สีตัดกัน
สีตัดกันหรือสีตรงข้ามก็คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสีนั่นเอง
การที่เราจะทราบว่าสีคู่ใดเป็นสีตรงข้ามกันอย่างแท้จริงหรือไม่
ให้นำเอาสีคู่นั้นมาผสมกันดู ถ้าผลการผสมกันออกมาเป็นสีกลางนั้นหมายถึงว่าสีคู่นั้นเป็นคู่สีตัดกันอย่างแท้จริง
ตัวอย่างสีคู่ตัดกันมีดังนี้
|
สีเขียวเหลือง
กับ สีม่วงแดง
|
|
สีเขียว
กับ สีแดง
|
|
สีเขียวแก่
กับ สีแดงส้ม
|
|
สีน้ำเงิน
กับ สีส้ม
|
|
สีม่วง
กับ สีเหลือง
|
|
สีม่วงน้ำเงิน
กับ สีเหลืองส้ม
|
สีดังตัวอย่างนั้นเป็นคู่สีที่ตัดกันซึ่งการใช้สีตัดกันในการสร้างงานศิลปะนั้นต้องมีหลักเกณฑ์พอสมควร
หากใช้อย่างไม่รู้หลักการแล้วจะทำให้การสร้างสรรค์ผลงานออกมาไม่น่ามอง
ขัดต่อหลักการทางศิลปะ อีกด้วย การสร้างงานศิลปะที่มีแต่สีกลมกลืนโดยไม่นำสีที่ตัดกันไปใช้บางครั้งทำให้ภาพดูน่าเบื่อหากนำสีตัดกันไปใช้จะทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวา
ดังนั้นหากจะนำสีตัดกันมาใช้ในงานศิลปะควร
ต้องศึกษาหลักการต่อไปนี้
เมื่อเราระบายสีในภาพโดยใช้โทนสีที่กลมกลืนกัน
5 - 6 สี ถ้าต้องการให้ภาพดูมีชีวิตชีวา
ไม่จำเป็นต้องใส่สีคู่ที่ 5 หรือ 6 ลงไป ให้เลือกเอาสีใดสีหนึ่ง
อาจเป็นหนึ่งหรือสองสีที่เกิดการตัดกันกับวรรณะของสีโดยรวมของภาพนั้น
ซึ่งไม่เจาะจงให้ตัดกับสีใดสีหนึ่งโดยเฉพาะ วิธีการใช้สีตรงข้ามหรือสีตัดกันมีหลักการดังนี้
- ปริมาณของสีที่ตัดกันกับวรรณะของสีทั้งหมดในภาพต้องอย่าเกิน
10% ของเนื้อที่ในภาพเขียน
- ในลักษณะการนำไปใช้
ในทางประยุกต์ศิลป์หรือเชิงพานิชควรใช้ตามหลักเกณ์ดังนี้
- การใช้สีตรงข้ามหรือสีตัดกัน
ต้องใช้สีใดสีหนึ่งจำนวน 80% อีกฝ่ายหนึ่ง
ต้องเป็น 20% จึงจะมีคุณค่าทางศิลปะ
- หากจำเป็นต้องใช้สีคู่ใดคู่หนึ่งปริมาณเท่าๆกัน
ควรต้องลดค่าของคู่สีลง
- หากภาพเป็นลายเล็กๆ
เช่น ภาพที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใบไม้เล็ก การใช้สีตัดกันอย่างสดๆ
สลับกัน ผลคือจะผสมผสานกันเอง
- หากจำเป็นต้องใช้สีตัดกันในภาพใหญ่ๆหรือพื้นที่ภาพมากๆและสีคู่นั้นติดกัน
ควรใช้เส้นดำมาคั่นหรือตัดเส้นด้วยสีดำ เพื่อลดความรุนแรงของภาพและคู่สีได้ดังตัวอย่าง
ตัวอย่างภาพสีตัดกัน
ตัวอย่างภาพการลอความรุนแรงของสีตัดกันด้วยสีดำ
อย่างไรก็ตามหลักการใช้สีตัดกันในงานศิลปะที่กล่าวมานั้นอาจเป็นหลัการกว้างๆเท่านั้น
เพราะเมื่อเราสร้างสรรค์งานศิลปะจริงๆ
จะเคร่งคัดตามเกณฑ์ทุกประการไปคงไม่ได้
ผู้สร้างสรรค์ควรต้องมีการฝึกฝน และพลิกแพลงวิธีการใช้งานด้วยตนเอง
|