้าชาย เพราะถือคตินิยมว่าเจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกบวชจนตรัสรู้

     การแห่นิยมให้ลูกแก้วขี่ม้าหรือขี่ขอคน มีการร้องรำกันอย่างสนุก สนาน ในงานนี้จะทำให้เด็กชายธรรมดากลายเป็น “ลูกแก้ว” หรือ “เด็กมีค่าเหมือนแก้ว” บางท้องถิ่นการบวชลูกแก้วเป็นการเปิด โอกาสให้ผู้ที่ไม่ใช่พ่อแม่หรือเครือญาติร่วมกันเป็นเจ้าภาพด้วย เพื่อ เป็นการแบ่งบุญและช่วยสนับสนุนค่าใช่จ่ายในการจัดงาน เจ้าภาพ จะเรียกว่า "พ่อออก หรือบิดาแห่งการจากไป" จากชีวิตทางโลก ของผู้บวช และผู้บวชจะปฏิบัติตนต่อพ่อออกเหมือนเป็นพ่อแม่จริงๆ พ่อออกและลูกแก้วจึงเกิดความผูกพันกัน กล่าวได้ว่าเป็นการสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างคนในสังคม

    ปัจจุบันประเพณีบวชลูกแก้วที่มีชื่อเสียงคือ ประเพณีบวชลูกแก้ว ที่จังหวัดแม่ฮองสอน เมื่อข้าวเหนียวสุก แล้วจะนำออกมาจากหวดมาผึ่งบนภาชนะที่เรียกว่า "กั๊ว หรือกระโบม" ซึ่งเป็นภาชนะที่คล้ายรูปกระจาดที่ ทำด้วยไม้ เพื่อให้ข้าวเหนียวไม่แฉะ และบรรจุข้าวเหนียวลงภาชนะจักสานที่เรียกว่า ก่องหรือกระติบ ในภาค อีสาน ทำให้ข้าวเหนียวอุ่นอยู่ได้นานจนถึงเวลารับประทาน


ประเพณีแห่นางแมว (ช่วงเวลา ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม)

      การประกอบอาชีพทางเกษตรในสมัยก่อนนั้น  ต้องพึ่งพาสภาพดินฟ้าอากาศ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าปีไหนฝนดีข้าวกล้าในนาก็เจริญงอกงามดี  หากปีใดฝนแล้ง หรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าในนา
ก็จะเสียหาย ไม่มีน้ำจะทำนาชาวบ้านไม่มีวิธีการอื่นใดที่จะช่วยได้ จึงพึ่งพาสิ่งเหนือธรรมชาติต่างๆ นาๆ เป็นต้นว่า ทำพิธีขอฝนโดยการแห่นางแมว เชื่อกันว่าหากกระทำเช่นนั้นแล้วจะช่วยให้ฝนตกลงมาได้

พิธีกรรม

     นำชลอมมาตกแต่งให้สวยงาม ใส่แมวไว้ข้างในมัดผูกให้เรียบร้อย หลังใส่คานหามหัวท้ายสองคนแห่ไป รอบๆ หมู่บ้านโดยมีกลองยาวนำขบวน พร้อมกับร้องเพลงแห่นางแมว ผ่านหน้าบ้านใคร เจ้าของบ้านก็จะเอา กระบวยตักน้ำมาสาดรดแมว พร้อมทั้งให้รางวัลแก่พวกแห่ เช่น เหล้า ข้าวปลา หรือของกินอื่นๆ แล้วเคลื่อน ต่อไปเรื่อยๆ จนหมดเขตหมู่บ้าน ก็นำของนั้นมาเลี้ยงกัน กระทำดังนี้จนกว่าฝนจะตก เนื้อร้องเพลงแห่นาง แมว มีดังต่อไปนี้

“นางแมวเอย  ขอฟ้าขอฝน  ขอน้ำมนต์รดแมวข้ามั่ง
ค่าเบี้ยค่าจ้าง  ค่าหาแมวมา  ถ้าไม่ให้กินปลา  ขอให้ปูกัดข้าว
ถ้าไม่ให้กินข้าว  ขอให้ข้าวตาฝอย  ถ้าไม่ให้กินอ้อย  ขอให้อ้อยเป็นแมง
ถ้าไม่ให้กินแตง  ขอให้แตงคอคอด  ถ้าไม่ให้นอนกอด  ขอให้มอดเจาะเรือน
ถ้าไม่ให้นอนเพื่อน  ขอให้เรือนทลาย  แม่ยายหอยเอย  กะพึ่งไข่ลูก
ลูกไม้จะถูก  ลูกไม้จะแพง ฝนตกพรำๆ  มาลำกระแชง
ฝนตกเขาน้อย  มาย้อยชายคา  ฝนตกเขาหลวง  เป็นพวงระย้า
ไอ้เล่  เหล  เล่  ฝนก็เทลงมา  เอ้า  ฝนก็เทลงมา  เอ้า  ฝนก็เทลงมา ๆๆๆๆ”