การนำความรู้เรื่องทฤษฎีสีไปใช้
หลังจากที่นักเรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีสีมาแล้วในส่วนของเนื้อหาต่างๆ
ในส่วนนี้ขอนำเสนอเกี่ยวกับการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปใช้โดยสรุปและการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
1.
การใช้สีในสถานที่มืดและสว่าง
การจะเลือกใช้สีสำหรับตกแต่งภายในบ้าน
หรือสถานที่ต่างๆนั้น ประการแรกต้องคำนึงถึงก่อนว่าห้องนั้นได้รับอิทธิพลของแสงสว่างจากภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือเปล่า
เพราะว่าถ้าห้องนั้นๆมีแสงสว่างส่องถึงมากๆก็ควรใช้สีที่ลดความสดใสลงหรือสีกลางๆ(neutralized
tints) เพื่อจะได้ดูสบายตา นุ่มละมุน หากเราใช้สีที่สว่าง
จะดูไม่เหมาะสม ขณะเดียวกันหากห้องนั้น ได้รับแสงจากภายนอกน้อยเราต้องใช้สีที่สดใส
กระจ่ายช่วยในการตกแต่งเพราะห้องจะได้ไม่ดู
ทึม มืดทึบ ทำให้รู้สึกหดหู่ หลักการนี้ได้เกิดขึ้นมานานแล้วยกตัวอย่างเช่นภาพเขียนบนผนังของชาวอียิปต์
ซึ่งก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าผนังภายในสิ่งก่อสร้าง
ของชาวอียิปต์นั้นแสงสว่างผ่านเข้าไปได้
น้อยมากดังนั้นชาวอียิปต์นิยมใช้สีที่สดใส สว่างในการสร้างสรรค์ภาพ
การเขียนภาพด้วยสีทีสดใสในที่สว่างน้อยนั้น
จะทำให้ภาพเขียนสว่างพอดีตามต้องการเพราะความมืดของบรรยาการรอบๆอันเป็นสีกลางเข้ามามีบทบาททำให้สีที่สดใสลดความสดใสลงไปเอง
แต่ถ้าต้องการวางโครงสีให้สว่างมาก
ควรวางโครงสีให้มีความผสานกลมกลืนในจุดพอดี เพราะแสงสว่าไม่ทำให้ดุลย์ภาพของสีเสียไปแต่อย่างใด
2.
การใช้โครงสีสำหรับกลางแจ้ง
การนำหลักการด้านโครงสร้างสีไปใช้ในสถานที่กลางแจ้ง
นั้นมีหลักการที่ตรงกันข้ามกับประเภทแรก
งานสถาปัตยกรรมแถบประเทศทางตะวันออกเช่นสถาปัตยกรรมไทยมักมุงหลังคาบ้านด้วยสีสดใสเช่น
แดง เขียว เหลือง น้ำเงิน ท่ามกลางสภาพอากาศที่แดดจัดจ้าน
ร้อนแรง ซึ่งก็ดูสดใสงดงาม เข้ากับสภาพแวดล้อม
แต่หากเป็นบ้านเรือนในแถบยุโรป ซึ่งบรรยากาศของเขา
ทึมๆ ไม่กระจ่างอย่างแถบบ้านเรา
หากใช้สีที่สดใสจะดูไม่น่ามอง บาดตา โดดออกมาจากสภาพแวดล้อม
ดังนั้นควรเลือกใช้สีที่ลดความสดใส ลงจะทำให้น่าดูและกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม
3.
