ยุคเกษตรกรรมเริ่มต้น
สิ่งแรกที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของมนุษย์ไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ต่างๆที่มนุษย์ในสมัยนั้นสร้างหรือกำหนดขึ้น
แต่โฮโมซาเปียนหรือมนุษย์ในยุคปัจจุบันดำเนินชีวิตเป็นนักร่อนเร่ตามฝูงสัตว์พร้อมอาวุธอยู่ในมือสังหารสัตว์ขนาดใหญ่เป็นอาหารอยู่เป็นระยะเวลายาวนานประมาณ4,000
ปี แต่สภาพของการดำเนินชีวิตไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนักจัดอยู่ในประเภทอนารยชนอยู่ตลอดช่วงแรกแต่ผลจากการตามหาฝูงสัตว์เรื่อยไปในช่วงเวลาอันยาวนานเช่นนั้นเองที่ทำให้มนุษย์เดินทางไปทั่วโลก
พอถึงช่วง
20,000 ปีก่อนค.ศ. ปรากฏว่าดินแดนในเอเชีย
ยุโรป ออสเตรเลีย แอฟริกา หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก(โอเซียเนีย)
อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ตลอดจนหมู่เกาะต่างๆในทะเลแคริบเปียน
มีมนุษย์เดินทางเข้าไปอาศัยอยู่โดยทั่วไป
อย่างไรก็ดีสภาพของสังคมเร่ร่อนพเนจรนั้น
สภาพของมนุษย์อยู่ในระดับอนารยชนคงรวมตัวกันเป็นเผ่าขนาดเล็กๆกระจายอยู่ทั่วๆไปและพร้อมที่จะเดินทางต่อไปอีก
เมื่อเกิดภาวะขาดแคลนอาหารขึ้นในดินแดนที่ตนเดินทางมาถึง
การเคลื่อนย้ายของชนเผ่ากลุ่มต่างๆและการทำสงครามแย่งชิงดินแดน
สำหรับการเคลื่อนย้ายเข้าไปอยู่เป็นเหตุการณืเกิดขึ้นตลอดเวลา
ยังไม่มีนครรัฐหรือประเทศชาติ เพราะการดำรงชีวิตเช่นนั้นไม่เอื้ออำนวยให้เกิดองค์กรทางการเมืองที่ซับซ้อนเหมือนอย่างที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน
จนกว่าจะถึงเวลาที่มนุษย์เริ่มต้นตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นที่เป็นทางเมื่อนั้นมนุษย์จึงได้สร้างบ้านเมืองด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดขึ้นเป็นประเทศชาติและผลจากการที่มนุษย์ตั้งถิ่นฐานรวมตัวกันอยู่ในเมืองเป็นประเทศชาติจึงเกิดระบอบการปกครองหลายรูปแบบ
เช่น การเกิดจารีตประเพณี การศึกษา กฎหมาย
และศาสนาที่ซับซ้อน เพื่อให้มนุษย์ในสังคมนั้นอยูร่วมกันได้อย่างปกติสุข
ชีวิตจึงเริ่มมีความเป็นอารยะภายหลังที่มนุษย์ได้ละทิ้งป่าแล้วมาใช้ชีวิตแบบสังคมคนในเมือง
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จในการตั้งถิ่นฐานก็คือมนุษย์ได้ค้นพบการทำเกษตรกรรม
รู้จักการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์
เพื่อเป็นฐานเศรษฐกิของตน ลงแรงสร้างเกษตรกรรมขึ้นด้วยมือของตนเอง
แทนที่จะร่อนเร่ออกไปหาสิ่งเหล่านั้นเหมือนอย่างแต่ก่อน
จึงพบว่าการทำเกษตรกรรมให้ผลผลิตสูงพอที่จะเลี้ยงประชากรทั่วประเทศ
ดังนั้นการคุ้มกันดินแดนที่ตนตั้งถิ่นฐานอยู่
การสร้างกฎหมาย การจัดระบบการปกครองการสร้างบ้านเมืองให้สวยงาม
และสิ่งอื่นๆจึงทยอยเกิดตามมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นผลมาจากการสร้างสังคมเกษตรกรรมขึ้นมาทั้งสิ้น
และเนื่องจากสังคมขั้นพื้นฐานทางเกษตรกรรมนี้เอง
มนุษย์ก็ได้พัฒนาให้เป็นสังคมอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน
ดังนั้น
สิ่งที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ให้กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์
คือการที่มนุษย์ค้นพบการทำเกษตรกรรม ซึ่งมีจุดเริ่มต้นประมาณ
10,000 ปีก่อนค.ศ. หลังจากนั้นมนุษย์จึงเริ่มต้นสร้างอารยธรรมแล้วได้เกิดความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษย์แล้ว
การเริ่มสร้างสังคมเกษตรกรรมจนกลายเป็นสังคมอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่
มนุษย์ใช้เวลาเพียงนิดเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้นสังคมเกษตรกรรมจึงถือเป็นพื้นฐานรองรับรากฐานความก้าวหน้าทั้งมวลของมนุษย์
ผลจากการวิจัยของนักวิชาการในปัจจุบันได้รวบรวมแสดงให้เห็นว่า
บริเวณที่ทำการเพาะปลูกเก่าแก่แห่งแรกที่สุดของโลก
เริ่มต้นเมื่อประมาณ 10,000 ปีก่อนค.ศ. ในบริเวณเอเชียอาคเนย์
พืชที่ใช้เพาะปลูกบริเวณนี้ตั้งแต่ยุคนั้น
เช่น ข้าวฟ่าง ข้าวเจ้า ยังคงเป็นอาหารที่สำคัญของผู้คนที่เอเชียอาคเนย์มาจนถึงทุกวันนี้
ดังนั้นเมื่อเอเชียอาคเนย์เริ่มต้นสังคมเกษตรกรรมก่อน
ประชากรในภูมิภาคนี้จึงก้าวหน้ากว่าบริเวณส่วนอื่นๆของโลกในสมัยประมาณ
10,000 ปีมาแล้ว
การเริ่มต้นสังคมเกษตรกรรมมีช่วงเวลาห่างกันมากในภูมิภาคต่างๆของโลก
ในขณะที่เอเชียอาคเนย์เริ่มต้น เมื่อ 10,000
ปีก่อนค.ศ.แต่ประชากรในอเมริกากลางเพิ่งเรียนรู้การปลูกมันฝรั่งหวาน
และข้าวโพดหลังจากชาวเอเชียอาคเนย์อีกประมาณ
8,000 ปี ต่อมาทำเกษตรกรรมในบริเวณตะวันออกไกลเริ่มต้นประมาณ
9,000-6,000 ปีก่อนค.ศ.
[เกษรตกรรมกับวงโค้ง]
|