1.ทฤษฎีสี
 แม่สี (2)

 

        1.แม่สีและความเป็นมาของแม่สี

      สีในงานศิลปะที่เราใช้กันนั้น โดยมากมักเป็นสีประเภทสำเร็จรูป กล่าวคือเมื่อเปิดขวดขึ้นมาก็สามารถนำมาใช้ได้ทันที จนทำให้เราขาดทักษะความรู้ด้านการผสมสีให้ได้มาซึ่งสีในรูปแบบต่างๆ  นับแต่อดีตกาล มนุษย์เรารู้จักการใช้ส ีในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆรอบๆตัว  เช่นว่า การนำเอาสีของยางไม้ไปเขียนตามผนังถ้ำทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจศิลปินสมัยก่อนๆเห็นว่าเรื่องของสีเป็นเรื่องยุ่งยาก  ทำให้การ สร้างสรรค์งานศิลปะในยุคก่อนไม่ค่อยคำนึงถึงกฏเกณฑืหรือหลักการเท่าไรนัก

                ในยุคโบราณสีที่ใช้เป็นอุปกรณ์ในการเขียนภาพ ไม่ได้ได้มาจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  แต่ได้จากการนำเอาวัตถุดิบที่มีอยู่  ธรรมชาติมาทำให้เกิดสีเช่น สีแดง ได้จากยางไม้ ดินแดง หรือหินสีมาบดหรือแม้บางครั้งก็นำมาจากเลือดของสัตว์ สีขาวได้จากดินขาว สีดำได้จากการนำเอาเข่มาจากก้นภาชนะมาละลายน้ำ สีครามได้จากดอกไม้บางชนิด สีเหลืองได้จากดินเหลืองหรือยางรงซึ่งในยุคนั้นไม่  ค่อยนิยมนำมาใช้ในการเขียนภาพแต่มักจำนำสีที่ได้มาใช้ในการย้อมผ้าแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเชื่อ วิถีทางวัฒนธรรมของแต่ละชนชาติว่า  นิยมหรือมี  วิธีในการสร้างสรรค์อย่างไรเช่นชาวจีนไม่ค่อยนิยมที่จะเขียนภาพด้วยสีเท่าไรนัก แต่กลับนิยมเขียนภาพด้วยหมึกดำส่วนชนชาติไทยเรานิยมใช้หลายสี   แต่ไม่มากนัก เพราะสีที่หาได้จะมีจำนวนจำกัดเท่าที่หาได้จากธรรมชาติ ได้แก่สีดำ สีขาว สีแดง และเหลือง   ภาพเขียนเก่าแก่ของไทยจากกรุปรางค์ทิศวัดมหาธาตุอยุธยา กรุปรางค์ใหญ่วัดมหาธาตุ ราชบุรี(น. ณ ปากน้ำ:1) ต่อมาในยุคหลังๆที่มี  การพัฒนาด้านเทคโนโลยีมีการคิดค้นและผลิตสีต่างๆออกมามากมาย หลายชนิด  ทำให้การใช้สีนั้นกลายเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยากเพราะว่าคู่สีบางคู่มีความสดและเข้มพอๆกัน ทำให้เข้ากันไม่ได้เกิดความขัดแย้งและไม่เหมาะสม ขาดความนุ่มนวล ดังนั้นผู้เรียนจึงควรรู้จักหลักเกณฑ์ในการ รู้กฏเกณฑ์ในการใช้สีพอสมควร จึงจะทำให้การสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะดูสวยงามและมีคุณค่า          

             แม่สีในยุคปัจจุบัน อาจจำแนกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1.1 แม่สีจิตวิทยา   1.2 แม่สีวิทยาศาสตร์  และ1.3. แม่สีศิลปะ

   เมื่อทำความเข้าใจในบทเรียนส่วนนี้แล้วผู้เรียนควรทดสอบด้านทฤษฎีโดยการทำแบบฝึกหัด และฝึกทักษะด้านศิลปะด้วยแบบฝึกทักษะ

   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  จัดทำโดย นายสมพงษ์    เกศีนิลพรรณ

Copyright(c) 2003 Mr.Somphong  Kesinilphan.All right reseved.

 

คุณเข้ามาเยี่ยมชมอันดับที่

ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2546