วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับเพลงพื้นบ้าน
เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตเกษตรกรรม เพราะการสร้างสรรค์เพลงพื้นบ้าน เช่น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เพลงเหย่ย ขึ้นมานั้นเป็นสิ่งที่ชาวบ้านคิดขึ้น เพื่อเป็นเครื่องผ่อนคลายจาการทำ งานหนัก ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เกิดความสามัคคีในหมู่บ้านเดียวกัน และเป็นการเปิด โอกาสให้หนุ่มสาวได้รู้จัก พบปะพูดคุยกันโดยในสายตาของผู้ใหญ่ ในปัจจุบันสภาพสังคมและลักษณะการ ดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้เพลงพื้นบ้านถูกละเลย และเกือบจะสูญหายไปหมดแล้ว
เพลงพื้นบ้าน
เป็นร้อยกรองที่นำมาจัดจังหวะของคำ และใส่ทำนองเพื่อขับร้องในท้องถิ่นสืบทอดต่อกันมาด้วยวิธีจดจำ ที่มาของเพลงพื้นบ้าน เกิดจากนิสัยชอบบทกลอน หรือที่เรียกว่า “ความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอน” ของคนไทย ในท้องถิ่นต่างๆ ที่เรียงร้อยถ้อยคำมีสัมผัสคล้องจอง และประดิษฐ์ทำนองที่ร้องง่ายแล้วนำมาร้องเล่นในยาม ว่าง หรือระหว่างทำงานร่วมกัน เช่น ลงแขกเกี่ยวข้าว นวดข้าว เพื่อผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยจากการทำ งาน เพื่อความสนุกสนาน และเพื่อความสามัคคีในกลุ่มชน การใช้ถ้อยคำในเพลงพื้นบ้านนั้นมีลักษณะตรง ไปตรงมา นิยมใช้ภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน บางครั้งก็แฝงนัยให้คิดในเชิงสองแง่สองง่าม บางเพลงก็ ร้องซ้ำไปมาชวนให้ขับขัน
คุณค่าของเพลงพื้นบ้าน
เพลงพื้นเมืองเป็นมรดกทางวรรณกรรม ชาวบ้านนิรนามได้แต่งเพลงของเขาขึ้น บทเพลงนี้อาจจะมา จากความเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน และความอยู่ไม่สุขของปาก แต่บังเอิญหรือบางทีไม่ใช่บังเอิญ เพลงของ เขาไพเราะและกินใจชาวบ้านคนอื่นๆ ด้วย ดังนั้นเพลงดังกล่าวจึงได้แพร่กระจายออกไปเรื่อยๆ และในที่สุด ไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นคนแต่งเพลงบทนั้น และแต่งเมื่อใด