วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับประเพณีพื้นเมือง

    ประเพณีของภาคเหนือ มีลักษณะเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิต ที่เกิดจากการผสมผสาน ระหว่างพุทธศาสนากับความเชื่อ ในเรื่องการนับถือผี ทำให้มีประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ และลักษณะของ ประเพณีจะแตกต่างกันไปตามฤดูกาล คือ

ช่วงแรก (เดือนเมษายนถึงมิถุนายน) เป็นช่วงการเริ่มต้นปีใหม่หรือ สงกรานต์งานประเพณี จึงเกี่ยวกับการทำบุญ เพื่อความเป็นสิริมงคล ต้อนรับชีวิตใหม่ และอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้แก่บรรพบุรุษ มีการเลี้ยง ผีและฟ้อนผี เพื่อขอฝนช่วยให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ภายในไร่นา

 

 

 

ช่วงที่สอง (เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม) เป็นช่วงของการเพาะปลูก และเป็นเทศกาลเข้าพรรษา ประเพณีจึงเกี่ยวข้องกับการประกอบ อาชีพและศาสนา

 

 

 

ช่วงที่สาม (เดือนตุลาคมถึงเมษายน) เป็นช่วงของการเก็บเกี่ยวพืช ผลและเทศกาลออกพรรษา ถือว่าเป็นเวลาแห่งการพักผ่อนงาน ประเพณี จึงเป็นงานรื่นเริงและการทำบุญที่เกี่ยวศาสนา

 

 

 


ประเพณีสงกรานต์

    ชาวเหนือมีประเพณีสงกรานต์ที่เหมือนกับชาวไทยภาคอื่น คือ มี การทรงน้ำพระพุทธรูป มีประเพณีขนทรายเข้าวัด ประเพณีรดน้ำ ดำรง ขอพรจากผู้หลักผู้ใหญ่ สิ่งที่เป็นประเพณีท้องถิ่น คือ มีการทำ บุญถวายขันข้าวที่ถวายตุง และไม้ค้ำสะหลีหรือไม้ค้ำโพธิ์ เพื่ออุทิศ ส่วนกุศลให้แก่วิญญาณผีบรรพบุรุษ และเป็นผลบุญสำหรับตนเอง

รายละเอียดเพิ่มเติม...

 

 


ประเพณีสืบชะตา

     ชาวล้านนามีความเชื่อว่า การทำพิธีสืบชะตาจะช่วยต่ออายุให้ตน เอง ญาติพี่น้อง และบ้านเมืองให้ยืนยาว ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง
และความเป็นสิริมงคล โดยแบ่งการสืบชะตาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

  1. การสืบชะตาคน นิยมทำกันหลายโอกาส เช่น วันเกิด วันที่
    ได้รับยศตำแหน่ง วันขึ้นบ้านเมือง
  2. การสืบชะตาบ้าน เป็นการสืบชะตาชุมชนหรือหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดสิริมงคลปัดเป่าทุกภัยต่างๆ นิยม
    จัดเมื่อผ่านช่วงสงกรานต์ไปแล้ว
  3. การสืบชะตาเมือง เป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้นด้วยความเชื่อว่าเทวดาจะช่วยอำนวยความสุขให้บ้านเมือง
    เจริญรุ่งเรือง อุดมสมบูรณ์ ในสมัยโบราณพระเจ้าแผ่นดินเป็นประธานในพิธีสืบชะตาเมือง

รายละเอียดเพิ่มเติม...