สีที่ได้รับอิทธิพลของแสงไฟเข้ามาผสม
แสงไฟนับว่ามีอิทธิพลต่อโครงสร้างของสีพอสมควร
อาจทำให้เกิดความผันแปรได้ในรูปแบบต่างอช่น อาจทำให้สีเข้มขึ้น
ส่วางขึ้น มืดลง สลัว หรือจมหายไป เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าว
ก่อนการที่จะวางโครงสีใดๆควรคำนึงถึงเรื่องของแสงไฟเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเสมอ
อาจทำโดยกำหนดโครงสร้างของสีแล้วนำมาทดสอบกับแสงไฟจริงดู
สังเกตผลที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ดีกว่าเรามาเดาหรือคิดเอง ดังนั้นการกำหนดโครงสร้างสีควรทำควบคู่ไปกับการติดตั้งระบบไฟ
เพื่อจะทำให้ทั้งสองส่วนนั้นได่สัมพันธ์กัน
ถ้าแสงไฟที่ใช้เป็นแบบธรรมดา การจัดสีให้ดูกลมกลืนมีหลักเกณฑ์ดังนี้
สีแดงจะดูสดใสกระจ่าง
ส่วนสีแดงเข้มจะออกไปทางสีแสด สีม่วงแดงจะออกไปทางสีแดง
สีม่วงครามอาจกลายเป็นม่วง สีครามจะออกไปทางสีเทา
สีน้ำเงินจะดูปรากฏเด่นชัดขึ้น ส่วนสีเหลืองจะออกไปทางส้ม
และแสงส่วงจัดขึ้นสีเหลืองอาจจมหายไป ดังนั้นผู้สร้างสรรค์ควรต้องศึกษาทำความเข้าใจในจุดนี้
เพื่อประโยชน์เวลานำไปใช้เช่นในการจัดฉากเวทีละคร
การแสดง รวมทั้งเครื่องแต่งกายของตัวแสดง เพราะหากไม่ศึกษาอาจทำให้เกิดผลเสียตามมาได้เช่นเกิดจุดเด่นในที่ที่ไม่ต้องการ
สีกับการตกแต่งภายในและภายนอกสถานที่
การตกแต่งสถานที่ต่างๆให้สวยงาม
ถูกใจ สบายใจและรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัยเมื่ออยู่ในที่นั้นๆ
ความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการเลือกใช้สีที่แสดงออกมาทางจิตวิทยา
ที่เกิดผลกับจิตใจมนุษย์อย่างที่เราไม่รู้ตัว
นั่นแสดงว่าสีมีอิทธิพลต่อจิตใจเรา
ตัวอย่างเช่น สีแดงและสีเหลืองให้ความรู้สึกตื่นเต้น
สีน้ำเงินและสีเขียว ให้ความรู้สึกสงบ จิตใจถูกน้อมลงสู่สันติสุข
ซึ่งเป็นหลักจิตวิทยาที่เห็นอย่างง่ายๆ ดังนั้นการวางโครงสร้างของสีในการใช้ในชีวิตประจำวันก็ควรจัดสรรให้ถูกต้องกับเรื่องราวหรือประโยชน์ใช้สอย
สีแต่ละสีย่อมแสดงอารมณ์ที่ต่างกันซึ่งพอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้
- สีทองเงิน
และสีที่มันวาว แสดงถึงความรู้สึกมั่นคง
- สีขาว
แสดงถึง
ความบริสุทธิ์ เบิกบาน สะอาด
- สีดำอยู่กับสีขาว
แสดงถึงความรู้สึกทางอารมณ์ที่ถูกกดดัน
- สีเทาปานกลาง
แสดงถึงความนิ่งเฉย
สงบ
- สีเขียวแก่ผสมกับสีเทา
แสดงถึงความสลด
รันทดใจ ชรา
- สีเขียวและน้ำเงิน
แสดงความรู้สึกสงบเงียบ
- สีสดและสีบางๆทุกชนิด
แสดงความรู้สึกกระชุ่มกระชวย
แจ่มใส
- สีดอกกุหลาบ
แสดงถึงความอ่อนหวาน
นุ่มนวล
- สีแดง
แสดงถึงความตื่นเต้น
เร้าใจ
- สีแดงเข้ม
แสดงถึงความสง่าผ่าเผย
ปีติ อิ่มเอิบ
- สีเหลือง
แสดงถึงความไพบูลย์
แต่ทั้งนี้ผู้คนบางคนบางกลุ่มอาจมีความรู้สึกกับสีที่ต่างอารมณ์
ต่างความรู้สึกซึ่งกันและกันได้ อาจเป็นเพราะเหตุผลส่วนตัว
หรือขนบธรรมเนียม
จารีตของแต่ละกลุ่มชน สีนอกจากจะให้ความรู้สึกทางอารมณ์ที่ต่างกันแล้วยังแสดงถึงระยะที่ต่างกันของวัตถุที่ต่างกันด้วย
สีกับการตกแต่งภายนอกอาคาร
มีหลักการดังนี้
- การใช้สีต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของอาคารนั้นๆ
