![]() |
|
|
รถไฟเร่งฝีจักรเพื่อไทยอยู่รอดและพัฒนา นับแต่วาระ ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง" การรถไฟของไทยได้เจริญก้าวหน้าอย่างล้าช้าแต่มั่นคง ที่เป็นเช่นนี้เพราะกิจการรถไฟยังเป็นของใหม่สำหรับสยามประเทศ ยังเป็นเพราะในขณะนั้นเป็นเวลาที่มีการคุกคามอย่างหนักจากประเทศมหาอำนาจ การจัดการบ้านเมืองให้ก้าวหน้าและทันกับเหตุการณ์อย่างหนึ่งในพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือเร่งรัดจัดให้มีการเดินรถไฟขึ้นในไทย ทั้งนี้นอกจากเพื่อใช้เป็นการขนส่งมวลชนสาธรณะเพื่อบำรุงบ้านเมืองแล้ว ยังทรงมีพระราชประสงค์ให้ใช้เพื่อป้องกันการรุกรานดินแดนของอริราชศัตรูอีกด้วย ดังเช่นทางรถไฟสายปากน้ำนั้น นอกจากจะเชื่อมกรุงเทพกับสมุทรปราการแล้ว ยังเป็นเส้นทางลำเลียงทหารไปสกัดกั้นการรุกรานทางปากน้ำเจ้าพระยาถ้าหากเกิดมีได้โดยรวดเร็ว ส่วนทางรถไฟสายนครราชสีมา ทรงมีพระบรมราโชบายใช้สกัดกั้นทางด้านอินโดจีนฝรั่งเศษ เป็นความมุ่งประสงค์สำคัญไม่น้อยกว่าเพื่อใช้ในการพัฒนภาคอีสาน นอกจากการพัฒนาด้านการขนสส่งคมนาคมแล้ว ยังทรงเร่งรัดจัดให้มีสิ่งที่ทรงรับสั่งสิ่งที่เรียกว่าความศิวิไลซ์ ให้มีขึ้นในประเทศโดยทันท่วงทีก่อนที่จะมีประเทศอื่นจะมาช่วยสร้างให้ และทรงใช้พระปรีชาสามารถรอบด้านอย่างน่าอัศจรรย์ ผสมผสานงานทุกอย่างให้สอดคล้องดำเนินปได้อย่างพร้อมๆกัน นอกจากนี้ยังทรงเร่งรัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นขึ้นตามแแบบอย่างอารยประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้มหาอำนาจนักล่าอานาณิคมยื่นมือเข้ามาสอดแทรก พระราชกรณียกิจเพื่อความอยู่รอดและพัฒนาชาติบ้านเมืองนั้นมีอยู่มากมาย แต่ที่ได้หยิบมากล่าวถึงสามเรื่องนี้เพราะมีความเกี่ยวพันกับพระบรมราโชบายในเรื่องการรถไฟเป็นอย่างมาก พระราชกรณียกิจทั้งสามนี้เกิดขึ้นในวาระครบรอบ100ปีพอดีพร้อมกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มสร้างทางรถไฟหลวงสายแรกด้วยพระราชพิธีขุดดินพระฤกษ์หลังจากนั้น 5 ปีขบวนรถไฟหลวงได้ใช้จักรผ่านเส้นทางสายนครราชสีมาไปอยุธยาเป็นครั้งแรก สถานีแรกที่ขบวนรถไฟพระที่นั่งหยุดจอดคือ บางปะอิน ในปีเดียวกันนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ เป็นการวางรากฐานงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นและการปกครองระบอบประชาธิปไตยขึ้นเป็นครั้งแรกที่บางประอิน กว่าที่ทางรถไฟสายใต้จะเริ่มก่อสสร้างจากต้นทางที่บางกอกน้อยก็ถึงปลายปี 2442 โดยมีปลายทางอยู่ที่ เพชรบุรี ซึ่งใช้รางขนาดกว้าง 1 เมตร ต่างกับทางรถไฟสายนครราชสีมาที่ใช้รางกว้าง 1.435 เมตร อันนับเป็นความกว้างมาตราฐานของการรถไฟในโลกปัจจุบัน หนึ่งเดือนหลังจากนั้น การก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือก็เริ่มด้วยการวางรางแยกจากทางรถไฟสสายนครราชสีมาที่ชุมทางบ้านภาชีมุ่งขึ้นสู่ลพบุรีเป็นสถานีปลายทาง กว่าที่ทางรถไฟสายเหนือจะเดินได้ถึงสถานีปากน้ำโพอันเป็นปากประตูสสู่ภาคเหนือก็เกือบสิ้นปี 2448 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มสร้างทางรถไฟสายตะวันออก
|
คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่
ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่
8 กันยายน พ.ศ. 2545 Copyright(c) 2002 waleethip. All rights reserved. |