ข้อคิดประจำกัณฑ์ กัณฑ์มหาพน
|
อจุตฤาษีหลงเชื่อคารมของชูชกเจ้าเล่ห์ เลยบอกทางไปสู่เขาวงกต |
1.ฉลาดแต่ขาดเฉลียว (มีปัญญาแต่ขาดสติ)
2.สงสารฉิบหาย เชื่อง่ายเป็นทุกข์3.คบคนให้ดูหน้า(หน้าตา,หน้าที่,หน้าใน,จิตใจ)ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ ซื้อเสื่อให้ดุลาย ซื้อไร่ให้ดูดิน จะได้ไม่ผิดพลาด
|
ความย่อ
|
|
กัณฑ์ที่ 7 มหาพน มี 80 พระคาถา
ครั้นชูชกเดินทางไปตามคำแนะนำของเจตบุตรก็พบว่าท่านอจุตฤาษีที่อาศรมไต่ถามทุกข์สุขตามธรรมเนียมของผู้แรกพบ และเมื่อได้รับการปฏิสันถารเป็นอย่างดีของอจุตฤาษีเป็นที่พอใจแล้ว ก็เริ่มถามที่อยู่ของพระเวสสันดรโดยขอให้ช่วยบอกที่อยู่พร้อมทางที่จะไปด้วย
อจุตฤาษีไม่พอใจตัดพ้อตามอารมณ์ว่า ชูชกชะรอยจะมาขอ ชาลีกัณหาพระโอรสไปเป็นทาส หรือ ไม่ก็ขอพระนางมัทรี ไม่ใช่มาดี เป็นคนมาร้ายไม่น่าคบค้าทีเดียว
ชูชกแก้ตัวว่า ท่านอาจารย์เข้าใจผิด แต่ผมไม่โกรธดอก คนอย่างผมหรือจะมาเที่ยวขอให้เสื่อมเสียพงษ์พราหมณ์ ผมมาเพื่อเยี่ยมท่านจริงๆได้เห็นท่านเป็นกุศลได้สมาคมกับท่านเป็นความสุขตั้งแต่ท่านจากเมืองมายังไม่เลยพบปะเลยกรุณณาแนะนำให้ได้พบท่านสักหน่อยเถอะใอชูชกเอาความดีเข้าต่อเช่นนี้ อจุตฤาษีก็ใจอ่อนหลงเชื่อว่าเป็นจริง จึงให้ชูชกค้างอยู่ที่อาศรมคืนหนึ่ง ครั้นรุ่งเช้าจัดให้ชูชกบริโภคผลไม้ เผือกมัน แล้วก็พาไปต้นทางบอกทางไปอาศรมพระเวสสันดรอย่างละเอียดถี่ถ้วน พรรณนาถึงภูเขา ป่าไม้ ฝูงสัตว์ต่างๆ ด้วยเป็นป่าใหญ่ สมกับที่เรียกว่า ป่ามหาชน ชูชกกำหนดจดจำคำปนะนำของอจุตฤาษีจนเป็นที่พอใจแล้ว ก็นมัสการลาไป
จบความย่อ ปี่พาทย์ทำเพลงเชิดกลอง
อานิสงส์
ผู้บูชากัณฑ์มหาพน จะเสวยสมบัติในดาวดึงส์เทวโลกนั้นแล้ว ได้ลงมาเกิดเป็นกษัตริย์มหาศาล มีทรัพย์ศฤงคารบริวารมากมี อุทยานและสระโบกขรณีเป็นที่ประพาส เป็นผู้สมบรูณ์ด้วยศักดานุภาพเฟื่องฟุ้งไปทั่ชมพูทวีป อีกทั้งจักได้เสวยอาหารทิพย์เป็นนิตย์นิรันดร
|