- ต้องผสานสัมพันธ์กับสีของอาคารใกล้เคียงเท่าที่จะทำได้
- อาคารขนาดใหญ่ไม่ควรใช้สีรุนแรง
ควรใช้สีเลียนแบบธรรมชาติเช่นสีอิฐ หินอ่อน
ยกเว้นสีเทาของปูนจะดูไม่ดี ส่วนสีหวานๆไม่เหมาะกับอาคารหากแต่เหมาะกับพวกเสื้อผ้า
ซึ่งอาคารไม่ต้องการจุดมุ่หมายของอาคารใหญ่ต้องการแสดงความตระการตาโอ่อ่า
- อาคารเล็กควรใช้สีที่สดใสขึ้นกว่าอาคารใหญ่แต่ต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับอาคารแวดล้อมด้วย
- อาคารที่อยู่ในที่ที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติ
สามารถใช้สีสดใสอย่างไรก็ได้
- ไม่ควรใช้สีฟ้าอ่อนหรือเขียวอ่อนกับอาคารที่มีขนาดใหญ่ปานกลางเพราะจะทำให้ดูโครงสร้างของอาคารอ่อนแอ
- การจัดสวนซึ่งต้องนำต้นไม้หลายชนิดมาจัดวางเช่นสีเขียว
เขียวอ่อน เหลือง แต่โดยรวมแล้วก็เป็นสีเขียวซึ่งอาจดูไม่ดี
เราสามารถนำเอาดอกไม้มาจัดสลับกันไปแต่ต้องจัดวางอย่างมีองค์ประกอบไม่ใช่วางเปะปะ
- การจัดตู้โชวตามห้างร้าน
ไม่จำกัดว่าใช้สีใดเพราะเป็นมุมเล็กๆส่วนหนึ่งของอาคาร
การใช้สี ไม่ทำให้อาคารเสียดุลยภาพ แต่ก็ไม
่ควรเลือกสีที่จัดไปนักเพราะถึงแม้จะดึงดูดความสนใจได้แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้เบื่อง่ายเช่นกัน
สีกับการตกแต่งภายใน
การใช้สีเพื่อตกแต่งภายในต้องคำนึงถึงจุดมุ่หมายของห้องนั้นๆเช่นกัน
เพราะห้องต่างๆมีจุดมุ่งหมายต่างกันการใช้สีอย่างถูกต้องตามหลักจิตวิทยา
จะมีอิทธิพลต่อจิตใจผู้คนได้ แต่ทั้งนี้หากเป็นบ้านส่วนบุคคลอาจไม่ต้องคำนึงถึงหรือจัดโครงสีตามใจเจ้าของบ้านได้
ตัวอย่างของการจัดโครงสีของแต่ละห้องพอสรุปได้ดังนี้
- ห้องพักหรือห้องนอน
ควรใช้สีที่เหมาะสมกับเพศและวัยของผู้อยู่
ส่วนใหญ่มีหลักว่าควรเป็นสีเรียบๆ ไม่หนักหรือทึมเกินไป
ทางที่ดีควรเป็นสีเดียว คือโครงสีเอกรงค์
- ห้องนั่งเล่นพักผ่อน
เป็นห้องที่ใช้บ่อยดังนั้ควรเลือก ใช้สีพื้นๆเพราะหากใช้สีสดใสอาจทำให้เบื่อง่าย
เมื่อเราใช้สีพื้นๆและตกแต่งด้วยภาพแขวน
หรือดอกไม้ ห้องก็จะน่ามอง น่าอยู่
- ห้องรับแขก
เป็นห้องที่ใช้พบปะหรือต้อนรับ สังสรรค์
ควรใช้สีที่อบอุ่นเช่นอาจใช้สีส้มอ่อน(โดยผสมให้เป็นกลางสักเล็กน้อย)ทาผนัง
พื้นห้องควรเป็นพรมสีม่วงครามเป็นกลางๆ
ใช้สีส้มแก่หรือเข้มตามฟอร์นิเจอร์และวัตถุต่างๆขนาดเล็ก
ควรทาด้วยสีแสด
โครงสร้างนี้จะทำให้รู้สึกเบิกบานใจ แต่อย่างไรก็ตามสามารถพลิกแพลงจัดได้อีกมากมาย
- ห้องเด็ก
ควรใช้สีที่อบอุ่น เพราะช่วยให้เด็กเบิกบาน
และให้เป็นที่พอใจของเด็กด้วย การใช้สีตัดกันโดยให้มีปริมาณมากน้อยก็นับว่าใช้ได้ดี
- ห้องน้ำ
สีควรเป็นจำพวกวรรณะเย็น เพื่อจูงใจให้ผู้ใช้รู้สึกสดชื่นไม่ควรใช้สีกลางหรือสีหนักเพราะจะดูอึดอัด
นั่นเป็นส่วนหนึ่งของการเลือกใช้สีเท่านั้นผู้เรียนอาจศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานและแนวทางในการศึกษาขั้นที่สูงกว่าในโอกาสต่อไปอย่างไรก็ตามหากได้รับการฝึกฝนพอสมควรก็จะสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะอย่างมีหลักการ
โดยนำความรู้ด้านทฤษฎีสีไปใช้ได้อย่างเหมาะสมพัฒนาความรู้ความสามารถได้อย่างไม่จบสิ้น
ทดสอบหลังเรียน
|