วิธีดำเนินงาน

 

Homeพลังงานขับเคลื่อนสิ่งแรกของโลกรถไฟประวัติศาสตร์โลกรถไฟขบวนแรกในสยามปฐมฤกษ์รถไฟหลวงรถจักรไอน้ำแห่งเกียรติภูมิรถไฟเร่งฝีจักรความเจริญเข้าสู่ไทยชูเกียรติคนรถไฟ

aum_aom@hotmail.com

วิธีดำเนินงาน 
เปิดใช้อุโมงค์ 

การดำเนินงาน

        งานขุดเจาะนั้นลำบากอย่างยิ่งเพราะมีเครื่องมือไม่เพียงพอมักต้องใช้แรงคนเป็นส่วนใหญ่  คนงานที่ใช้แบ่งเป็นสามพวกคือ นักพนันร่อนเร่  กรรมกรขี้เหล้า  และพวกขี้ยาซึ่งเป็นพวกที่ทำงานดีที่สุด  คนงานที่ติดฝิ่นจะได้รับค่าจ้าง่วนหนึ่งและเป็นฝิ่นอีกส่วนหนึ่งกรรมกรขี้ยาพวกนี้จะขยันมากเพราะถ้าม่ทำงานก็ไม่มีฝิ่น  เชื่อกันว่าควันพิษต่างๆที่คลุ้มในอุโมงค์ถึงสูดเข้าไปเท่าไรก็ไม่อันตราย  ควันฝิ่นสามารถกำจัดได้หมด

        กรรมวิธีในการขุดเริ่มด้วยการเจาะรูเล็กๆ โดยใช้สว่านหรือใช้แรงคนตอกสกัด  เมื่อมีรูลึกเข้าไปตามความต้องการแล้วจึงเอาดินระเบิด ไดนาไมต์สอดเข้าไป  แล้วใสส่เชื้อปะทุแก๊ปทำหน้าที่จุดระเบิด

        การต่อแก๊ปเข้ากับายชนวนใช้วิธีเอาคีมบีบให้ติดกันซึ่งมักมีปัญหาบ่อยๆคือ แทนที่จะรอคีมที่มีจำนวนจำกัด  คนงานจึงใช้ฟันแทนคีม แก๊ปที่ระเบิดในปากอาจจะทำให้คนงานตายไปไม่กี่ราย  แต่ว่ากันว่าเป็นาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนงานจำนวนไม่น้อยฟันหลอหมดทั้งปาก

        การขุดเจาะใช้วิธีทันสมัยคือ  ขุดเป็นสองช่อง  ข้างบนและล่าง  เพื่อความะดวกในการขนดินและหินจากอุโมงค์  และทำการขุดจากปลายอุโมงค์ทั้งสองข้างเข้าไปบรรจบกันตรงกลาง  ซึ่งต้องมีวิธีการคำนวนอย่างแม่นยำเพื่อให้บรรจบกันพอดี

        เมื่อขุดลึกเข้า  ทำให้ไม่มีอากาศพอเพียง  ก็มีที่สูบอากาศจากภายนอกเข้าไปช่วย เช่นเดียวกับการขุดอุโมงค์ในปัจจุบัน เพียงแต่ว่าเครื่องสูบลมนั้นใช้เครื่องจักรไอน้ำเป็นกำลัง

        การขนดินและหินที่เจาะออกมาข้างนอก  ส่วนใหญ่ใช้กำลังคนเพราะเป็นอุโมงค์ที่ไม่ยาวนักแต่ก็เป็นภาระอันหนักไม่น้อการขุดเจาะนี้ต้องใช้เวลาถึง 8 ปีจึงทะลุถึงกันได้  ระหว่างนั้นมีปริมาณหินที่ขุดออกมาทั้งสิ้นกว่า 60,000 ลูกบาศ์กเมตร

        ในระหว่างนั้นได้เกิดเหตุการณ์น่าสลดใจ  คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสวรรคต และผู้ที่ได้รับมอบภาระในการสร้างกิจการรถไฟให้ก้าวหน้าตามพระราชปรารถนาคือ พระเจ้าลูกยาเธอ  พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมหมื่นกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน

        เมื่อเสร็จการขุดเจาะแล้ว  งานก่อสร้างต่อจากนั้นเป็นการผูกเหล็กและเทคอนกรีตทำผนังและหลังคาเพื่อความแข็งแกร่งและป้องกันน้ำรั่วซึ่ม  ซึ่งต้องใช้เวลา 3 ปี จนถึงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2461  เมื่อเสร็จงานคอนกรีตแล้วจึงมีพิธีชักรอกกตัวครุฑหล่อด้วยคอนกรีตขึ้นประดิษฐานเหนือปากอุโมงค์ทั้งสองด้าน

        ความสำเร็จในการก่อสร้างตัวอุโมงค์มิได้หมายความว่าขบวนรถไฟจะสามารถแล่นจากลำปางผ่านอุโมงค์ขึ้นไปู้เชียงใหม่ได้ทันที  ปรากฏว่าต้องใช้เวลาอีกถึง 6 ปี

        เมื่อขุดเจาะอุโมงค์เสร็จเรียร้อยแล้ว  ยังวางรถไฟจากลำปางไปได้ไม่ถึงปากอุโมงค์ด้านทิศใต้  เนื่องจากภูมิประเทศแถวปางหละอันเป็นป่าเปลี่ยวก่อนถึงขุนตาน  แม้จะเป็นระยะทางเพียง 8 กม.  แต่ก็เป็นโขดเขาสูงชัน ยากแก่การถางวางรางรถไฟมาก

        นอกจากป่ารกชันแล้วปรากฏว่าในช่วงทางระหว่างป่าหละกับปากอุโมงค์ต้องผ่านเหวลึก ซึ่งไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้จึงต้องใช้วิธีทำสะพานทอดข้าม  สะพานข้ามสามแห่งนี้เรียกว่า ปางยางเหนือ  ปางยางใต้ ปางหละ  

        การสร้างสะพานให้ขบวนรถไฟในเมื่อ 70 ปีที่แล้วไม่ใช้เรื่องง่ายๆ  ทั้งสามสะพานเป็นไม้  ไม่สามารถใช้เสาเป็นต้นๆค้ำยันจากก้นเหวได้  จึงต้องใช้ไม้ประกอบทำเป็นรูปหอสูงรอบรับรางตลอดความกว้างของเหว  จำนวนหอที่ทำหน้าที่เสาจึงแสดงความกว้างของสะพานด้วย

 

 

เริ่มพิธีเสร็จพิธี

 

 


คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่

ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2545
www.thaigoodview.com
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail :
thaigoodview@hotmail.com
ICQ : 82032264


Copyright(c) 2002 waleethip. All rights reserved.