
โรคและแมลง
โรค 1.
โรคโคนเน่า (Damping off) เกิดจากเชื้อรา
Rhizoctonia spp. พบในระยะต้นกล้าเท่านั้น
ซึ่งเชื้อนี้อาจติดมากับเมล็ดหรือตกค้างอยู่กับดินเพาะเมล็ด
ทำให้โคนต้นกล้าเน่าและตายจะลุกลามอย่างรวดเร็ว ป้องกันกำจัดโดยใช้ยาพวกเทอราคลอร์
เทอราโซล และอบดินฆ่าเชื้อก่อนการเพาะเมล็ด
2.โรคเหี่ยวเฉา (Fusarium Wilt) เกิดจากเชื้อรา
(Fusarium conglatinan callistephus) พบมากและร้ายแรงที่สุดในแปลงที่เคยปลูกเบญจมาศมาก่อน
ต้นที่เป็นโรคจะมีอาการเหี่ยวอย่างรวด เร็ว
ปรากฏมากในระยะที่แอสเตอร์โตเต็มที่หรือก่อนออกดอก
เชื้อจะเข้าทำลายส่วนล่างของลำต้น
โดยจะปรากฏเป็นสีส้มตรงโคนต้นใกล้พื้นดิน
หากตัดลำต้นที่ปรากฏเป็นโรคนี้ตามขวาง
จะพบว่ามี วงแหวนสีน้ำตาลแดงอยู่ในบริเวณท่อส่งน้ำและอาหาร
การป้องกันทำได้โดยใช้สารกันเชื้อรา
เช่น เทอราคลอร์ราดในดินก่อนปลูก
3.โรครากปม (Root Knot) แอสเตอร์ที่ปรากฏอาการของโรครากปมนี้มักไม่ตาย
เพียงแต่ต้นไม่ เจริญเติบโตตามปกติ
มีลักษณะแคระแกรน ในตอนกลางวันที่อากาศร้อนจัด
จะแสดงอาการเหี่ยวและจะฟื้นตัวในตอนกลางคืน ถ้าถอนต้นดูจะพบว่าตรงบริเวณรากจะมีอาการบวมและเป็นปมเล็กๆ
เนื่อง จากมีไส้เดือนฝอยชนิดหนึ่งเข้าไปอาศัยอยู่
หากปล่อยไว้รากจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือดำ
ผุและเปื่อย เร็วกว่าปกติ ไส้เดือนฝอยสามารถแพร่ระบาดได้โดยทางน้ำติดไปกับดิน
หรือต้นที่เป็นโรคและเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร
การป้องกันโดยใช้เทมมิค 10 จี, ฟูราดาน, หรือคูราแทร์ฝังดิน
4.โรคดอกสีเขียว พบว่าดอกจะมีสีเขียว ขอบกลีบดอกมีสีแดงปะปน
ต้นแคระแกรนกว่าปกติเล็กน้อย รูปร่างของดอกไม่เปลี่ยนแปลง
โรคนี้เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา (mycoplasma)
จากวัชพืชโดย เพลี้ยจั๊กจั่น 5.โรคราสนิม
(Rust) เกิดจากเชื้อรา พบว่าระบาดมากในช่วงฤดูฝนหรือวันที่มีน้ำค้างมาก
และเกิดกับต้นขณะที่กำลังออกดอก ที่ใต้ใบพบว่ามีสีส้มคล้ายสนิมเหล็ก
การป้องกัน เวลารดน้ำควรระวังอย่าให้น้ำถูกต้นและใบ
เพราะจะทำให้เชื้อรานี้ระบาดได้ง่าย ใช้สารประกอบของกำมะถันหรือเฟอเมทฉีด
พ่นเป็นครั้งคราว
แมลง
1.เพลี้ยอ่อน (Aphids) เป็นแมลงปากดูด ชอบเกาะเพื่อดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณส่วนอ่อนของต้น
ทำให้ เป็นสาเหตุของดอกและใบบิดเบี้ยว การป้องกันกำจัดฉีดพ่นสารฆ่าแมลง
เพื่อกำจัดมดซึ่งเป็นพาหะของเพลี้ยอ่อน
2.เพลี้ยไฟ (Trips) เป็นแมลงซึ่งทำอันตรายแก่ใบอ่อนของแอสเตอร์
ทำให้ใบมีอาการหงิกงอ เพลี้ยไฟนอกจากจะทำลายแอสเตอร์โดยตรงแล้ว
ยังเป็นพาหะแพร่เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคเหี่ยว(Spotted
Wilt) แก่ต้นแอสเตอร์อีกด้วย การป้องกันกำจัด
ใช้สารเคมี โตกุไธออน ฉีดพ่นทุก 1-2
สัปดาห์หรือเมื่อปรากฏมีเพลี้ยไฟนี้ นอกจากนั้นยังอาจใช้เซฟวิน
เคลเทน และมาลาไธออนกำจัด 3.ไรแแดง (Spider Mite)
ชอบทำลายยอดอ่อนทำให้ดอกไม่สมบูรณ์ มีลักษณะแคระแกรน
บางครั้งพบว่าทำลายใบโดยการดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ทำให้ใบร่วง
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี เช่น เคลเทนฉีดพ่นเมื่อปรากฏพบ
4.หนอนเจาะดอก จะเข้าทำลายโดยกัดกินดอกอ่อนและเมล็ดอ่อน
ทำให้ดอกเสียหายเมล็ดไม่สมบูรณ์และเปอร์เซ็นต์การติดเมล็ดน้อยลง การป้องกันจำกัด
ใช้สารเคมี เช่น อโซดริน มาลาไธออน
แลนเนท เซฟวิน 85 ฉีดพ่นทุก 1-2 สัปดาห์
|