เกษตรกรรมกับวงโค้ง

 

if 
Gallery 
สายพันธุ์มนุษย์ 
วัฒนธรรมมนุษย์ 
เผ่าพันธุ์มนุษย์ 
ยุคของมนุษย์ 
แบ่งยุคประวัติศาสตร์ 
ปรา-หวัด 
Links 
Contact me 

 

 bullet03_redsign.gif สังคมเกษตรกรรมกับวงโค้งแห่งความอุดมสมบูรณ์

           สังคมเกษตรกรรมที่ส่งผลความเจริญยิ่งใหญ่ให้แก่โลกเริ่มต้นที่บริเวณ"วงโค้งแห่งความอุดมสมบูรณ์"ซึ่งเป็นดินแดนที่เหมาะต่อการทำเกษตรกรรมมากที่สุดของโลก บนพื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยปุ๋ยธรรมชาติ บนภูเขาเต็มไปด้วยต้นไม้ สัตว์ป่านานาชนิด ความหนาทึบของป่าบริเวณดังกล่าวขณะเมื่อยุคน้ำแข็งยุคสุดท้ายถดถอยขึ้นไปทางเหนือ แล้วจึงเป็นป่าไม้แน่นทึบประกอบกับขณะนั้นมนุษย์รู้จักใช้หินเป็นหัวขวาน และไม้เป็นด้ามจับจึงสามารถโค่นป่าลงมาได้สะดวกทำให้ได้พื้นที่เกษตรกรรมได้ง่ายขึ้น ต้นตระกูลของพืชหลายชนิดในบริเวณนี้ เช่น ต้นข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวสาลี และหญ้าหลายชนิดได้มาจากบริเวณวงโค้งแห่งความอุดมสมบูรณ์ทั้งสิ้น และจากบริเวณทำเกษตรกรรมซึ่งเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาในบริเวณนี้ ต่อมาการทำเกษตรกรรมจึงได้ขยายตัวแพร่เข้าไปในยุโรปทางใต้ แล้วดลยเข้าไปในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ในอียิปต์

        ขั้นตอนการแพร่ของเกษตรกรรมในบริเวณ"วงโค้งแห่งความอุดมสมบูรณ์"นั้น นักวิชาการส่วนมากลงความเห็นว่ามีช่วงเวลาประมาณ 9,500 ปีก่อนค.ศ. ผู้คนได้ปลูกธัญพืชและข้าวอยู่ในบริเวณเอเชียไมเนอร์พอถึง7,000 ปีก่อนค.ศ.การืเกษตรกรรมจากบริเวณ"วงโค้งแห่งความอุดมสมบูรณ์"ได้แพร่ขยายตัวไปทางทิศตะวันตกจนถึงบริเวณแม่น้ำไรน์ และพอถึงปี 3,000 ปีก่อนค.ศ. การทำเกษตรกรรมก็แพร่ไปสู่ยุโรปตะวันตกและเกาะอังกฤษนอกจากบริเวณดังกล่าวนี้แล้ว การเริ่มต้นการทำสังคมเกษตรกรรมของบริเวณนั้นมิได้มีความเกี่ยวข้องกัน แต่ในบริเวณตะวันออกกลางและทางเหนือของทะเลเมิเตอร์เรเนียน การเริ่มต้นทำเกษตรกรรมได้บทเรียนมาจากบริเวณใกล้เคียงซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากดินแดน"วงโค้งแห่งความอุดมสมบูรณ์"ในตะวันออกกลาง

        การรู้จักการเลี้ยงสัตว์หรือการทำปศุสัตว์มีความสำคัญพอๆกันกับการเพาะปลูก ขั้นแรกของการเริ่มต้นการทำปศุสัตว์คือการนำเอาสัตว์ป่ามาเลี้ยงไว้เป็นฝูงและเอาเนื้อสัตว์ป็นอาหาร เอาหนังและขนเป็นเครื่องนุ่งห่มประมาณ 9,000 ปีก่อนค.ศ. ผู้คนทางเหนือของอิรักได้นำเอาแกะมาเลี้ยงเป็นครั้งแรกในบริเวณดินแดน"วงโค้งแห่งความอุดมสมบูรณ์"มีสัตว์ป่าอยู่มากมาย เมื่อผู้คนลงมือทำเกษตรกรรมจึงนำเอาสัตว์บริเวณดังกล่าวมาเลี้ยง แกะและแพะ มีอยู่ชุกชุมในบริเวณนั้น ในขณะที่มีหมูป่าอยู่ทั่วโลกเมื่อมนุษย์เริ่มเรียนรู้ว่าการนำสัตว์มาเลี้ยงกลายเป็นวิธีให้อาหารดีกว่าการออกไปล่าในป่า การทำปศุสัตว์จึงก้าวหน้าขึ้นและเป็นการปูทางให้มนุษย์นำเอาสัตว์มาใช้แรงงานแทนมนุษย์ เช่น นำเอาม้าและอูฐเป็นพาหนะขนส่งและเดินทางการทำาเกษตรกรมในบริเวณทวีปอเมริกาเกิดช้ากว่าบริเวณดินแดนติดต่อกับ "วงโค้งแห่งความอุดมสมบูรณ์" ทั้งนี้เพราะทวีปอเมริกาแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยวในขณะนั้นแม้แต่ในบริเวณ โลกเก่าก็เข่นกัน การขาดการติดต่อระหว่างท้องถิ่นทำให้บริเวณบางแห่งเริ่มต้นสังคมเกษตรกรรมช้ากว่าในบริเวณอีกแห่งหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ในขณะที่ความรู้เรื่องการเพาะปลูกแพร่ขยายตัวจากตะวันออกกลางออกทางแอฟริกาเหนือเข้าไปยังยุโรปตะวันตกจนถึงบริเวณลุ่มแม่นำดานูบแล้วแต่การแพร่ขยายการทำเกษตรกรรมจาก "วงโค้งแห่งความอุดมสมบูรณ์" ไปยังตะวันออกเข้าไปยังเอเชียกลับยากกว่าเพราะความแตกต่างกันของสภาพภูมิอากาศกีดขวางไม่ให้ขยายไปทางทิศตะวันออกสู่เอเชียทั่วไปๆ

        ผลที่เกิดขึ้นมาก็คือเมื่อจีนเริ่มต้นเป็นประเทศเกษตรกรรม พืชที่ใช้ในการเพาะปลูกเป็นพืชที่เอามาจาก "วงโค้งแห่งความอุดมสมบูรณ์" การปลูกข้าวของจีนเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเพราะการปลูกข้าวนั้นความจริงไม่ต้องใช้แรงงานสัตว์ช่วยก็ทำได้ นี้คือเหตุผลสำคัญที่ว่าเหตุใดสัตว์ที่ชาวจีนเลี้ยงเอาไว้สำหรับเป็นอาหารจึงมีเพียงหมูอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนการเลี้ยงวัวของจีนเกิดขึ้นในตอนหลังคือเมื่อต้องการนำมาใช้แรงงาน  นักโบราณคดียังไม่แน่ใจเรื่องจุดกำเนิดเกษตรกรรมของจีน เช่น ยังไม่สามารถกล่าวได้ว่าชาวจีนเรียนรู้วิธีการเพาะปลูกข้าวจากดินแดนในเอเชีย(จากเอเชียอาคเนย์)หรือว่าเรียนรู้ด้วยตนเอง

  

คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่

ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2545
www.thaigoodview.com
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail :
thaigoodview@hotmail.com
ICQ : 82032264

Copyright(c) 2001 MissSarinthip wasoontaratorn All rights reserved.