![]() |
|
|
ความเจริญเข้าสู่ประเทศไทย กิจการรถไฟในทศวรรษก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ภายใต้การนำของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธินมีความเจริญมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ฐานกำลังสำคัญในการพัฒนารถไฟคือ โรงงานมักกะสัน เปิดทำงานซ่อมบูรณะรถไฟได้ในพ.ศ. 2453 ด้ววยค่าก่อร้างทั้งสิ้น104,732 บาท วันที่ 25 พ.ย. 2454 เปิดเดินรถไฟสายใต้ได้ถึงหัวหินและการก่อสร้างทางรถไฟรุดลงใต้อย่างรวดเร็วไม่ยิ่งย่อนกว่าทางสายอื่นเพื่อกระจายความเจริญไปสู่ทุกถิ่นในราชอาณาจักร วันที่ 25 มิ.ย. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปิดถานีรถไฟหัวลำโพงและย่านหน้าสถานีหัวลำโพงใหม่ซึ่งเสร็จพร้อมกัน ที่หน้าสถานีมีสวนและน้ำพุเพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระปิยมหาราช วันที่ 5 มิ.ย. 2460 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้รวมทางรถไฟสายเหนือและสายใต้ให้ขึ้นอยู่กับกรมรถไฟหลวงและให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟ ปีต่อมา เริ่มสร้างทางรถไฟสายตะวันออกต่อจากแปดริ้วเชื่อมกับรถไฟอินโดจีนที่อรัญประเทศพร้อมกับที่ต่อทางรถไฟสายโคราชไปสุดทางที่อุบลราชธานี ในปีเดียวกัน มีการปฎิรูปครั้งใหญ่ในกิจการรถไฟ เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเชื่อมทางรถไฟสายใต้กับายเหนือ และเริ่มเปลี่ยนรางในทางสายเหนือและโคราช ให้กว้าง 1 เมตรเท่ากับสายใต้เพื่อความสะดวกที่จะใช้รถไฟขนาดเดียวกันทั่วประเทศ ทางรถฟายใต้เป็นอันครบสมบูรณ์ด้วยการมีการเปิดรถต่อจากสถานีตันยงมาศไปสุดทางที่สุไหงโกลกเชื่อมกับทางรถไฟมลายู การรถไฟในยุคแห่งเกียรติภูมินั้นมีการเร่งรัดพัฒนาอย่างครบครัน พร้อมกันที่เปิดรถด่ววนในายเหนือระหว่างกรุงเทพกับเชียงใหม่ มีรถโดยารชั้น 1 นอนได้ มีรถเสบียงในขบวนเช่นเดียววกับายใต้ที่มีอยู่ก่อน การรถไฟได้เปิด โฮเตลหัวหิน และสนามกอล์ฟขึ้นด้วย สะพานเชื่อมทางรถไฟสายใต้กับเหนือที่ก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปิดใช้ในรัชกาลที่ 7 วันที่ 1 เมษายน 2469 และได้นามว่า "สะพานพระราม 6 "
|
คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่
ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่
8 กันยายน พ.ศ. 2545 Copyright(c) 2002 waleethip. All rights reserved. |