วรรณะของสี
จากการที่นักเรียนได้ศึกษาเรื่อง
แม่สี ในกลุ่มต่างๆ และเรื่องวงจรสีมาแล้ว รวมทั้งได้ทำกิจกรรมต่างๆ
คงพอทำให้มีพื้นฐานทางการใช้สีในงานศิลปะแต่ทราบหรือไม่ว่าสีที่นักเรียนผสมออกมาทั้ง
12 สีนั้น สามารถแยกออกเป็นสองกลุ่มตามค่าความเข้มของสี
หรือที่เรียกว่าวรรณะของสี (Tone of color) วรรณะของสีก็คือ
ค่าความแตกต่างของสีแต่ละด้านของวงจรสีที่แสดงถึงความรู้สึกที่แตกต่างกัน
ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับเสียงเพลงหรือเสียงดนตรีก็คือเสียงสูง
เสียงต่ำ ที่แสดงออกทางอารมณ์ ที่มีการเคลื่อนไหว
มีชีวิตชีวา หรือเศร้าโศกหรือรันทดใจ
สีที่อยู่ในวรรณะร้อน(warm
tone color) สีที่อยู่ในวรรณะเย็น(cool
tone color)
ได้แก่ สีเหลืองส้ม สีส้ม สีแดง
และสีม่วงแดง ได้แก่ สีเขียว สีฟ้า สีม่วงคราม
สีทั้งสองวรรณะอาจจะไม่ใช่สีที่สดดั่งเช่นในวงจรสี
เพราะความจริงแล้วในธรรมชาติยังมีสีที่แตกต่างไปจากในวงจรสีอีกมากมาย
ให้อนุมานว่าสีใดที่ค่อนไปทางสีแดง หรือสีส้มให้ถือว่าเป็นสีวรรณะร้อน
ส่วนสีที่ค่อนไปทางน้ำเงิน
เขียวให้อนุมาว่าเป็นวรรณะเย็น ในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่ต้องให้สีหลายสีในภาพอย่างอิสระ
และผู้เขียนสามารถใช้สีให้เกิดความกลมกลืนเป็นอย่างดีจนชำนาญ
จะเห็นว่าเรื่องของวรรณะของสีนั้นเข้ามามีบทบาทในภาพเขียนเสมอ
กล่าวคือโทนสีของภาพจะแสดงงออกไปทางใดทางหนึ่งของวรรณะสีเสมอ
นั่นคือองค์ประกอบหนึ่งที่จะนับได้ว่าเป็นภาพเขียนที่ดี
คือเมื่อเขียนภาพโทนเย็นก็มักจะเอาสีในวรรณะเย็นมาใช้เป็นส่วนมาก
ส่วนภาพที่เป็นโทนร้อน ก็จะนำสีในวรรณะร้อนมาใช้มากเช่นกัน ในวรรณะของสีแต่ละฝ่ายยังสามารถแยกออกเป็นอีก
2 ระยะคือ ร้อนอย่างรุนแรง หรือเข้มข้น
คือแสดงออกถึงความรุนแรงของโทนสีในภาพที่มีผลต่ออารมณ์ของผู้ชมอย่างแรง
และ ร้อนอย่างเบาบาง คือให้ความรู้สึกที่ไม่ร้อนแรงมากอย่างประเภทแรก
ใช้โทนสีที่ร้อนแต่ไม่รุนแรง
ภาพเขียนที่ใช้โทนสีหรือวรรณะของสีเข้ามาเกี่ยวข้องมักแสดงความรู้สึกและอารมณ์ในภาพ
เช่นวรรณะเย็นให้ควารมรู้สึก เศร้า สงบ
ราบเรียบ ส่วนวรรณะร้อนให้ความรู้สึกรื่รเริง
เจิดจ้า และความขัดแย้งขึ้นอยู่กับอารมณ์ของศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน
จิตรกรผู้สร้างมีอารมณ์ใดในขณะนั้นก็มักแสดงออกมาถึงโทนสีและความรู้สึกในภาพเขียนเช่น
ปิคัสโซ่ (จิตรกรชาวเสปญ เกิดที่เมือง Malage
เมื่อปี ค.ศ.1881) ซึ่งเมื่อขณะที่เขาเป็นหนุมมีความรักมักสร้างผลงานในวรรณะร้อนค่อนไปทางชมพู
ส่วนในช่วงที่เขาทุกระทม ภาพเขียนเขาจะใช้สีในวรรณะเย็นค่อนไปทางน้ำเงิน
รวมทั้งศิลปินต่างๆในประเทศไทยเราก็สร้างสรรค์ผลงานออกมาโดยใช้ความรู้เรื่องวรรณะของสีไปใช้ในการสร้างสรรค์เช่นเดียวกัน
ตัวอย่างภาพจิตรกรรมที่ใช้สี
วรระเย็น ตัวอย่างภาพจิตกรรมที่ใช้สี
วรรณะร้อน
หลักในการใช้ความรู้เรื่องวรรณะของสีในการสร้างสรรค์งานศิลปะ
ในการส้รางสรรค์งานศิลปะโดยมากเรามักจะเน้นโทนสีของภาพออกไปในทางวรรณะใดวรรณะหนึ่งเป็นหลักอยู่แล้ว
แต่บางครั้งเราสามารถนำเอาสีทั้งสองวรรณะมาไว้ในภาพเดียวกันได้
เพียงแต่รู้หลักในการนำมาใช้ กล่าวคือหากจะนำสีทั้งสองวรรณะมาไว้ในภาพเดียวกัน
ถ้าเราใช้สีวรรณะร้อนที่มีเปอร์เซ็นต์มากกว่า
ตั้งแต่ 70 ถึง 80 เปอร์เซ้นต์ของภาพแล้วใช้สีวรรณะเย็นเพียงเพียง
30 หรือ 20 เปอร์เซ็นต์ ผลของภาพนั้นก็ยังเป็นภาพวรรณะร้อน
(warm tone) ดังนั้นการจะสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในวรรณะเย็นหรือร้อนไม่จำเป็นต้องใช้สีในวรรณะร้อนหรือเย็นเพียงอย่างเดียว
เราสามารถเอาสีต่างวรรณะมาผสมผสานกันได้แต่คุมปริมาณให้อยู่ในวรรณะใดวรรณะหนึ่งในปริมาณที่ยกตัวอย่างไปข้างต้น
|